หลักเกณฑ์-วิธีการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าพนักงานของรัฐ
หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าพนักงานของรัฐต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.
หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าพนักงานของรัฐต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.
เปิดรายละเอียดหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าพนักงานของรัฐต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.
“ผู้ยื่นบัญชี” ได้แก่ เจ้าพนักงานของรัฐ
“สํานักงาน ป.ป.ช.” ได้แก่ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ
สํานักงาน ป.ป.ช. ภาค หรือสํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัด แล้วแต่กรณี
วิธีการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน
ผู้ยื่นบัญชีสามารถยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินได้ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) จัดส่งด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้บุคคลอื่นจัดส่งแทน
ให้จัดส่งต่อสํานักงาน ป.ป.ช. โดยให้ถือว่าวันที่พนักงาน เจ้าหน้าที่ออกใบรับบัญชีเป็นวันยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.
(2) จัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ
ให้ถือวันที่เจ้าพนักงานไปรษณีย์ได้รับลงทะเบียนเป็นวันยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสาร ประกอบต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.
(3) ยื่นบัญชีด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กําหนด
ผู้ยื่นบัญชีจะต้องแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยัง ไม่บรรลุนิติภาวะ ตามที่มีอยู่จริงในวันที่มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน
ผู้ที่ต้องแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
ผู้ที่ซึ่งดำรงตำเเหน่งตําแหน่งต่อไปนี้ ได้แก่
นายกรัฐมนตรี , รัฐมนตรี , สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร , สมาชิกวุฒิสภา และข้าราชการตุลาการศาลปกครอง
ให้แสดงรายการทรัพย์สิน และหนี้สินในวันที่เข้ารับตําแหน่ง และพ้นจากตําแหน่ง
หากพ้นจากตําแหน่งและได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งเดิมหรือตําแหน่งใหม่ภายในหนึ่งเดือน ผู้นั้นไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินแต่ไม่ต้องห้ามที่ผู้นั้น จะยื่นเพื่อเป็นหลักฐาน
ผู้ที่ซึ่งดำรงตำเเหน่งตําแหน่งต่อไปนี้ ได้แก่
ข้าราชการการเมืองอื่น , ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง , ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ , ผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ , ข้าราชการตุลาการ , และตําแหน่งอื่นที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กําหนด
ให้แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินในวันที่เข้ารับตําแหน่งและพ้นจากการเป็น เจ้าหน้าที่ของรัฐ และทุกสามปีตลอดเวลาที่ยังดํารงตําแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
กรณีผู้ยื่นบัญชีผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งอื่นใดที่มีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ผู้ยื่นบัญชีไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินใหม่ แต่ไม่ต้องห้ามที่ผู้นั้นจะยื่นเพื่อเป็นหลักฐาน
ผู้ยื่นบัญชีซึ่งดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบจํานวนสองชุด ชุดหนึ่งเป็นต้นฉบับ อีกชุดหนึ่งเป็นสําเนาคู่ฉบับ
โดยในเบื้องต้น ให้ผู้ยื่นบัญชีปกปิดข้อความในสําเนาบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบตามหลักเกณฑ์ ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กําหนด
(1) นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ ผู้ดํารงตําแหน่งระดับสูง
(2) ผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่น ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กําหนดให้เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน
เอกสารประกอบการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน
- หลักฐานที่พิสูจน์ความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สิน
- หลักฐานการเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาในรอบปีภาษีที่ผ่านมา
กรณียื่นเป็นเอกสารผู้ยื่นจะต้องลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องกํากับไว้ในบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินรวมถึงสําเนาหลักฐานที่ยื่นไว้ทุกหน้า พร้อมทั้งจัดทํารายละเอียดของเอกสารประกอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินที่ยื่นด้วย
ทรัพย์สินและหนี้สินที่ต้องแสดงรายการ
สำหรับทรัพย์สินและหนี้สิน ที่ต้องแสดงรายการได้แก่
- ทรัพย์สินและหนี้สินในต่างประเทศ
- ทรัพย์สินของบุคคลดังกล่าวที่มอบหมายให้อยู่ในความครอบครองหรือดูแลของบุคคลอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
ระยะเวลาการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน
ระยะเวลาการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน กำหนดเวลาดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่เป็นการเข้ารับตําแหน่ง ให้ยื่นภายใน 60 วัน นับแต่วันถัดจากวันเข้ารับตําแหน่ง
(2) ในกรณีที่เป็นการพ้นจากตําแหน่งหรือพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้ยื่นภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันถัดจากวันพ้นจากตําแหน่งหรือพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
(3) ในกรณีทุกสามปีตลอดเวลาที่ยังดํารงตําแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้ยื่นภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันถัดจากวันดํารงตําแหน่งครบทุกสามปี
ขอขยายระยะเวลายื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน
ก่อนครบกําหนดระยะเวลาผู้ยื่นบัญชีอาจยื่นคําขอขยายระยะเวลายื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินได้
โดยต้องระบุเหตุผลและความจําเป็นต่อสํานักงาน ป.ป.ช. หากเลขาธิการหรือบุคคลที่เลขาธิการมอบหมายเห็นสมควร จะอนุญาตขยายระยะเวลาได้ แต่ต้องไม่เกิน สามสิบวันนับแต่วันที่ครบกําหนดระยะเวลาที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน
คําขอขยายระยะเวลาให้จัดทําเป็นหนังสือ ต้องระบุรายละเอียด ดังต่อไปนี้
(1) ชื่อตัวและชื่อสกุลของผู้ยื่นบัญชี
(2) ตําแหน่งที่ยื่น
(3) ยื่นบัญชีกรณีเข้ารับตําแหน่ง กรณีพ้นจากตําแหน่งหรือพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือทุกสามปีตลอดเวลาที่ยังดํารงตําแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
(4) วันที่มีหน้าที่ยื่นบัญชี
ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบเกินกําหนดระยะเวลา
กรณียื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบเกินกําหนดระยะเวลา
ผู้ยื่นบัญชีต้องชี้แจงเหตุของการยื่นบัญชีล่าช้า ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยจัดทําเป็นหนังสือ ต้องระบุรายละเอียด ดังต่อไปนี้
(1) ชื่อตัวและชื่อสกุลของผู้ยื่นบัญชี
(2) ตําแหน่งที่ยื่น
(3) ยื่นบัญชีกรณีเข้ารับตําแหน่ง กรณีพ้นจากตําแหน่งหรือพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือทุกสามปีตลอดเวลาที่ยังดํารงตําแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
(4) วันที่มีหน้าที่ยื่นบัญชี
(5) เหตุผลของการยื่นบัญชีล่าช้าพร้อมทั้งแนบเอกสารหลักฐานประกอบ (ถ้ามี)
การขอแก้ไขบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน
กรณีก่อนวันครบกําหนดระยะเวลา ผู้ยื่นบัญชี อาจยื่นคําขอแก้ไขบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบที่ได้ยื่นไว้แล้ว หรือยื่นคําขอยื่นบัญชี ทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบเพิ่มเติมได้
กรณีเมื่อครบกําหนดระยะเวลา หากผู้ยื่นบัญชีมีความประสงค์ จะขอแก้ไขบัญชี และเอกสารประกอบที่ได้ยื่นไว้แล้ว หรือขอยื่นเอกสารประกอบเพิ่มเติม สามารถยื่นคําขอแก้ไขบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน หรือยื่นคําขอ ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบเพิ่มเติม พร้อมคําชี้แจงต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้หรือการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอํานาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาด คําวินิจฉัยของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้เป็นที่สุด
ท่านผู้ชมสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติ่มเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าพนักงานของรัฐต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือข้อมูลเกี่ยวกับการทุจริตได้ที่ www.nacc.go.th