TNN Facebook เจอศึกหนัก! พบ Fake News เรื่องโลกร้อนแพร่ทั่วแพลตฟอร์ม

TNN

Tech

Facebook เจอศึกหนัก! พบ Fake News เรื่องโลกร้อนแพร่ทั่วแพลตฟอร์ม

Facebook เจอศึกหนัก! พบ Fake News เรื่องโลกร้อนแพร่ทั่วแพลตฟอร์ม

จากผลการวิเคราะห์ครั้งใหม่ชี้ให้เห็นว่า Facebook ต้องเจอกับโพสต์เรื่องข้อมูลสภาพอากาศแบบผิด ๆ ที่ได้รับยอดวิวมากถึง 1.36 ล้านครั้งในทุกวัน

Facebook ดูท่าจะต้องเจอกับศึกหนักเรื่องการเผยแพร่ข่าวปลอมอีกแล้ว หลังจากครั้งก่อนที่ต้องไล่ตามล้างแหล่งกระจายข่าวข้อมูลผิด ๆ เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ไป ผลการสำรวจครั้งใหม่พบว่า Facebook กำลังเจอกับปัญหาการกระจายข้อมูลผิด ๆ เกี่ยวกับสภาพอากาศและโลกร้อน และจำนวนครั้งคนเข้ามาดูข้อมูลผิด ๆ นี้ก็กำลังเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจอีกด้วย


Facebook เจอศึกหนัก! พบ Fake News เรื่องโลกร้อนแพร่ทั่วแพลตฟอร์ม ภาพจาก about.fb

 


สำนักข่าว The Guardian นำเสนอข้อมูลจากรายงานของ Real Facebook Oversight Board ซึ่งเป็นองค์กรตรวจสอบอิสระ และ Stop Funding Heat องค์กรไม่แสวงหากำไรด้านสิ่งแวดล้อม โดยทั้งสององค์กรได้วิเคราะห์ชุดข้อมูลของเพจและกลุ่มใน Facebook มากกว่า 195 เพจ พบว่ามีโพสต์ประมาณ 45,000 โพสต์ที่ให้ข้อมูลผิด ๆ หรือออกมาปฏิเสธ ไม่เชื่อว่าวิกฤตทางสภาพภูมิอากาศกำลังเกิดขึ้นจริง และข้อมูลเหล่านี้ก็มียอดรับชมรวมกันมากถึง 1.36 ล้านครั้งแล้วด้วย


ข้อมูลครั้งนี้ถูกเปิดเผยออกมาในจังหวะเดียวกันกับที่มีการประชุมสุดยอดด้านสภาพอากาศของ Cop26 โดยพวกเขาหวังว่าการเปิดเผยข้อมูลครั้งนี้จะช่วยให้รัฐบาลพิจารณาเกี่ยวกับปัญหาการกระจายและควบคุมข้อมูลที่ผิดเกี่ยวกับสภาพอากาศบนโซเชียลมีเดียอย่างจริงจัง


นอกจากนี้ทีมวิจัยยังเปิดเผยในรายงานอีกด้วยว่า ข้อมูลผิด ๆ เหล่านี้ นับวันก็ยิ่งมีคนเข้าไปโต้ตอบมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเพิ่มขึ้นถึง 76.7% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งถ้ายังคงเพิ่มขึ้นในอัตรานี้ก็นับว่าจะยิ่งยากต่อการรณรงค์และการส่งเสริมให้คนหันมาสนใจเรื่องโลกร้อนอย่างแน่นอน


Facebook เจอศึกหนัก! พบ Fake News เรื่องโลกร้อนแพร่ทั่วแพลตฟอร์ม ภาพจาก about.fb

 


ส่วนทาง Facebook เองก่อนหน้านี้ก็ได้ออกมาเคลื่อนไหวแก้ปัญหานี้แล้วเช่นกัน โดยระบุว่าจะแนะนำข้อมูลสภาพภูมิอากาศที่ถูกต้องบนแพลตฟอร์มให้ชัดขึ้น และแนะนำผู้ใช้งานให้เข้าไปดูข้อมูลที่ "Climate Science Center " หรือศูนย์วิทยาศาสตร์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่า โดยจะเปิดให้บริการในกว่า 100 ประเทศในเร็วๆ นี้


นอกจากนี้ Facebook นับสถิติเข้าเยี่ยมชมศูนย์วิทยาศาสตร์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศพบว่ามีผู้ใช้งานเข้าชมข้อมูลกว่า 100,000 ครั้งต่อวันทั่วโลก แต่อย่างไรก็ตามนับว่าเทียบกันแทบจะไม่ได้เลยกับจำนวนผู้ใช้งานที่เข้าชมข้อมูลฝั่งที่ผิดที่พุ่งไปเป็นหลักล้านแล้ว


Facebook ถูกวิพากษ์วิจารณ์มานานแล้วเรื่องการแพร่กระจายข้อมูลสภาพอากาศผิด ๆ บนแพลตฟอร์ม โดยในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เคยมีกรณีที่ Avaaz องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรออกมารายงานเกี่ยวกับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ด้านวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศและพลังงานหมุนเวียนโดยองค์กรพบว่ามียอดรับชมข้อมูลผิด ๆ นี้ไปแล้วถึง 25 ล้านครั้งภายในเวลาเพียง 60 วันเท่านั้น ดังนั้นถ้า Facebook ยังคงจัดการปัญหากระจายข้อมูลข่าวสารผิด ๆ ไม่ได้ แม้จะเปลี่ยนชื่อบริษัทใหญ่เป็น Meta ปัญหานี้ก็จะยังคงสร้างความเดือดร้อนให้อีกแน่นอน



ขอบคุณข้อมูลจาก

theguardian

edition.cnn

ขอบคุณภาพจาก

about.fb

ข่าวแนะนำ