กินเจ 2565 เริ่มวันไหน? "เมนูอาหาร" ควรเลือกกินอย่างไรและอะไรควรเลี่ยงห้ามกิน!
กินเจ 2565 หรือ เทศกาลกินเจ 2565 เริ่มวันไหน เมนูอาหารควรเลือกกินอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ-และอะไรควรเลี่ยงห้ามกิน!
กินเจ 2565 หรือ เทศกาลกินเจ 2565 ถือศีลกินเจประจำปี 2565 ในปีนี้ตรงกับวันที่ 26 กันยายน - 4 ตุลาคม 2565
สำหรับเทศกาลกินเจ 2565 เป็นช่วงเวลาของคนไทยเชื้อสายจีน ที่จะถือศีล ภาวนา และทำบุญด้วยการรักษาศีล 8 รวมถึงการงดกินเนื้อสัตว์ กระดูก ไขมันจากสัตว์ รวมถึงเครื่องปรุงที่ทำจากสัตว์
เทศกาลกินเจ 2565 หรือ กินเจ 2565
บางแห่งเรียกว่า ประเพณีถือศีลกินผัก เป็นประเพณีแบบลัทธิเต๋ารวม 9 วัน กำหนดเอาวันตามจันทรคติ คือ เริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนของทุกปี มีจุดเริ่มต้นโดยชาวเปอรานากันในประเทศมาเลเซียและภาคใต้ของประเทศไทย (ไม่ใช่ของชาวจีนโพ้นทะเลทั้งหมด) โดยมีตำนานเล่าขานกันหลายตำนาน
ปัจจุบัน เทศกาลกินเจจัดขึ้นในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ตลอดจนหมู่เกาะเรียวในอินโดนีเซียและอาจมีในบางประเทศเอเชียซึ่งการกินเจในเดือน 9 นี้ เชื่อกันว่าน่าจะเกิดขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 2170 ตรงกับสมัยอาณาจักรอยุธยา
ภาพจาก TNN ONLINE
จุดประสงค์ของการกินเจ
1. กินเพื่อสุขภาพ อาหารเจเป็นอาหารประเภทชีวจิต เมื่อกินติดต่อกันไปช่วงเวลาหนึ่งจะทำให้ร่างกายเกิดการปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล สามารถขับพิษของเสียต่างๆ ออกจากร่างกายได้ ปรับระบบไหลเวียนโลหิต ระบบทางเดินอาหารให้มีเสถียรภาพ
2. กินด้วยจิตเมตตา เนื่องจากอาหารที่เรากินอยู่ในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วยเลือดเนื้อของสรรพสัตว์ ผู้มีจิตเมตตา มีคุณธรรมและมีจิตสำนึกอันดีงามย่อมไม่อาจกินเลือดเนื้อของสัตว์เหล่านั้นซึ่งมีเลือดเนื้อ จิตใจและที่สำคัญมีความรักตัวกลัวตายเช่นเดียวกับคนเรา
3. กินเพื่อเว้นกรรม ผู้ที่เข้าใจอย่างลึกซึ้งย่อมตระหนักว่าการกินซึ่งอาศัยการฆ่าเพื่อเอาเลือดเนื้อผู้อื่นมาเป็นของเราเป็นการสร้างกรรม แม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้ลงมือฆ่าเองก็ตาม การซื้อจากผู้อื่นก็เหมือนกับการจ้างฆ่าเพราะถ้าไม่มีคนกินก็ไม่มีคนฆ่ามาขาย
ภาพจาก TNN ONLINE
การปฏิบัติตนในช่วงกินเจ 2565
ช่วงเทศกาลกินเจ 9 วัน 9 คืน ผู้ที่ต้องการกินเจอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามประเพณีการกินเจ จะต้องปฏิบัติดังนี้
1. รับประทาน "อาหารเจ"
2. งดอาหารรสจัด ซึ่งหมายถึงอาหารเผ็ด หวานมาก เปรี้ยวมาก เค็มมาก งดผักที่มีกลิ่นฉุนทั้งหลาย แยกภาชนะสำหรับอาหารเจเท่านั้น
3. รักษาศีลห้า
4. รักษาจิตใจให้บริสุทธิ์ รักษาอารมณ์ ไม่พูดคำหยาบคาย รวมถึงงดการมีเพศสัมพันธ์
5. ทำบุญทำทาน ไหว้พระ สวดมนต์
6. นุ่งขาวห่มขาวตลอดเทศกาลกินเจ และควรแต่งกายชุดขาวเข้าร่วมพิธีกรรมต่างๆในแต่ละศาลเจ้า
สำหรับผู้ที่เคร่งครัดเพื่อการกินเจให้เป็นไปอย่างบริสุทธิ์โดยแท้ จะเพิ่มการปฏิบัติโดยการกินอาหารเฉพาะที่คนกินเจด้วยกันเป็นผู้ปรุงเท่านั้น รวมถึงจะล้างหม้อไหจนสะอาดเอี่ยมแยกภาชนะสำหรับการปรุงอาหารเจไว้โดยเฉพาะ
นอกจากนี้ ยังจุดตะเกียงไว้ 9 ดวงตลอดช่วงเทศกาลกินเจ 9 วัน โดยไม่ปล่อยให้ดับเพื่อเป็นพุทธบูชาและรำลึกถึงบุญคุณของพ่อแม่ญาติพี่น้องตลอดจนผู้ที่มีบุญคุณต่อผืนแผ่นดินเกิด
ภาพจาก TNN ONLINE
กินเจ ควรเลือกกินอาหารเจแบบไหน
ข้อมูลจากกรมอนามัย ระบุว่า ผู้บริโภคหลายคนเลือกกินอาหารหลากหลายประเภทและไม่เลือกกินอาหารบางประเภทที่ปรุงด้วยผักมีกลิ่นฉุนเผ็ดร้อน 5 ชนิด ได้แก่
1) กระเทียม
2) หัวหอม รวมไปถึง ต้นหอม ใบหอม หอมแดง หอมขาว หอมหัวใหญ่
3) หลักเกียว คือกระเทียมโทนจีน
4) กุ้ยช่าย
5) ใบยาสูบ
ผู้กินเจสามารถเลือกกินผัก ผลไม้ อื่น ๆ เพื่อสร้างภูมิต้านทานแทนได้ เช่น กล้วยน้ำว้าสุก ธัญพืช มันเทศ ข้าวโพดหวาน หรือสมุนไพรที่ช่วยลดอาการอาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย เช่น ขิง ขมิ้นชัน มะระขี้นก และควรเพิ่มการกินผักและผลไม้หลากหลายสีเข้าไปด้วย เช่น พริกหวาน ผักโขม ปวยเล้ง มะระขี้นก ผักหวาน ขี้เหล็ก มะเขือเปราะ มะนาว ฝรั่ง มะละกอ ส้มโอ ส้มเขียวหวาน เพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินต่าง ๆ และเส้นใยอาหาร ซึ่งช่วยให้ร่างกายทำงานเป็นปกติและเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค
ภาพจาก TNN ONLINE
กินเจ อย่างไรให้ที่ถูกหลักโภชนาการ
การกินเจที่ถูกหลักโภชนาการ ผู้บริโภคควรเลือกซื้อหรือปรุงอาหารเมนูประเภทยำ ต้ม นึ่ง ลดอาหารประเภทผัด ทอด และกินอาหารที่มีรสชาติปานกลาง ไม่หวาน มัน เค็มจัด เพราะส่วนใหญ่อาหารเจ มักออกไปทางมัน
เลือกกินอาหารเจประเภท ต้ม แกง ย่าง ยำ น้ำพริก กินข้าวแป้งแต่พอดี เลี่ยงอาหารแปรรูป ซึ่งอาหารเจส่วนใหญ่จะมีแป้งแฝง เช่น การใช้แป้งหมี่กึงมาทำเลียนแบบเนื้อสัตว์ ซึ่งทำให้คาร์โบไฮเดรตเกิน
ในช่วงกินเจอาจทำให้รู้สึกหิวบ่อย ให้เลือกผลิตภัณฑ์นมจากพืชเสริม โดยเลือกชนิดไม่หวานจัด มีปริมาณโปรตีนและแคลเซียมเหมาะสม
งดเครื่องดื่มที่มีรสหวาน น้ำอัดลม หรืออาหารที่มีน้ำตาลสูง ไม่ควรเลือกกินเมนูอาหารชนิดเดิมซ้ำทุกวัน จะทำให้เกิดการสะสมสารพิษ และเกิดโรคได้ อีกทั้งควรใส่ใจเรื่องความสะอาดปลอดภัยวัตถุดิบที่นำมาปรุงประกอบอาหาร
โดยเฉพาะจากพืชผักควรล้างให้สะอาดหรือเลือกใช้ผักปลอดสารพิษที่มีการรับรองโดยหน่วยงานภาครัฐจากแหล่งผลิตในการปรุงประกอบ อาหารเจแทนการใช้ผักที่มีความเสี่ยงปนเปื้อนสารพิษจะปลอดภัยกว่า
สิ่งสำคัญหากในช่วงกินเจดื่มน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ใยอาหารเกาะตัวในร่างกายมาก อาจทำให้เกิดอาการท้องผูก เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร ไม่สบายท้อง ได้ จึงควรดื่มน้ำให้ได้ 6-8 แก้วต่อวัน
ภาพจาก TNN ONLINE
ข้อมูลอ้างอิง กรมอนามัย / wikipedia
ภาพจาก TNN ONLINE