หนาวจัด - มลพิษแน่น เปิด 4 สาเหตุทำค่าฝุ่น PM 2.5 พุ่งสูงข้ามปี
สถานการณ์ PM 2.5 ที่รุนแรงมากขึ้นมาจาก 4 ปัจจัยที่มีจุดเริ่มต้นมาจากสภาพอากาศที่เกิดจากความกดอากาศสูง หรือ มวลอากาศเย็น หรือ ความกดอากาศสูงจากแผ่นดินใหญ่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย จนทำให้เกิดภาวะอากาศเย็นครอบพื้นที่ ส่งผลให้มลภาวะต่าง ๆ ที่ระบายออกมาถูกกักอยู่ภายในพื้นทที่ กรุงเทพฯ
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละออกในพื้นที่ กทม. (24 ธ.ค.) เกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) มากถึง 67 พื้นที่ ชี้ว่าปัจจัยที่ทำให้ข้อฝุ่นมีแนวโน้มสูงขึ้น ในช่วงวันที่ 24 ธ.ค. - 1 ม.ค. 68 เกิดจากการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ "ไม่ดี" จึงทำให้มลพิษทางอากาศสามารถแพร่กระจายได้อย่างจำกัด แนะนำประชาชนใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง ทุกครั้งที่ออกนอกอาคารจำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้ง
ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย วิเคราะห์สถานการณ์ PM 2.5 ที่กลับมาเต็มรูปแบบผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัว โดยมองว่าสถานการณ์ PM 2.5 ที่รุนแรงมากขึ้นมาจาก 4 ปัจจัยที่มีจุดเริ่มต้นมาจากสภาพอากาศที่เกิดจากความกดอากาศสูง หรือ มวลอากาศเย็น หรือ ความกดอากาศสูงจากแผ่นดินใหญ่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย ประกอบด้วย
1.เกิดภาวะ Air Inversion หรืออากาศเย็นครอบพื้นที่ เป็นผลจากมวลอากาศเย็นยังปกคลุมอยู่แต่แรงลมลดกำลังลงจึงทำ ให้ฝุ่น PM2.5 ลอยขึ้นในแนวดิ่งได้น้อยลง ขณะที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในแนวราบมีกำลังลดลงบางครั้งเกิดลมสงบทำให้การฟุ้งกระจายในแนวราบลดลงประกอบแหล่งกำเนิดมลพิษยังมีอยู่จำนวนมากทำให้ค่าฝุ่น PM2.5 เริ่มเกินค่ามาตรฐานหรือเกินค่า 37.5 มคก.ต่อลบ.ม.หรือเริ่มมีผล กระทบต่อสุขภาพ
2.แหล่งกำเนิดมลพิษที่สำคัญใน กทม. ระบายฝุ่น PM2.5 ออกมาในปริมาณมาก
ประกอบไปด้วย
- จำนวนรถยนต์ที่จดทะเบียนใน กทม.2567 สะสมประมาณ 12 ล้านคันเป็นรถเครื่องยนต์ดีเซลประมาณ 3.28 ล้านคัน โดยรถยนต์ดังกล่าวจะระบายฝุ่น PM2.5 ออกมาปริมาณมาก
-โรงงานที่จดทะเบียนกับ กรอ. ในกทม. มีถึง7,202 แห่ง และ จังหวัดสมุทรปราการมีจำนวน 6,814 แห่ง ทั้งนี้พบว่าหลายแห่งมากกว่าครึ่งใช้เชื้อเพลิง เช่นถ่านหิน น้ำมันเตา หรือ น้ำมันดีเซลเผาไหม้จะปล่อยฝุ่น PM2.5 ออกมาปริมาณมากหากไม่มีอุปกรณ์กำจัดมล พิษทางอากาศที่ดี
-ไซส์งานก่อสร้างต่างๆเช่น เส้นทางรถไฟ ฟ้า ถนน อาคารสูง บ้านจัดสรร ไซส์ปูนซีเมนต์เป็นต้นเกือบ1000แห่งรวมทั้งมีการแอบเผาในที่โล่ง เช่น เผาขยะมูลฝอยหลายแห่ง เป็นต้น
-พื้นที่รอบเขต กทม. เริ่มมีการเผาในที่โล่ง มีการเผาวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร ตอซังฟางข้าว หญ้าในพื้นที่จังหวัดภาคกลางและภาคเหนือตอนล่างทำให้เริ่มมีฝุ่นละอองบางส่วนพัดเข้า กทม.ทางด้านตะวันตก
3.ทิศทางลม
โดยฝุ่น PM2.5จะเริ่มเกินค่ามาตรฐานโดยจะเริ่มสะสมทางด้านตะวันตกของกทม.เพราะทิศทางลมพัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือจากสมุทรปราการ บางนา หนองจอก มีนบุรี บึงกุ่มสะพานสูงผ่านใจกลางกทม.ไปด้านตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ ดังนั้นฝุ่นจะเกินมาตรฐานบริเวณ ถ.จรัญสนิทวงศ์ บางพลัด พุทธมณฑลสาย1 ตลิ่งชัน เขตทวีวัฒนา ถนนเพชร เกษม ถนนเอกชัย บางบอน หนองแขมเป็นต้น
โดยต่อไปก็จะครอบคลุมทั้ง กทม.โดยเฉพาะริมถนนที่มีการจราจรหนาแน่นติด ขัดและริมถนนใต้สถานีรถไฟลอยฟ้ากลางถนนต่าง ๆ
4.อากาศที่หนาวเย็นมากกว่าทุกปี
ปีนี้หนาวมากกว่าทุกปีแถมมีน้ำท่วมขังทำให้ความชื้นในอากาศเพิ่มขึ้นยิ่งเจออากาศเย็นอาจทำให้เกิดหมอกปกคลุมพื้นดินมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่ลมสงบจะเป็นเหตุให้ฝุ่นละอองจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ ลอยขึ้น และจับกับความชื้นหรือหมอกกลายเป็นหมอกควัน คือ ฝุ่นPM 2.5 ปกคลุมพื้นดินหรือเรียกว่า Fummigation conditon เกิดผลกระทบต่อสุขภาพมากกว่าปีก่อน ๆ ถ้าควบ คุมมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิดได้ไม่ดีพอ
ขณะที่ปัญหาดังกล่าวในส่วนของกรุงเทพมหานครได้ออกมาตรการรับมือ โดยกำหนดเกณฑ์ห้ามรถบรรทุกเข้าพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯ โดยนายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า คณะกรรมการพิจารณาการออกประกาศห้ามรถตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไปเข้าพื้นที่วงแหวนรัชดาภิเษกได้กำหนดเกณฑ์ห้ามรถบรรทุก 6 ข้อขึ้นไปที่ไม่ได้ขึ้นบัญชีสีเขียวเข้าพื้นที่ เมื่อปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 อยู่ในระดับสีแดง ตั้งแต่ 75.1 มคก./ลบ.ม. 5 เขต หรือ ระดับสีส้ม ตั้งแต่ 37.6 - 75.0 มคก./ลบ.ม. มากกว่า 15 เขต ประกอบกับอัตราการระบายอากาศ (VR) ต้องน้อยกว่า 3,000 ตารางเมตรต่อวินาที
สำหรับมีจำนวนรถบรรทุกที่เข้าพื้นที่วงแหวนรัชดาภิเษกเฉลี่ยวันละ 9,600 คัน โดยล่าสุด มีรถตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไปขึ้นทะเบียนบัญชีสีเขียว (Green List) แล้ว 9,555 คัน หรือคิดเป็น ร้อยละ 99.53 ของรถที่เข้าพื้นที่วงแหวนรัชดาภิเษกเฉลี่ยต่อวัน
ข่าวแนะนำ