
องค์การวิจัยอวกาศแห่งอินเดีย (ISOR) ประสบความสำเร็จในการปล่อยดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศเป็นครั้งที่ 100 ด้วยการส่งดาวเทียมนำทางดวงใหม่ขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันพุธที่ผ่านมา ณ ศูนย์อวกาศศสาทิช ธาวัน (Satish Dawan) ซึ่งเป็นท่าอวกาศหลักขององค์การค้นคว้าอวกาศ ของประเทศอินเดีย

สรุปข่าว
การนำส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศครั้งนี้ ใช้จรวดขนส่งดาวเทียม GSLV-F15 ซึ่งเป็นจรวดที่ผลิตในประเทศ เพื่อส่งดาวเทียมนำทาง NVS-02 ดวงที่สอง ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จเมื่อเวลาประมาณ 6.23 น. ตามเวลาท้องถิ่นของประเทศอินเดีย
โดยเมื่อปฏิบัติการเต็มรูปแบบแล้ว ระบบนำทางด้วยดาวเทียมของอินเดีย จะทำงานร่วมกับระบบนำทางอื่น ๆ ที่อยู่ในวงโคจรอยู่แล้ว เพื่อให้บริการตำแหน่ง ความเร็ว และเวลาที่แม่นยำยิ่งขึ้นแก่อินเดียและภูมิภาคใกล้เคียง
การทำงานของมันจะคล้ายกับระบบจีพีเอส (GPS) ของสหรัฐฯ, ระบบเป๋ย์โต่ว (BeiDou) ของจีน, ระบบกาลิเลโอ (Galileo) ของยุโรป และโกลนาส (GLONASS) ของรัสเซีย
การปล่อยจรวดขนส่งดาวเทียมครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นการปล่อยจรวดครั้งที่ 100 ขององค์การวิจัยอวกาศแห่งอินเดีย เกิดขึ้นในขณะที่การแข่งขันทางด้านอุตสาหกรรมอวกาศทวีความรุนแรงขึ้น
โดยประเทศต่าง ๆ ต่างแข่งขันกันเพื่อขยายเครือข่ายดาวเทียม ที่สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย ตั้งแต่ปฏิบัติการด้านกลาโหม ไปจนถึงการนำทางด้วยสมาร์ตโฟน และการทำธุรกรรมทางการเงิน
อินเดีย ซึ่งในอดีตเป็นผู้เล่นรายเล็กของอุตสาหกรรมด้านอวกาศ กำลังวางแผนที่จะเพิ่มจำนวนภารกิจการปล่อยจรวดขึ้นสู่อวกาศมากขึ้น โดยคาดว่าจะมีภารกิจด้านอวกาศอีก 30 ภารกิจที่จะเกิดขึ้นภายในเดือนมีนาคมปีนี้
ที่มาข้อมูล : AP, REUTERS, INDIAN SPACE RESEARCH ORGANISATION
ที่มารูปภาพ : AP, REUTERS, INDIAN SPACE RESEARCH ORGANISATION