ปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสี ไขข้อข้องใจ "อาหารทะเลญี่ปุ่น" ปลอดภัยเพียงใด?

ปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสี ไขข้อข้องใจ "อาหารทะเลญี่ปุ่น" ปลอดภัยเพียงใด?

สรุปข่าว

ญี่ปุ่นปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสี ไขข้อข้องใจ "อาหารทะเลญี่ปุ่น" ปลอดภัยเพียงใด? โรคอะไรบ้างที่เกิดจากการกินอาหารทะเล-เกลือที่ปนเปื้อน?


นับตั้งแต่ญี่ปุ่นปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีที่ได้รับการบำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ เมื่อวันพฤหัสบดีที่แล้ว หลายประเทศแสดงความกังวลอย่างมาก ถึงกับแห่กักตันเกลือ  


นำมาสู่คำถามว่า เกลือ .. ช่วยได้จริงหรือไม่?  


ผู้เชี่ยวชาญด้านด้านสุขภาพและด้านสิ่งแวดล้อม ให้คำตอบเอาไว้แบบนี้..

ศาสตราจารย์ วิลเลียม เฉิน ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัยทางอาหารในสิงคโปร์ แห่งมหาวิทยาลัย Nanyang Technologicalบอกว่า เกลือแกง-เกลือทะเล ไม่ได้ช่วยล้างพิษรังสีได้ .. แต่เกลือเดียวที่จะสามารถบล็อกรังสีได้คือ potassium iodine 

แต่ potassium iodine ขัดขวางการดูดซึมกัมมันตภาพรังสีไอโอดีน ซึ่งสิ่งนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัดของญี่ปุ่น  เนื่องจากสารที่มีอยู่ในน้ำคือ Tritium ไม่ใช่ไอโอดีน


ทำไมคนในจีน-เกาหลีใต้ แห่กักตุนเกลือ?


ศาสตราจารย์ วิลเลียม เฉิน บอกว่า คนเราจะคิดว่าเกลือจะช่วยป้องกันการรับรังสีได้. .แต่ก็เตือนว่า การบริโภคเกลือมากเกินไป ก็อาจนำมาซึ่งความเสี่ยงของแรงดันสูงได้


อาหารทะเล-เกลือญี่ปุ่น กินได้? 


ผู้เชี่ยวชาญ บอกว่า การบริโภคอาหารทะเล และเกลือจากญี่ปุ่น ในระดับที่ปกติ ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสี่ยง แต่.. ผลกระทบในระยะยาวก็ยังคงต้องจับตา 

ศาสตราจารย์ วิลเลียม เฉิน บอกว่า การปล่อยน้ำที่ได้รับการบำบัดของญี่ปุ่น มีกัมมันตภาพรังสีในระดับที่ต่ำมากอยู่แล้ว เนื่องจากได้รับการบำบัดแล้ว อีกทั้งยังมีการเจือจางจากน้ำทะเลอีกมหาศาล

ดร. โช บอก ไอ ที่ปรึกษาอาวุโสศูนย์รังสี ของสถาบันมะเร็งในสิงคโปร์ ระบุว่า ทางที่ดีที่สุดในการตรวจสอบความเสี่ยงคือ การสุ่มตรวจกัมมมันตภาพรังสีจากอาหารทะเลที่มาจากญี่ปุ่น – แต่จากการที่สิงคโปร์ตรวจสอบเบื้องต้นยังพบว่าปลอดภัย 


ปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสี ไขข้อข้องใจ อาหารทะเลญี่ปุ่น ปลอดภัยเพียงใด?

ภาพจาก reuters

ระดับความเสี่ยงของการบริโภคอาหารทะเลจากญี่ปุ่น ขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 อย่าง 


1.ปริมาณอาหารทะเล และเกลือที่คน 1 คนบริโภคเข้าไป

2.ระยะห่างระหว่างจุดที่ปล่อยน้ำ และจุดที่จับอาหารทะเล – ซึ่งยิ่งจับใกล้ชายฝั่ง ก็อาจยิ่งมีความเสี่ยงปนเปื้อนรังสี มากกว่าที่จับได้จากน่านน้ำสิงคโปร์ หรือทะเลจีนใต้

3.ชนิดของรังสีที่ปนเปื้อน เพราะรังสีแต่ละตัวมีค่าครึ่งชีวิตที่แตกต่างกัน .. กรณีนี้มีสาร Tritium ซึ่งมีค่าครึ่งชีวิตที่ 12 ปี


โรคอะไรบ้าง ที่เกิดจากการกินอาหารทะเล-เกลือที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี?


ดรูชู บอกว่า การแผ่ของรังสีโดยทั่วไป นำมาซึ่งความเสี่ยงต่อมะเร็ง และการทำงานของอวัยวะที่ถดถอยลง .. แต่รังสีจากอาหารทะเล หรือเกลือ จากญี่ปุ่นนั้น ไม่มีนัยสำคัญใด ๆ เลย .. นอกเสียจากการรับรังสีในระดับสูง จะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง หรือกระทบต่ออวัยวะบางอย่าง เช่น ต่อไทรอยด์ ได้

อย่างไรก็ตาม กรณีนี้ อาจใช้เวลานานถึง 10 ปี กว่าที่รังสีที่แผ่ออกมาจะส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งได้


ปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสี ไขข้อข้องใจ อาหารทะเลญี่ปุ่น ปลอดภัยเพียงใด?

ภาพจาก reuters


อาหารทะเลมีความเข้มข้นของสารกัมมันตรังสี?


ความเข้มข้นของกัมมันตภาพรังสีในอาหารทะเล ขึ้นอยู่กับประเภทของธาตกัมมันตรังสี – ซึ่งธาตุบางตัวสามารถสะสมในอาหารทะเลได้ แต่ความเข้มข้นของธาตุเหล่านั้นที่อยู่ในน้ำที่ได้รับการบำบัดแล้วนั้น มีระดับต่ำมาก ๆ และกัมมันตภาพรังสีจะเจือจางไปมากในน้ำทะเล

ทำเนียบประธานาธิบดีเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ประธานาธิบดียูน  ซอก ยอล ของเกาหลีใต้  ได้รับประทานอาหารทะเลเป็นอาหารเที่ยงในวันจันทร์ 28 สิงหาคม  – และรับประทานปลาดิบอีกด้วย เพื่อบรรเทาความกังวลจากสาธารณชน เรื่องความปลอดภัยของอาหารทะเลท้องถิ่น 

หลังจากที่ญี่ปุ่นปล่อยน้ำบำบัดไปเมื่อพฤหัสบดีที่ผ่านมา – จนนำมาสู่การประท้วงทั้งในญี่ปุ่น และเพื่อนบ้านอย่างจีนและเกาหลีใต้ – ซึ่งจีนประกาศแบนผลิตภัณฑ์อหารทะเลจากญี่ปุ่นทั้งหมด

นอกจากนี้ ทำเนียบประธานาธิบดีจะนำเสนออาหารทะเลของเกาหลี เป็นเมนูอาหารเที่ยงในโรงอาหารทุกวันตลอด 1 สัปดาห์ เพื่อหวังบรรเทาความกังวลของประชาชน

รัฐบาลเกาหลีใต้ย้ำว่า ไม่พบปัญหาทางวิทยาศาสตร์และทางเทคนิค ว่าน้ำที่ปล่อยออกมามีการปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐาน

อย่างไรก็ตาม กระทรวงสิ่งแวดล้อมญี่ปุ่น เปิดเผยเมื่อวันอาทิตย์ว่า การสุ่มทดสอบน้ำทะเลใกล้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไม่พบกัมมันภาพรังสีใดๆ 





ภาพจาก reuters



ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :

แท็กบทความ

ญี่ปุ่น
อาหารทะเลญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นทิ้งน้ำนิวเคลียร์
นิวเคลียร์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ทะเลญี่ปุ่น
นำเข้าอาหารทะเล
อาหารทะเลนำเข้า
อาหารทะเล
สารกัมมันตรังสี