รู้หรือไม่ว่า ในอีก 80 ปี ประเทศไทย อาจเหลือประชากรเพียงครึ่งหนึ่งนั่นเพราะเด็กเกิดน้อยกว่าคนตายแบบเข้าขั้นวิกฤต
นอกจากจะเป็นแดนคนโสดแล้ว ไทยยังเป็นประเทศที่อัตราการเกิดต่ำวิกฤตอันดับต้น ๆ ของโลกด้วย โดยในปี 2567 ถือเป็นปีแรกในรอบ 70 ปีประชากรไทยเกิดไม่ถึง 5 แสน
จากที่เคยสูงถึง 736,352 คนในปี 2558 มาอยู่ที่ 462,240 คน ในระยะเวลา 10 ปี หรือก็คือ ลดลงเกือบ 3 แสนคน
หากมาดูที่อัตราเจริญพันธุ์รวม หมายถึง จำนวนลูกเฉลี่ยที่ผู้หญิงคนหนึ่งจะมีตลอดวัยเจริญพันธุ์ของประเทศต่าง ๆ
จะเห็นว่า ไทยอยู่ในเกณฑ์สีแดง หรือในขั้นต่ำที่ 1.0 ถือว่าเท่ากับจีน และเป็นรองเพียงแค่สิงคโปร์ ที่ 0.94 และเกาหลีใต้ ที่ 0.72 แต่ในขณะที่อัตราการเกิดต่ำ จำนวนการเสียชีวิตกลับเพิ่มมากขึ้น จาก 468,911 ในปี 2560 มาเป็น 571,646 ในปี 2567 หรือเพิ่มขึ้นกว่า 1 แสนราย สวนทางกับอัตราการเกิดที่น้อยลง
สรุปข่าว
หากยังเป็นแบบนี้ต่อไป คาดว่าจำนวนประชากรของไทยจะลดลงจาก 66 ล้านคนในตอนนี้ เหลือเพียง 33 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2626 หรือก็คือครึ่งนึงนั่นเอง
- จำนวนประชากรวัยแรงงาน (ช่วงอายุ 15 ถึง 64) จะลดลงจาก 46 ล้านคน เหลือเพียง 14 ล้านคน
- จำนวนประชากรวัยเด็ก (ช่วงอายุ 0 ถึง 14) จะลดลงจาก 10 ล้านคนเหลือเพียง 1 ล้านคน ในปี ค.ศ. 2083
- และสุดท้ายประเทศจะเต็มไปด้วยผู้สูงวัย (65+) เพิ่มขึ้นจาก 8 ล้านคน
ไปเป็น 18 ล้านคน สัดส่วนประชากรสูงวัยจะมากกว่า 50% ของประชากรทั้งประเทศนั่นเอง
รัฐบาลคงต้องรีบรับมือกับการเข้าสู่สังคมสูงวัย หาวิธีการเติมประชากร หรือนโยบายการจูงใจให้คนอยากมีลูก
แม้หลายคนจะมองว่าอย่างหลังนั้น เป็นเรื่องที่ยาก และอาจเป็นไปไม่ได้เลย
หากสังคมยังมีปัญหามากมายแบบนี้
ที่มาข้อมูล : https://www.theprachakorn.com/newsDetail.php?id=1002 https://www.chula.ac.th/news/124866/
ที่มารูปภาพ : Freepik

กรุณพร เชษฐพยัคฆ์