บลจ.ยูโอบีคาดดัชนีตลาดหุ้นไทยปี 68 ที่ 1,295 จุด ให้น้ำหนักหุ้นกลุ่มแบงก์-โรงพยาบาล

นายวนา พูลผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด หรือ บลจ.ยูโอบี (UOBAM) เปิดเผยว่า ในปี 2568 บริษัทตั้งเป้ามูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM) เติบโตที่ร้อยละ 10-15 มากกว่าอุตสาหกรรมกองทุนโดยรวมที่คาดจะโตทีร้อยละ 10  โดยเน้นขยายตัวจากนักลงทุนสถาบัน หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่มีแนวโน้มเติบโต รวมทั้งธุรกิจกองทุนรวม (Mutual Fund) จะมีการออกกองทุนใหม่ ๆ ให้หลากหลายมากขึ้น เน้นที่กองทุนตราสารหนี้ และตลาดเงิน เป็นต้น และเพิ่มทางเลือกในการลงทุนมากขึ้นให้แก่ผู้ลงทุนมากขึ้น ทั้งการลงทุนในประเทศและต่างประเทศในหลายสินทรัพย์ เพื่อช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุน 


ทั้งนี้ ในปี 2567 ที่ผ่านมา AUM ของบริษัท (ณ ธ.ค.67) อยู่ที่ 273,000 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 10 จากปี 2566 สอดคล้องกับการเติบโตของอุตสาหกรรมกองทุนรวมในไทย ซึ่งบริษัทอยู่อันดับที่ 10 จาก 23 บริษัทในธุรกิจจัดการกองทุน


สำหรับกลยุทธ์ในปี 2568 บริษัทมุ่งมั่นที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์การลงทุนแบบแบบองค์รวม (One-stop advisory services) เพื่อตอบโจทย์การลงทุนของลูกค้าให้เหมาะสมตามวัตถุประสงค์การลงทุน (Customer is Centric) ด้วยจุดแข็งจากความร่วมมือกันภายใต้ UOB Group ในไทยรวมไปถึงเครือข่ายในภูมิภาคเอเชีย และพันธมิตรการลงทุนระดับสากล การนำเอาปัจจัย ESG เข้ามาใช้จริงในทุกขั้นตอนการลงทุน 


โดยในกลุ่มลูกค้าสถาบัน จะเน้นการนำเสนอผลิตภัณฑ์การเงินแบบองค์รวม มุ่งหวังตอบโจทย์ครอบคลุม ที่ไม่ได้จำกัดเพียงแต่การจัดการลงทุนเท่านั้น (Beyond Investment) และสำหรับกลุ่มลูกค้ารายย่อย เน้นการนำเสนอการลงทุนที่เหมาะสมกับแต่ละภาวะตลาด ซึ่งแผนงานในปี 2568 จะจัดให้มีกองทุนตราสารหนี้ ประเภทกำหนดอายุโครงการ (เทอมฟันด์) นำเสนออย่างต่อเนื่องในทุกเดือน และพัฒนาผลิตภัณฑ์การลงทุนใหม่ ๆ ทั้งกองทุนในรูปแบบสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ, ตราสารหนี้นอกตลาด (Private Credit), กองทุนที่ตอบโจทย์แผนการเกษียณ (Retirement Solution) เป็นต้น 

บลจ.ยูโอบีคาดดัชนีตลาดหุ้นไทยปี 68 ที่ 1,295 จุด ให้น้ำหนักหุ้นกลุ่มแบงก์-โรงพยาบาล

สรุปข่าว

ด้าน นางสาววรรณจันทร์ อึ้งถาวร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายการลงทุน บลจ.ยูโอบี กล่าวว่า จากสถานการณ์ปัจจุบันคาดว่าดัชนี ตลาดหุ้นในสิ้นปีนี้นาจะอยู่ระดับ 1,295 จุด กำไรต่อหุ้น (EPS) 95 บาท/หุ้น โดยอาจมีโอกาสปรับขึ้น( upside) ที่ 1,386 จุด แต่โอกาสปรับลด ( downside) ที่อานหลุดระดับ 1,000 จุด ไปที่ 969 จุด จากความไมแน่นอนทางเศรษฐกิจที่อาจถูกกระทบจากการปรับขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ระดับหนี้ครัวเรือนที่สูง 


อย่างไรก็ดี คาดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยในระดับปัจจุบันมี downside น่าจะจำกัด หลังเงินลงทุนจากต่างประเทศ( Fund Flow) ชะลอการไหลออก ขณะที่แรงขายกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ก็น่าจะชะลอลง หลังภาครัฐมีมาตรการมาช่วยจูงใจการลงทุนโดยได้รับสิทธิลดหย่อนทางภาษี ผ่านกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืนพิเศษ (Thai ESGX) แต่คาดว่า Thai ESGX  น่าจะช่วยใหเม็ดเงิน LTF อยู่ลงทุนต่อประมาณร้อยละ 40-50 ของวงเงินลงทุนทั้งหมด ดังนั้น 2 ปัจจัยนี้น่าจะค้ำ downside ตลาดหุ้นไทยได้ รวมถึงช่วงนี้เป็นช่วงจ่ายเงินปันผล จึงยังจูงใจให้เข้ามาลงทุนอยู่ และหุ้นไทยก็มี Valuation ต่ำ ทำให้ผลตอบแทนดีขึ้นด้วย ทั้งนี้ บลจ.ยูโอบี เตรียมออกองุทนใหม่ Thai ESGX 2 กอง เป็นกองทุนที่ลงทุนตลาดหุ้นไทย อีกกองลงทุนตลาดหุ้นและตราสารหนี้ร้อยละ 70/30


ส่วนแนวโน้มดอกเบี้ยคาดวาคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อาจจะลดดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในปีนี้ เพื่อดูแลการเติบโตทางเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้ โดยคาดว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ที่ระดับร้อยละ 2.6-2.8 แตยังต้องติดตามปัจจัยที่จะเข้ามากระทบจากการปับขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ที่อาจกระทบตอภาคสงออก รวมถึงการท่องเที่ยวที่อาจไมได้ตามเป้าหากนักท่องเที่ยวจีนเดินทางเข้ามาไมได้ตามที่คาดไว้ แต่เชื่อว่าดอกเบี้ยไทยไม่มีการปรับขึ้นแน่นอนจึงเป็นโอกาสลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาวเพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่ดี ส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นไทยแนะนำ กลุ่มแบงก์ โรงพยาบาลที่ยังมีแนวโน้มเติบโตได้ รวมทั้งกลุ่มที่จะได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ รวมถึงการผ่อนคลายการให้กู้ในภาคอสังหาริมทรัพย์ เน้นกลุ่มคอนโดฯ ที่รับประโยชน์ที่ผ่อนคลาย LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทยชั่วคราว 


ส่วนการกระจายลงทุนไปในต่างประเทศ แม้เศรษฐกิจจะผันผวนยังแนะนำให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนไปยังหุ้น เน้นไปที่ตลาดจีน  ในกลุ่มเทคโนโลยีที่เป็นจุดเปลี่ยนของเศรษฐกิจจีน และยุโรปที่เห็นเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวและมีแนวโน้มจะลดดอกเบี้ยทำให้ช่วยหนุนตลาดหุ้นยุโรป  ขณะเดียวกันก็แนะนำให้ลดน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นและสหรัฐ รวมถึงอินเดีย หลังตลาดปรับขึ้นไปมากแล้ว สวนในตลาดตรสารหนี้ให้ลดน้ำหนักการลงทุนมาสู่ระดับน้อยถึงปานกลาง และควรกระจายการลงทุนไปยังหลากหลายสินทรัพย์ควบคู่กันไปด้วย