จะใส่เดี่ยวใส่หมู่ ได้หมด ! "หุ่นยนต์หอยทาก" แยกร่างทำงานได้
ฝูงหุ่นยนต์หอยทากเคลื่อนที่ได้ทั้งแยก ทำงานได้ทั้งแบบทีมและแบบเดี่ยว หวังต่อยอดใช้ทำภารกิจค้นหาผู้รอดชีวิตในภัยพิบัติ หรือสำรวจพื้นที่สภาพแวดล้อมอันตราย
ทีมนักวิจัยในมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮ่องกงพัฒนาหุ่นยนต์หอยทาก (Snail Robot) เลียนแบบหอยทากหยกขาวในธรรมชาติ ซึ่งใช้เหมือกเหนียว ๆ ช่วยในการยึดเกาะและเคลื่อนที่ผ่านพื้นที่รูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หุ่นยนต์หอยทาก (Snail Robot) ถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายเปลือกหอยทาก ติดตั้งระบบขับเคลื่อนแบบสายพานเอาไว้ด้านล่างทำให้เคลื่อนที่และยึดเกาะติดไปกับพื้นผิวได้อย่างยอดเยี่ยม โดยสายพานมีคุณสมบัติพิเศษที่สร้างแรงดูดสุญญากาศกับพื้นมากขึ้น ในกรณีที่ปฏิบัติภารกิจที่ต้องการแรงยึดเกาะสูง
โครงสร้างหุ่นยนต์มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร ภายนอกมีเปลือกเหล็กเฟอร์โรแมกเนติก หรือ แม่เหล็กทรงกลม ภายในประกอบด้วยแบตเตอรี่และหน่วยประมวลผลไมโครโปรเซสเซอร์ รวมไปถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ การควบคุมเชื่อมต่อทำได้ผ่านแอบพลิเคชันจากระยะไกลโดยเจ้าที่หน้าที่มนุษย์
จุดเด่นของหุ่นยนต์หอยทาก (Snail Robot) อยู่ที่หุ่นยนต์แต่ละตัวสามารถเคลื่อนที่ได้อิสระแยกออกจากกัน แต่ก็สามารถรวมตัวกันเป็นทีมได้สูงสุด 3-4 ตัว เพื่อสร้างโครงสร้างที่แข็งแกร่ง หมุนตัวปรับตำแหน่ง เช่น สะพานหรือยกตัวเองให้สูงขึ้น ความสามารถดังกล่าวทำให้หุ่นยนต์สามารถเคลื่อนที่ได้ในทุกสภาพพื้นผิว แม้จะมีช่องว่างหรือพื้นต่างระดับกัน โดยหุ่นยนต์ไม่เสียแรงดูดกับพื้นผิว
ทีมงานวิจัยเปิดเผยคลิปวิดีโอการทดสอบหุ่นยนต์ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งภายในตัวอาคารและพื้นที่กลางแจ้ง เช่น การปีนขึ้นพื้นที่ก้อนหินต่างระดับ และการรวมร่างกลายเป็นแขนหุ่นยนต์ หากหุ่นยนต์หอยทากได้รับการพัฒนาต่อยอดอาจสามารถใช้ทำภารกิจค้นหาผู้รอดชีวิตในสถานที่ภัยพิบัติ หรือสำรวจพื้นที่สภาพแวดล้อมอันตรายหากส่งเจ้าหน้าที่มนุษย์เข้าไปทำภารกิจ
งานวิจัยพัฒนาหุ่นยนต์หอยทาก (Snail Robot) ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications เมื่อวันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา
ที่มาของข้อมูล Newatlas
ข่าวแนะนำ