TNN เปิดหลักการ "คุ้มครองช่วยเหลือพยาน" โดยสำนักงาน ป.ป.ช.

TNN

TNN Exclusive

เปิดหลักการ "คุ้มครองช่วยเหลือพยาน" โดยสำนักงาน ป.ป.ช.

เปิดหลักการ คุ้มครองช่วยเหลือพยาน โดยสำนักงาน ป.ป.ช.

เปิดหลักการ "คุ้มครองช่วยเหลือพยาน" โดยสำนักงาน ป.ป.ช. สามารถยื่นคำร้องได้ที่ไหน การคุ้มครองจะสิ้นสุดลงเมื่อใด

เปิดหลักการ "คุ้มครองช่วยเหลือพยาน" โดยสำนักงาน ป.ป.ช. สามารถยื่นคำร้องได้ที่ไหน การคุ้มครองจะสิ้นสุดลงเมื่อใด


ปัจจุบันมีเรื่องร้องเรียนเข้ามามากมาย หรือมีประชาชนพบเห็นการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่แต่ไม่กล้าแจ้งหรือให้ข้อมูลกับหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ เพราะเกรงกลัวและกังวลเกี่ยวกับความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและครอบครัว หากท่านต้องการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการร้องขอคุ้มครองช่วยเหลือพยาน จะต้องดำเนินการอย่างไร มาร่วมทำความเข้าใจผ่านคลิปนี้กันครับ


หลักการคุ้มครองช่วยเหลือพยาน โดยสำนักงาน ป.ป.ช.


“ผู้ร้องขอ” ได้แก่ ผู้กล่าวหา ผู้เสียหาย ผู้ทำคำร้อง ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ ผู้ให้ถ้อยคำ หรือผู้ที่แจ้งเบาะแส หรือข้อมูลใดเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการป.ป.ช. และรวมถึง คู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือบุคคลอื่นใดที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ร้องขอด้วย


การยื่นคำร้องขอคุ้มครองช่วยเหลือพยาน สามารถกระทำได้ดังต่อไปนี้


(1) ยื่นคำร้องพร้อมเอกสารหลักฐานด้วยตนเองต่อสำนักงานตามแบบที่สำนักงานกำหนดหรือ


(2) ยื่นคำร้องต่อหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองช่วยเหลือพยานและให้หน่วยงานดังกล่าวประสานการปฏิบัติงานเพื่อคุ้มครองช่วยเหลือพยานกับสำนักงาน


ในกรณีเร่งด่วนที่ผู้ร้องขอไม่อาจมายื่นคำร้องได้ด้วยตนเอง ให้ทำเป็นหนังสือ จดหมาย โทรศัพท์ โทรสาร จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรืออาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน


ทั้งนี้ การร้องขอกรณีดังกล่าวต้องระบุชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของผู้ร้องขอตลอดจนพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องขออาจไม่ได้รับความปลอดภัย และต้องลงลายมือชื่อหรือระบุชื่อผู้ร้องขอแล้วแต่กรณี


การยื่นคำร้องสามารถยื่นได้ที่


1.สำนักงาน ป.ป.ช. ส่วนกลาง


2. สำนักงาน ป.ป.ช. ส่วนภาค


3. สำนักงาน ป.ป.ช. จังหวัด


4.กระทรวงยุติธรรม


5.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ


6.โทรสายด่วน 1205


วิธีการคุ้มครองช่วยเหลือพยานตามมาตรการทั่วไป สำนักงานดำเนินการจัดให้มีการคุ้มครองความปลอดภัยให้เหมาะสมแก่สถานะและสภาพของพยาน รวมทั้งมีอำนาจเปลี่ยนแปลงวิธีการคุ้มครองความปลอดภัย โดยอาจดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด


(1) จัดพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ความคุ้มครอง ณ ที่พักอาศัย หรือสถานที่ที่พยานร้องขอ


(2) จัดให้พยานอยู่หรือพักอาศัยในสถานที่ที่สำนักงานกำหนด


(3) จัดให้มีมาตรการปกปิดไม่ให้มีการเปิดเผยชื่อตัว ชื่อสกุล ที่อยู่ ภาพ หรือข้อมูลอย่างอื่นที่สามารถระบุตัวพยานได้


(4) จัดให้มีการติดต่อสอบถามความเป็นอยู่หรือตรวจสถานที่ที่อยู่หรือัพักอาศัยอย่างสม่ำเสมอ


(5) แจ้งเป็นหนังสือให้หน่วยงาน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองพยานข้อ 15 คือ ให้เจ้าพนักงานที่ได้รับมอบหมายดำเนินการให้การคุ้มครองความปลอดภัยให้เหมาะสมแก่สถานะ สภาพของพยานและลักษณะของคดี


(6) ดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการป.ป.ช. กำหนด


การคุ้มครองช่วยเหลือพยานตามมาตรการพิเศษ ให้สำนักงานนำวิธีการคุ้มครองพยาน ตามมาตรการพิเศษในการคุ้มครองพยาน


1.จัดเจ้าหน้าที่คุ้มครองความปลอดภัย


2.จัดหาที่อยู่ใหม่ เปลี่ยนชื่อ-นามสกุล หลักฐานทางทะเบียน


3.จ่ายค่าเลี้ยงชีพ จัดหาอาชีพหรือการศึกษา เป็นต้น


การคุ้มครองช่วยเหลือพยานจะสิ้นสุดลงเมื่อมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ต่อไปนี้


(1) พยานถึงแก่ความตาย


(2) พยานร้องขอให้ยุติการคุ้มครองช่วยเหลือ หรือ ขอเพิกถอนความย่นย่อม


(3) พยานฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือระเบียบหรือเงื่อนไขที่คณะกรรมการป.ป.ช.กำหนดโดยไม่มีเหตุอันสมควร


(4) พฤติการณ์แห่งความไม่ปลอดภัยของพยานเปลี่ยนแปลงไป และกรณีไม่มีความจำเป็น จะต้องให้ความคุ้มครองอีกต่อไป


(5) พยานไม่มาพบพนักงานเจ้าหน้าที่หรือไม่มาให้ถ้อยคำเป็นพยานโดยไม่มีเหตุสมควร หรือไม่ไปเบิกความหรือไปเบิกความแต่ไม่เป็นไปตามที่ให้การหรือให้ถ้อยคำไว้ หรือไปเบิกความเป็นพยานแต่ไม่เป็นประโยชน์ในการพิจารณาหรือเปืนปฏิปักษ์


(6) เมื่อสำนักงานได้รับแจ้งจากหน่วยงานอื่นที่คณะกรรมการป.ป.ช. สั่งให้ดำเนินการคุ้มครอง ช่วยเหลือพยานว่า การคุ้มครองช่วยเหลือพยานสิ้นสุดลง


(7)เมื่อมีกรณีอื่นใดที่คณะกรรมการป.ป.ช. เห็นสมควรให้การคุ้มครองช่วยเหลือพยานสิ้นสุดลง



เปิดหลักการ คุ้มครองช่วยเหลือพยาน โดยสำนักงาน ป.ป.ช.

 




ข่าวแนะนำ