
นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า ต้องขอบคุณรัฐบาล กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ออกมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ทั้งลดค่าธรรมเนียมการโอนและจำนองเหลือร้อยละ 0.01
สำหรับที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท และผ่อนคลายเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (LTV)
โดยให้มีกำหนดระยะเวลาพร้อมกันคือวันที่ 1 พฤษภาคม 2568 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2569 ถือว่าช่วยประคับประคองตลาดอสังหาฯ ไปได้บ้าง แต่ด้วยปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยน มี 2 เหตุการณ์ใหญ่เข้ามาเพิ่ม คือ เหตุการณ์แผ่นดินไหวและการปรับขึ้นภาษีนำเข้าของ "ทรัมป์" ที่มากระทบต่อภาวะเศรษฐกิจไทย

สรุปข่าว
รวมถึงกำลังซื้อของภาคอสังหาฯอย่างมีนัยสำคัญ จึงมองว่าจะต้องมียาแรงมากกว่านี้ เช่น หักลดหย่อนภาษีซื้อบ้านและดอกเบี้ยบ้านใหม่เพิ่มเติม การปล่อยสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการผ่านสถาบันทางการเงิน ธนาคารพาณิชย์ และดอกเบี้ยที่เหมาะสม
ด้าน นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่า ปัจจุบันจากสถานการณ์แผ่นดินไหวที่คนยังไม่หายแพนิก กำลังซื้อไม่มี และยังมีความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกจากภาษีทรัมป์ที่ปรับขึ้นที่คาดเดาได้ยากต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อไทย
ได้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นและชะลอการซื้ออสังหาฯออกไป เนื่องจากมาตรการลดค่าโอนและจำนองร้อยละ 0.01 สำหรับบ้านราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2569 และมาตรการผ่อนเกณฑ์ LTV ของธนาคารแห่งปรเทศไทย (ธปท.) มีผลวันที่ 1 พฤษภาคม 2568 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2569 แม้จะมีผลพร้อมกัน แต่คนยังมีเวลาในการตัดสินใจว่าจะซื้อหรือจะโอนหรือไม่
ดังนั้น จึงมองว่ามาตรการมาไม่ถูกจังหวะในช่วงที่คนกำลังกังวลต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่มีปัจจัยลบมากกว่าปัจจัยบวก แต่ถ้าหาก 2 มาตรการนี้ออกมาก่อนมีเหตุการณ์แผ่นดินไหว คงจะช่วยในแง่ของจิตวิทยาได้บ้าง แต่สุดท้ายอยู่ที่การพิจารณาของธนาคารว่าจะปล่อยกู้หรือไม่

นันท์ชยา ชื่นวรสกุล