ผลวิจัยชี้ “เมฆน้อย” ทำโลกร้อนขึ้น

นักวิทยาศาสตร์ทราบดีว่า อุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นมีสาเหตุมาจากปลายปัจจัย ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลและปรากฏการณ์เอลนีโญ แต่ล่าสุดมีงานวิจัยที่เพิ่งถูกตีพิมพ์ในวารสาร Science ระบุว่านักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่าอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้ในช่วงหลายปีหลังโลกของเราร้อนขึ้นจนหยุดไม่อยู่นั้น มีสาเหตุมาจาก “เมฆ” ที่ลดลง ทำให้ค่าอัลบีโดของโลกลดลงตามไปด้วย

สรุปข่าว

ปีที่แล้วถูกยกให้เป็นปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ เห็นได้ชัดจากทั้งอุณหภูมิมหาสมุทรที่พุ่งสูง รวมถึงธารน้ำแข็งในหลายพื้นที่ละลายอย่างรวดเร็ว จนทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องเร่งหาสาเหตุที่แท้จริงของปรากฏการณ์นี้

ซึ่ง “อัลบีโด” นั้นคือค่าแสดงถึงความสามารถของพื้นผิวในการสะท้อนพลังงานแสงอาทิตย์กลับสู่ชั้นบรรยากาศ โดยมีค่าตั้งแต่ 0% ถึง 100% ซึ่ง ค่าที่ใกล้ 100%นั้น หมายถึงพื้นผิวที่สะท้อนแสงได้ดี เช่นหิมะ น้ำแข็ง หรือเมฆสีขาว ส่วนค่าที่ใกล้ 0% หมายถึงพื้วผิวที่ดูดซับแสงได้มาก เช่นน้ำในมหาสมุทรหรือพื้นดินที่มืด ซึ่งดูเหมือนสิ่งที่ช่วยดูดซับแสงอาทิตย์ได้มากที่สุดคือ “เมฆ” โดยเฉพาะเมฆสีขาวที่ลอยต่ำเหนือมหาสมุทร ซึ่งเมื่อเมฆสีขาวลดลง ก็ทำให้โลกมืดลง และดูดซับแสงอาทิตย์ได้มากขึ้น ส่งผลให้อุณหภูมิของโลกร้อนขึ้น ซึ่งค่าอัลบีโดของโลกได้ลดลงตั้งแต่ช่วงปี 1970 เนื่องจากการละลายของหิมะและน้ำแข็งในทะเลที่ ทำให้พื้นดินและน้ำที่มืดกว่าดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้น ทำให้โลกร้อนขึ้น และเมฆสีขาวที่ลอยต่ำนั้นมักจะเกิดในชั้นบรรยากาศที่เย็นและชื้น เมื่อผิวโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น ก็เลยทำให้เมฆบางลงหรือสลายตัวไป ก่อให้เกิดวงจรที่ซับซ้อน เพราะเมฆลอยต่ำหายไปเพราะโลกร้อน และการหายไปของมันยิ่งทำให้โลกร้อนขึ้นอีกนั่นเอง

นักวิทยาศาสตร์ก็ชี้ออกมาแล้วว่า ค่าอัลบีโดถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความรุนแรงของเรื่องโลกร้อนในอนาคตได้ และการฟื้นฟูพื้นที่ที่มีค่าอัลบีโดสูง เช่น การปลูกป่า หรือป้องกันไม่ให้น้ำแข็งละลายนั้น อาจช่วยชะลอปรากฏการณ์นี้ได้

ที่มาข้อมูล : สภาพอากาศ

ที่มารูปภาพ : TNN EARTH

แท็กบทความ