TNN ทำความรู้จัก ‘กลุ่มฮามาส’ ศัตรูคู่แค้นอิสราเอล

TNN

World

ทำความรู้จัก ‘กลุ่มฮามาส’ ศัตรูคู่แค้นอิสราเอล

ทำความรู้จัก ‘กลุ่มฮามาส’ ศัตรูคู่แค้นอิสราเอล

ความรู้จัก ‘กลุ่มฮามาส’ กองกำลังติดอาวุธ ศัตรูคู่แค้นอิสราเอล ทั่วโลกจับตาปะทะกันหนักหวั่นเกิดสงครามเต็มรูปแบบ

วันนี้ ( 14 .. 64 )สำนักข่าวบีบีซรายงานว่า ฮามาส คือหนึ่งในกลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งปกครองดินแดนฉนวนกาซา ชื่อของฮามาสในภาษาอาหรับหมายถึง ขบวนการต่อต้านอิสลาม ถือกำเนิดขึ้นในปี 1987 หลังเกิดการลุกฮือครั้งแรกของชาวปาเลสไตน์ เพื่อต่อต้านการครอบครองเขตเวสต์ แบงค์ และฉนวนกาซ่าของอิสราเอล


ธรรมนูญของกลุ่ม กำหนดว่ากลุ่มฮามาสมีหน้าที่ทำลายอิสราเอล


แต่แรกเริ่ม กลุ่มฮามาสมีเป้าหมายสองภารกิจ คือ การเป็นกองกำลังติดอาวุธเพื่อสู้กับอิสราเอล และอีกด้าน กลุ่มฮามาสได้จัดทำโครงการสวัสดิการสังคมต่างๆช่วยเหลือชาวปาเลสไตน์


นับตั้งแต่ปี 2005 ที่อิสราเอลถอนทหารและการตั้งถิ่นฐานออกจากฉนวนกาซา กลุ่มฮามาสได้เข้ามาร่วมในกระบวนการทางการเมืองของปาเลสไตน์มากขึ้น โดยสามารถชนะการเลือกตั้งเพื่อเข้าสู่สภานิติบัญญัติด้วย ก่อนที่จะสามารถกระชับอำนาจในกาซาได้มากขึ้นอีก ด้วยการขับขบวนการฟาทาห์ ของประธานาธิบดีมาห์มูด อับบาสออกไปด้วย 


ทั้งนี้ อิสราเอล สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และสหราชอาณาจักร ขึ้นบัญชีให้กลุ่มฮามาสเป็นกลุ่มก่อการร้าย


นอกจากนี้ กลุ่มฮามาสยังเป็นกลุ่มปาเลสไตน์หลักที่ต่อต้านข้อตกลงสันติภาพในช่วงปี 1990 ระหว่างอิสราเอลกับ Palestine Liberation Organisation หรือ PLO ซึ่งเป็นองค์กรหลักของชาวปาเลสไตน์ส่วนใหญ่ด้วย


ในปี 1996 กลุ่มฮามาสก่อเหตุระเบิดฆ่าตัวตายหลายครั้ง ทำให้ชาวอิสราเอลเสียชีวิตเกือบ 60 คน ทำให้อิสราเอลตอบโต้ด้วยการสังหาร ยาห์ยา ไอยยาช ผู้ผลิตระเบิดของกลุ่มฮามาส เหตุขัดแย้งดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อกระบวนการเจรจาสันติภาพ และทำให้เบนจามิน เนทันยาฮู ซึ่งเป็นนักการเมืองสายเหยี่ยว ได้เข้ามามีอำนาจในรัฐบาลอิสราเอลปีนั้นเอง

ทำความรู้จัก ‘กลุ่มฮามาส’ ศัตรูคู่แค้นอิสราเอล


หลังจากนั้นมา กลุ่มฮามาสมีอำนาจและอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ และยังเปิดคลินิกและโรงเรียนช่วยเหลือชาวปาเลสไตน์ที่สิ้นหวังกับองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ ที่บริหารโดยกลุ่มฟาทาห์


ต่อมาในปี 2006 กลุ่มฮามาสสามารถเอาชนะการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาของปาเลสไตน์มาอย่างถล่มทลาย ทำให้เกิดภาวะแย่งชิงอำนาจกับกลุ่มฟาทาห์ กลุ่มฮามาสต่อต้านความพยายามทุกวิถีทางในการลงนามข้อตกลงใดๆระหว่างปาเลสไตน์กับอิสราเอล รวมถึงต่อต้านการยอมรับความชอบธรรมใดๆของอิสราเอล


ทั้งนี้ ธรรมนูญของกลุ่มฮามาสที่มีมาตั้งแต่ปี 1988 ให้คำนิยามว่า ดินแดนประวัติศาสตร์ของปาเลสไตน์ ซึ่งรวมถึงอิสราเอลในปัจจุบัน ถือเป็นดินแดนของอิสลาม และกลุ่มฮามาสจะไม่มีสันติภาพถาวรกับรัฐยิว


อย่างไรก็ตามในปี 2017 กลุ่มฮามาสได้มีการออกนโยบายใหม่ที่ลดความกร้าวลงบางส่วน และใช้ภาษาที่ระมัดระวังขึ้นแม้ในนโยบายใหม่ กลุ่มฮามาสยังไม่ยอมรับการมีอยู่ของอิสราเอล แต่กลุ่มยอมรับการเกิดของรัฐปาเลสไตน์ชั่วคราวในฉนวนกาซา เวสต์ แบงค์ และเยรูซาเลมตะวันออกเอกสารยังย้ำด้วยว่า การต่อสู้ของกลุ่มฮามาสนั้นไม่ได้ต่อต้านชาวยิว แต่เป็นการต่อสู้กับขบวนการไซออนิสต์ผู้รุกราน หลังจากนั้น รัฐบาลปาเลสไตน์ที่นำโดยกลุ่มฮามาส เผชิญการคว่ำบาตรทั้งทางเศรษฐกิจและการทูตอย่างหนักจากอิสราเอลและชาติพันธมิตรตะวันตก


ในปี 2007 หลังกลุ่มฮามาสขับไล่กองกำลังที่สวามิภักดิ์ต่อกลุ่มฟาทาห์ออกจากฉนวนกาซาไป อิสราเอลได้ทำการปิดกั้นพื้นที่ดังกล่าว และเปิดการเผชิญหน้าระหว่างทั้งสองฝ่ายอย่างต่อเนื่อง

 

ในปี 2008 กองทัพอิสราเอลได้มีปฏิบัติการ Operation Cast Lead เพื่อหยุดยั้งการโจมตีด้วยจรวดจากฉนวนกาซา ปฏิบัติการดังกล่าวทำให้มีชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตมากกว่า 1,300 คน ในช่วงเวลา 22 วันจองการโจมตี

ทำความรู้จัก ‘กลุ่มฮามาส’ ศัตรูคู่แค้นอิสราเอล


ต่อมาในปี 2014 มีจรวดจากฉนวนกาซาโจมตีอิสราเอลอีก หลังอิสราเอลจับกุมสมาชิกกลุ่มฮามาสสามคนในเขตเวสต์แบงค์ เพื่อหาผู้ก่อเหตุฆาตกรรมวัยรุ่นอิสราเอลสามคน ต่อมากลุ่มฮามาสอ้างความรับผิดชอบเป็นผู้ยิงจรวดใส่อิสราเอลเป็นครั้งแรกในรอบสองปี ทำให้วันรุ่งขึ้น อิสราเอลมีปฏิบัติการ Operation Protective Edge เพื่อทำลายจรวดและอุโมงค์ข้ามพรมแดนที่กลุ่มติดอาวุธใข้


ความขัดแย้งครั้งนั้นกินเวลา 50 วัน ทำให้ชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตอย่างน้อย 2,251 คน กว่าครึ่งเป็นพลเรือน ในฝั่งของอิสราเอลมีทหารเสียชีวิต 67 คน และพลเรือน 6 คน นับตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมา เกิดความรุนแรงขึ้นเป็นประจำระหว่างสองฝ่าย และมักจบลงด้วยการเจรจาของอียิปต์ กาตาร์ และสหประชาติ แต่ยังไม่เคยเข้าสู่สงครามเต็มรูปแบบ


กล่มฮามาสเอง แม้จะเผชิญการปิดกั้น แต่ยังคงรักษาอำนาจในฉนวนกาซาอย่างเหนียวแน่น และยังเพิ่มคลังจรวดอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การเจรจาระหว่างกลุ่มฮามาสและกลุ่มฟาทาห์ยังคงล้มเหลว  ขณะเดียวกัน สถานการณ์ด้านมนุษยธรรมสำหรับชาวปาเลสไตน์กว่าสองล้านคนในกาซานั้นกลับเลวร้ายลง เศรษฐกิจในกาซาล่มสลาย และยังเผชิญภาวะขาดแคลนน้ำ ไฟฟ้าและยารักษาโรคด้วย



ข่าวแนะนำ