สรุปข่าว
นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) โพสต์เฟซบุ๊กถึง สถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทยในปัจจุบัน โดยจากข้อมูล สิ้นก.ค. หรือ7เดือนที่ผ่านมา พบว่า ตัวเลขหนี้ครัวเรือนในฐานข้อมูลสถิติเครดิตบูโรเท่ากับ 13.6ล้านล้านบาท แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดือนมิถุนายน 2567
แต่หากดูด้านหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือเอ็นพีแอล พบว่าขยับขึ้นต่อเนื่อง เพิ่มจาก 1.16ล้านล้านบาทมาเป็น 1.19ล้านล้านบาท คิดเป็น 8.7%ของหนี้รวม ซึ่งอันนี้เคยประมาณการณ์ว่าคงจะไปถึง 1.2ล้านล้านบาทไม่ช้าไม่นาน กล่าวคือไหลต่อแต่คงไม่ไหลบ่าแบบน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำโคลนถึงหลังคา
ในด้าน SM ที่น่าสนใจกล่าวคือ มิถุนายน 2567 ปรับลดลงมาจากไตรมาสก่อนอย่างมากจนเหลือ 5แสนล้านบาทแต่ผ่านไป 1เดือนเข้าเดือนกรกฎาคมมันกลับกระโดดมาเป็น 6.7แสนล้านบาท เพิ่ม 1.7แสนล้านบาท ในนี้มาจาก สินเชื่อบ้านเพิ่มจาก 1.43แสนล้านบาทเป็น 1.69แสนล้านบาทโตขึ้น 18% สินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มจาก 8.5หมื่นล้านบาทเป็น 1.13แสนล้านบาทโตขึ้น 33% สินเชื่อธุรกิจที่คนตัวเล็กตัวน้อยกู้จาก 2.6หมื่นล้านบาทมาเป็น 4.4หมื่นล้านบาทโตขึ้น 69% สินเชื่อรถยนต์, บัตรเครดิตนิ่งๆกับลดลง
สงครามการสู้รบระหว่างหนี้ปกติไหลมาเป็นหนี้กำลังจะเสีย, หนี้กล่าวถึงเป็นพิเศษหรือหนี้ SM โดยมีอาวุธคือการปรับโครงสร้างหนี้เชิงป้องกัน Preemptive Debt Restructure หรือที่เรียกว่า DR. ภายใต้มาตรการการให้กู้อย่างมีความรับผิดชอบหรือ RL มีความเข้มข้นมากในเวลานี้ และจะเพิ่มมากขึ้นแน่ๆจนถึงสิ้นปีแน่นอน
แต่เอ๊ะ.. ตัวเลขของหนี้เรื้อรัง, หนี้เรื้อรังรุนแรง ที่เข้ามาตรการช่วยเหลืออันเป็นเรือธงของการสู้รบตอนนี้ไปได้เท่าไหร่แล้ว เพราะ Ploan แบบหมุนเวียนของลูกหนี้รายได้น้อยที่มีลักษณะจ่ายดอกสะสมมาในอดีตที่มากกว่าจ่ายเข้าต้นนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของ Ploan ที่มีการไหลมาเป็น SM เพิ่มอย่างมีนัยสำคัญในเดือนเจ็ดนี้
ที่มา TNN
ที่มาข้อมูล : -