สถานการณ์ความยากจนในประเทศไทย จังหวัดไหนมีคนจนมากที่สุด?

สถานการณ์ความยากจนในประเทศไทย  จังหวัดไหนมีคนจนมากที่สุด?

สรุปข่าว

วันนี้ ( 12 พ.ย. 67  ) สถานการณ์ความยากจนในประเทศไทยมีแนวโน้มดีขึ้นในบางด้าน โดยเฉพาะในปี 2565 ที่มีการลดจำนวนคนจนลงจาก 3.79 ล้านคน เหลือเพียง 2.39 ล้านคน ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของเศรษฐกิจภาคเกษตรกรรม และโครงการลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ช่วยเพิ่มการสนับสนุนแก่กลุ่มประชากรที่มีรายได้น้อย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาพรวมจะมีการปรับตัวดีขึ้น แต่ยังคงมีความท้าทายที่ต้องพิจารณาอย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะในบางจังหวัดที่ยังคงประสบปัญหาความยากจนเรื้อรังอย่างต่อเนื่อง


จังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุด

จากรายงานล่าสุด พบว่าในปี 2565 จังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ ปัตตานี, นราธิวาส, แม่ฮ่องสอน, พัทลุง, สตูล, หนองบัวลำภู, ตาก, ประจวบคีรีขันธ์, ยะลา, และ ตรัง โดยในจำนวนนี้มีหลายจังหวัดที่คงอยู่ในอันดับสูงต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา เช่น ปัตตานี, นราธิวาส, แม่ฮ่องสอน, และยะลา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาความยากจนที่ยังคงเป็นปัญหาหลักในพื้นที่เหล่านี้


ปัญหาความยากจนเรื้อรังในบางจังหวัด

ปัตตานีและแม่ฮ่องสอนติดอยู่ใน 5 อันดับแรกของ จังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุดต่อเนื่องกันอย่างน้อย 15 ปี  สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาความยากจนเรื้อรังในจังหวัดดังกล่าว นอกจากนี้ หากพิจารณาจาก 10 จังหวัดแรกที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุดในปี 2566 จะพบว่า 5 ใน 10 จังหวัด ได้แก่ ปัตตานี นราธิวาส แม่ฮ่องสอน ตาก และยะลา มักติดอยู่ใน 10 อันดับแรก ของจังหวัดที่มีสัดส่วน คนจนสูงสุดในปีอื่น ๆ ด้วย กล่าวคือ มีแนวโน้มเผชิญกับปัญหาความยากจนเรื้อรัง


ภาพจาก: Getty Images 

ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :

แท็กบทความ

ปัญหาความยากจน
สถานการณ์ความยากจน
ความยากจน
จังหวัดยากจน
สัดส่วนคนจน