สภาวะโลกร้อนอาจก่อโรคทางสมองในมนุษย์ - อาการรุนแรงเพิ่ม

สภาวะโลกร้อนอาจก่อโรคทางสมองในมนุษย์ - อาการรุนแรงเพิ่ม

สรุปข่าว

ศาสตราจารย์ ซานเจย์ สิโสดียา จากสถาบันประสาทวิทยาควีนสแควร์ มหาวิทยาลัยลอนดอน ระบุว่า ถ้าสมองมีโรค ความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิจะลดลง หากคุณนำผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทมาสัมผัสคลื่นความร้อนที่ไม่ปกติ จะเห็นว่า อาการของโรคทางระบบประสาทแย่ลงเพราะความร้อน 


สำหรับการศึกษาครั้งนี้ นักวิจัยได้ตรวจสอบรายงาน 332 ฉบับ เพื่อพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อสภาวะทางระบบประสาท 19 โรค ซึ่งมีภาระโรคสูงสุด ได้แก่ อัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อม , ไมเกรน, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ 


การค้นพบนี้แสดงให้เห็นว่า สภาพอากาศส่งผลกระทบต่อโรคในลักษณะที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับความชุกของโรคที่สูงขึ้น และอาการเจ็บป่วยที่แย่ลง นอกจากนี้ สภาพอากาศที่ร้อนขึ้น ยังมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมอง ที่อันตรายถึงชีวิต อาจทำให้พิการ และอาจส่งผลต่อโรคลมชัก ซึ่งอาการอาจแย่ลงหากมีการอดนอนร่วมด้วย เนื่องจากอุณหภูมิสูงในเวลากลางคืน เป็นผลกระทบหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สามารถส่งผลต่อการนอนหลับ อย่างไรก็ตาม การวิจัยยังระบุว่า ความเย็นจัดก็สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกัน มากไปกว่านั้น สภาวะอากาศสุดขั้ว เช่น พายุและไฟป่า สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการวิตกกังวล, ความเครียดจากเหตุการณ์สะเทือนใจ, โรคซึมเศร้า 


ทั้งนี้ สิ่งที่กังวลมากที่สุดคือ ภายในปี 2593 ไม่เพียงเห็นการปะทุของจำนวนผู้ที่มีความผิดปกติทางระบบประสาทเท่านั้น แต่ความผิดปกติดังกล่าวจะเกิดขึ้นในช่วงอายุ 40 และ 50 ปี แทนที่จะเป็นช่วงอายุ 70 และ 80 ปี เพราะสมองถูกโจมตีด้วยความเครียดที่แตกต่างกัน เช่น ความร้อน, มลพิษ และไมโครพลาสติก ซึ่งขณะที่โลกกำลังเผชิญกับฤดูร้อนที่อุณหภูมิสูงจนทำลายสถิติครั้งใหม่ ทุกคนสามารถดำเนินการเพื่อยับยั้งสภาพอากาศที่ร้อนจัดได้ เราจำเป็นต้องหยุดการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล และหยุดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 


ภาพจาก: AFP 

ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :

แท็กบทความ

โลกร้อน
สมองมนุษย์
โรคสมองมนุษย์
อากาศร้อน
โรคลมชัก
ผลกระทบโลกร้อน
โรคทางสมอง