TNN วันแม่ เคยชื่อ “วันมารดา” เริ่มจัดสมัย จอมพล ป. พิบูลสงครามเพื่อต้าน “ญี่ปุ่นกลืนชาติ” | Chronicles

TNN

TNN Exclusive

วันแม่ เคยชื่อ “วันมารดา” เริ่มจัดสมัย จอมพล ป. พิบูลสงครามเพื่อต้าน “ญี่ปุ่นกลืนชาติ” | Chronicles

วันแม่ เคยชื่อ “วันมารดา” เริ่มจัดสมัย จอมพล ป. พิบูลสงครามเพื่อต้าน “ญี่ปุ่นกลืนชาติ” | Chronicles

ตามประวัติศาสตร์ การเกิดขึ้นของวันแม่ในหประเทศไทยนั้นมาจาก "เหตุผลทางการเมือง" เพราะ “จอมพล ป. พิบูลสงคราม” ไม่ต้องการถูก “ญี่ปุ่นกลืนชาติ”




12 สิงหาคม ในทุกปีของประเทศไทยเป็น “วันแม่แห่งชาติ” ซึ่งส่วนใหญ่ผู้คนจะรับรู้กันว่า เป็นวันที่ต้องระลึกถึงพระคุณแม่ผู้ให้กำเนิด และแสดงความเคารพด้วยการนำดอกมะลิไปกราบแทบเท้า


แต่ตามประวัติศาสตร์ การเกิดขึ้นของวันแม่นั้น อาจมองได้ว่า เป็นไปด้วยเหตุผลทางการเมือง เพราะ “จอมพล ป. พิบูลสงคราม” ไม่ต้องการถูก “ญี่ปุ่นกลืนชาติ”


สมัยที่ทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกราว พ.ศ. 2485 จอมพล ป. นายกรัฐมนตรี ณ ตอนนั้น ได้แสดงความกังวลต่อการถูกกลืนชาติ เนื่องจากทหารเหล่านี้เป็นชายฉกรรจ์ เกรงว่าจะหลงรักสาวไทย และให้กำเนิดลูกครึ่ง จนชนชาติไทยนั้นกลายเป็น “ไม่แท้” 


จอมพล ป. ได้เขียนบทความ “ดอกไม้ของชาติ” ในนามของสามัคคีชัย ในวันที่ 29 ตุลาคม 2485 เสนอถึงการมีคู่ของหญิงซึ่งเกี่ยวพันกับเกียรติของชาติ ความว่า ชาติได หยิงในชาตินั้นเป็นอารยะเพียบพร้อม มีความรักชาติ รักคู่สมรสชาติเดียวกันไว้เป็นแก่นสารแล้ว ชาตินั้น  ก็มีทางแต่งเดินขึ้นทุกวัน


รวมถึงเสนอเรื่อง “ความเป็นแม่” ว่าสำคัญที่สุด หากไปแต่งงานกับชายญี่ปุ่น ความเป็นแม่ของไทยอาจมัวหมอง ความว่า แม่เป็นผู้ให้กําเหนิด ... ถือว่ามีความสําคันเกี่ยวกับการส้างชาติในลําดับที่ 1 ส่วนสําคัญที่สุดแห่งสรรพกําลังของชาตินั้นก็คือคน เราต้องมีคนก่อนจึงจะทําหย่างอื่นได้


แนวคิดเช่นนี้ ในปี 2486 กระทรวงสาธารณสุขได้ริเริ่มจัดงาน “วันมารดา” ขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 10 มีนาคม ซึ่งเป็นวันตั้งกระทรวงการสาธารณสุข โดยมีวัตถุประสงค์


 เพื่อเป็นการส่งเสิมให้บันดามารดาทั้งหลายได้มีโอกาสไปร่วมพบปะประชุมกัน อันจะเป็นผลนํามาซึ่งความสามัคคีและทั้งจะได้รับความรู้ในเรื่องการสงเคราะห์มารดาและเด็ก เพื่อจะได้ช่วยกันลดอัตตราตายของทารกให้น้อยลง เป็นการเพิ่มพูนสมัถภาพและจํานวนพลเมืองให้มากขึ้นจะได้เพิ่มความเข้มแข็งของชาติสืบไป


หมายความว่า วันมารดาคือการให้ผู้หญิงไทยต้องให้กำเนิด “ลูกไทยแท้” มาพบปะกันเพื่อพูดคุยแนวทางการเลี้ยงลูกไทยแท้ให้มั่นคง เป็นกำลังของชาติไทย ทำให้ชาติไทยแข็งแกร่ง


วันมารดาจัดขึ้น 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 เพราะเป็นวันครบรอบกระทรวงสาธารณสุข และหมายจะจัดในวันนี้ของทุกปี ก่อนที่จะเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้น จึงได้ยกเลิกไปนานก่อนที่จะกลับมาจัดอีกครั้งใน พ.ศ. 2493 โดยใช้วันที่ 15 เมษายน ของทุกปี และเปลี่ยนมาเป็น 12 สิงหาคม เช่นปัจจุบัน


Chronicles by วิศรุต หล่าสกุล [Hayden Whiz]


แหล่งอ้างอิง


ข่าวแนะนำ