TNN แขนหุ่นยนต์ช่วยนักบินอวกาศที่หกล้มบนดวงจันทร์ลุกขึ้นยืนได้โดยใช้แรงน้อยลง

TNN

Tech

แขนหุ่นยนต์ช่วยนักบินอวกาศที่หกล้มบนดวงจันทร์ลุกขึ้นยืนได้โดยใช้แรงน้อยลง

แขนหุ่นยนต์ช่วยนักบินอวกาศที่หกล้มบนดวงจันทร์ลุกขึ้นยืนได้โดยใช้แรงน้อยลง

แขนหุ่นยนต์ช่วยนักบินอวกาศที่หกล้มบนดวงจันทร์ลุกขึ้นยืนได้โดยใช้แรงน้อยลง การใช้ออกซิเจนและพลังงานอันมีค่าในการทำภารกิจบนดวงจันทร์

ทีมนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือ MIT พัฒนาแขนหุ่นยนต์รูปแบบใหม่ซูเปอร์ลิมบ์ (SuperLimbs) ที่อาจช่วยให้นักบินอวกาศของนาซา หากเกิดหกล้มบนดวงจันทร์ก็สามารถลุกขึ้นยืนได้โดยใช้แรงน้อยลง ซึ่งการล้มบ่อย ๆ บนดวงจันทร์อาจส่งผลต่อข้อผิดพลาดในการทำภารกิจได้ นอกจากนี้ยังกระทบต่อการใช้ออกซิเจน และพลังงานอันมีค่าในการทำภารกิจบนดวงจันทร์ 


การออกแบบแขนหุ่นยนต์ซูเปอร์ลิมบ์ (SuperLimbs)ใช้การเชื่อมต่อแขนหุ่นยนต์ 2 แขน เข้ากับบริเวณด้านหลังของชุดนักบินอวกาศ โดยมันจะทำหน้าที่ประคองตัวนักบินอวกาศกรณีที่หกล้มบนพื้นผิวดวงจันทร์แบบอัตโนมัติ การพัฒนาแขนหุ่นยนต์เริ่มต้นจากการศึกษาการล้มของมนุษย์และความพยายามลุกขึ้นยืน โดยทีมวิจัยพบว่ามนุษย์กว่า 80% มักมีลักษณะท่าการลุกขึ้นยืนคล้ายกัน ข้อมูลดังกล่าวมีความสำคัญต่อการพัฒนาแขนหุ่นยนต์เป็นอย่างมาก


แฮร์รี อาซาดา ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมเครื่องกลของ MIT แสดงความเห็นเกี่ยวกับแนวคิดแขนหุ่นยนต์ดังกล่าวว่า จุดเริ่มต้นมาจากการมองเห็นนักบินอวกาศล้ม แม้ว่านักบินอวกาศที่มีรูปร่างแข็งแรงแต่จะต้องต่อสู้กับแรงโน้มถ่วงที่เหลือเพียง 1 ใน 6 บนพื้นดวงจันทร์ ประกอบกับพื้นผิวดวงจันทร์ที่เป็นฝุ่นผง และชุดอวกาศที่มีขนาดใหญ่ทำให้ง่ายต่อการหกล้มเป็นอย่างมาก



แนวคิดการใช้แขนหุ่นยนต์ช่วยประคองตัวมนุษย์ไม่ใช่เรื่องใหม่ ก่อนหน้านี้มีการพัฒนาแขนหุ่นยนต์ในลักษณะใกล้เคียงกับซูเปอร์ลิมบ์ (SuperLimbs) มาแล้วนานกว่า 10 ปี เช่น แขนหุ่นยนต์ช่วยในการก่อสร้าง การซ่อมบำรุงพื้นที่อันตรายและยากต่อการเข้าถึง แขนหุ่นยนต์เพื่อช่วยยกสินค้าในโกดัง เป็นต้น ทีมงานวิจัยได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากองค์การนาซาเพื่อพัฒนาแขนหุ่นยนต์ซูเปอร์ลิมบ์ (SuperLimbs) เวอร์ชันล่าสุด ซึ่งจะมีการเพิ่มข้อต่อหลายชิ้นเพื่อช่วยให้นักบินอวกาศลุกขึ้นจากการหกล้มได้ง่ายมากขึ้น 


แขนหุ่นยนต์ช่วยนักบินอวกาศที่หกล้มบนดวงจันทร์ลุกขึ้นยืนได้โดยใช้แรงน้อยลง


ปัญหาการหกล้มบนดวงจันทร์ของนักบินอวกาศเคยเกิดขึ้นกับนักบินอวกาศในโครงการอะพอลโลของนาซา เมื่อหลายสิบปีก่อน โดยการล้ม 80% เกิดขึ้นขณะที่นักบินอวกาศในโครงการอะพอลโลทำกิจกรรมขุดค้นทางธรณีวิทยา หรือการก่อสร้างประกอบชิ้นส่วนบนพื้นผิวดวงจันทร์ ซึ่งหากมองจากภารกิจส่วนใหญ่ของโครงการอาร์เทมิส การส่งมนุษย์อวกาศกลับไปดวงจันร์ในปี 2026 ที่คาดว่าภารกิจส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างสถานีสำรวจระยะยาวบนพื้นผิวดวงจันทร์ ทำให้การวิจัยพัฒนาแขนหุ่นยนต์ช่วยนักบินอวกาศที่ล้มบนดวงจันทร์ลุกขึ้นยืนได้โดยใช้แรงน้อยลงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์เป็นอย่างมาก 



ที่มาของข้อมูล Newatlas, Interestingengineering 

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง