
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ส.อ.ท.ได้หารือแนวทางรับมือหลัง "โดนัลด์ ทรัมป์" ประธานาธิบดีสหรัฐ ประกาศภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) ที่ไทยโดนเก็บภาษีสูงถึงร้อยละ 36
โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐ เพื่อระดมสมองหามาตรการรับมือ ซึ่งคาดมูลค่าเสียหายจากการขึ้นภาษีดังกล่าว ราว 800,000-900,000 ล้านบาท
สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนัก มีดังนี้
1.อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนถูกเก็บภาษีอัตราร้อยละ 25 ตั้งแต่เดือน มี.ค.2568 อาจส่งผลต่อการตัดสินใจของบริษัทแม่ในการย้ายฐานการผลิต
2.อุตสาหกรรมอาหาร ได้รับผลกระทบโดยตรง โดยเฉพาะอาหารแปรรูปและสินค้าประมง เช่น ปลาทูน่าและกุ้งแปรรูป
3.อุตสาหกรรมพลาสติก หากอัตราภาษีเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 36 อาจทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและสูญเสียส่วนแบ่งตลาด
4.อุตสาหกรรมเคมี มีมูลค่าส่งออกไปสหรัฐ 2 พันล้านดอลลาร์ อาจลดลงหากมาตรการภาษีของสหรัฐยังคงดำเนินต่อไป
5.อุตสาหกรรมเครื่องจักรและอุปกรณ์อุตสาหกรรม

สรุปข่าว
6.อุตสาหกรรมสิ่งทอ อาจต้องชะลอการผลิตและการส่งออก
7.อุตสาหกรรมเหล็กและกลุ่มอุตสาหกรรมอลูมิเนียม ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากถูกเก็บภาษีร้อยละ 25 ตั้งแต่แรกแล้ว ส่งผลให้ต้นทุนการส่งออกไปสหรัฐสูงขึ้น ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต้องเผชิญคำสั่งซื้อลดลง และกระทบความสามารถการแข่งขัน
สำหรับมาตรการรับมือและหารือกับสหรัฐ อาทิ 1. เจรจาสร้างความสมดุลการค้าสหรัฐทั้งการนำเข้าและส่งออก โดยเสนอแนวคิดที่สร้างสรรค์ เช่น การนำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐเพื่อมาแปรรูปและส่งออกมากขึ้
2. แก้กฎหมายและภาษีนำเข้าไทย เพื่อสนับสนุนการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐ โดยประเทศไทยมีความพร้อมที่จะนำเข้าจากสหรัฐ ประมาณ 4-5 รายการ เช่น ข้าวโพด และปลาทูน่า เป็นต้น
3. ออกมาตรการออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า เพื่อเป็นหลักฐานว่ามีการผลิตจากในประเทศไทยจริง เช่น ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และแผงโซล่าเซลล์
4. ทบทวนภาษีและมาตรการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษี เช่น กรณีรถมอเตอร์ไซค์ที่ไทยมีการตั้งภาษีไว้สูง

นันท์ชยา ชื่นวรสกุล