12 มกราคม 2568 ชวนชม “ดาวอังคารใกล้โลกที่สุด” สังเกตได้ด้วยตาเปล่า

12 มกราคม 2568 ชวนชม “ดาวอังคารใกล้โลกที่สุด” สังเกตได้ด้วยตาเปล่า

สรุปข่าว

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร. หรือ NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ว่า 12 มกราคม 2568 “ดาวอังคารใกล้โลกที่สุด” ปรากฏสว่างสีส้มแดงบนท้องฟ้า ตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า สังเกตได้ด้วยตาเปล่า หากชมผ่านกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายตั้งแต่ 100 เท่าขึ้นไป จะเห็นพื้นน้ำแข็งสีขาวบริเวณขั้วของดาวอังคารได้ 


NARIT ชวนมาส่องดาวอังคารผ่านกล้องโทรทรรศน์ 5 จุดหลัก ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร เชียงใหม่ และหอดูดาวภูมิภาค นครราชสีมา ขอนแก่น ฉะเชิงเทรา และสงขลา ตั้งแต่เวลา 18:00-22:00 น. ฟรี! และรับชมถ่ายทอดสดปรากฏการณ์ผ่านเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ


ช่วงวันที่ 12 - 16 มกราคม 2568 เป็นช่วงเวลาเหมาะสมในการสังเกตการณ์ดาวอังคารมากที่สุด เนื่องจากคืนวันที่ 12 มกราคม 2568 ดาวอังคารจะโคจรมาอยู่ตำแหน่งใกล้โลกที่สุด ที่ระยะห่างประมาณ 96 ล้านกิโลเมตร และหลังจากนั้นจะโคจรไปอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์วันที่ 16 มกราคม 2568 ช่วงดังกล่าวสามารถสังเกตดาวอังคารได้ตลอดทั้งคืน ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงดวงอาทิตย์ขึ้นในเช้าวันถัดไป หากสังเกตด้วยตาเปล่าจะเห็นดาวอังคารส่องสว่างประกายสีส้มแดงบนท้องฟ้า และเมื่อสังเกตการณ์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยายตั้งแต่ 100 เท่าขึ้นไป จะเห็นพื้นน้ำแข็งสีขาวที่อยู่บริเวณขั้วของดาวอังคารได้


เชิญชวนผู้สนใจส่องดาวอังคารผ่านกล้องโทรทรรศน์ คืนวันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม 2568 เวลา 18:00 - 22:00 น.  ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย ณ จุดสังเกตการณ์หลัก 5 แห่ง ได้แก่ 

- เชียงใหม่ : อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร เชียงใหม่ โทร. 084-0882261

- โคราช : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา นครราชสีมา โทร. 086-4291489

- ขอนแก่น : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ขอนแก่น โทร. 063-8921854

- ฉะเชิงเทรา : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา โทร. 084-0882264

สงขลา : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา โทร. 095-1450411


หรือรับชมถ่ายทอดสดปรากฏการณ์ผ่านเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ


ดาวอังคารไม่ได้เข้าใกล้โลกมากที่สุดในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์พอดีเหมือนดาวพฤหัสบดี หรือดาวเสาร์ เนื่องจากวงโคจรของดาวอังคารค่อนข้างรี จึงทำให้วันที่ดาวอังคารเข้าใกล้โลกมากที่สุดนั้นเคลื่อนไปจากวันที่ดาวอังคารอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์เล็กน้อย ซึ่งดาวอังคารจะเคลื่อนมาอยู่ในตำแหน่งนี้ทุก ๆ 26 เดือน และโคจรจะมาใกล้โลกในครั้งถัดไปวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2570

12 มกราคม 2568 ชวนชม “ดาวอังคารใกล้โลกที่สุด” สังเกตได้ด้วยตาเปล่า

12 มกราคม 2568 ชวนชม “ดาวอังคารใกล้โลกที่สุด” สังเกตได้ด้วยตาเปล่า



ข้อมูลจาก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ภาพจาก AFP

ที่มาข้อมูล : หาเอง/ตัดต่อเอง

ที่มารูปภาพ : -

ผู้สื่อข่าวมากประสบการณ์ของ TNN Thailand ที่เชี่ยวชาญด้าน เทคโนโลยี มีประสบการณ์ในวงการสื่อสารมวลชนกว่า 15 ปี

แท็กบทความ