TNN นาซา ปั๊มหัวใจยานวอยเอเจอร์ 1 พบ ! สัญญาณตอบสนองอีกครั้ง จากระยะห่าง 24,000 ล้าน กม.

TNN

Tech

นาซา ปั๊มหัวใจยานวอยเอเจอร์ 1 พบ ! สัญญาณตอบสนองอีกครั้ง จากระยะห่าง 24,000 ล้าน กม.

นาซา ปั๊มหัวใจยานวอยเอเจอร์ 1 พบ ! สัญญาณตอบสนองอีกครั้ง จากระยะห่าง 24,000 ล้าน กม.

สัญญาณชีพจากยานวอยเอเจอร์-1 นาซามีความหวังเชื่อมต่อการสื่อสารระยะทาง 24,000 ล้านกิโลเมตร ระหว่างโลกและยานวอยเอเจอร์-1

ปัจจุบันแม้ว่ายานวอยเอเจอร์ 1 ยังคงส่งสัญญาณวิทยุกลับมายังศูนย์ควบคุมภารกิจบนพื้นโลก แต่สัญญาณที่ตรวจสอบได้ไม่สามารถนำมาปะติดปะต่อเป็นข้อมูล นับตั้งแต่การรับสัญญาเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2023 ซึ่งระบบส่งสัญญาณภายในตัวยานเริ่มตัดขัดและส่งข้อมูลซ้ำ ๆ กลับมายังโลก สัญญาณมีลักษณะเป็นรหัสไบนารี่ หรือชุดเลขฐานสอง เลขหนึ่งและศูนย์ ซึ่งยากต่อการทำความเข้าใจ


อย่างไรก็ตาม วันที่ 1 มีนาคม เริ่มมีความหวังใหม่เกิดขึ้น หลังจากทีมงานภารกิจบนโลกได้พยายามส่งสัญญาณเพื่อรีสตาร์ตระบบคอมพิวเตอร์และตรวจสอบข้อมูลหาสาเหตุของปัญหาด้านการสื่อสาร โดยการเรียกเปิดระบบต่าง ๆ ตามลำดับ 


ต่อมาในวันที่ 3 มีนาคม ทีมงานภารกิจบนโลกได้รับสัญญาณตอบกลับมาจากยานวอยเอเจอร์ 1 แม้จะเป็นสัญญาณที่ไม่อยู่ในรูปแบบที่คุ้นเคย แต่ทีมงานวิศวกรบนโลกสามารถทำความเข้าใจสัญญาณดังกล่าวได้ โดยในวันที่ 7 มีนาคม ทีมงานภารกิจบนโลกได้ใช้การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสัญญาณที่ถูกส่งไปจากโลกเพื่อกระตุ้นหน่วยความจำที่เรียกว่า FDS และข้อมูลปกติของยานโวเอเจอร์-1 เพื่อตรวจสอบปัญหาด้านระบบการสื่อสารและมองหาแนวทางแก้ไขในลำดับต่อไป


ปัญหาด้านระบบการสื่อสารบนยานวอยเอเจอร์ 1 เคยเกิดขึ้นมาแล้วในช่วงปี 1981 อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบว่าข้อผิดพลาดดังกล่าวส่งผลกระทบต่อระบบการสื่อสารที่เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2023 หรือไม่ โดยการสื่อสารระหว่างโลกและยานอวกาศทั้งสองไม่ใช่เรื่องง่ายต้องใช้ระยะเวลาในการเดินทางของสัญญาณข้อมูลนานกว่า 22.5 ชั่วโมงต่อชุดคำสั่ง

 

สำหรับยานวอยเอเจอร์ 1 มียานฝาแฝดชื่อว่า วอยเอเจอร์ 2 ถูกเปิดตัวในปี 1977 โดยปัจจุบันยานวอยเอเจอร์ 1 อยู่ห่างจากโลก 24,000 ล้านกิโลเมตร ส่วนยานวอยเอเจอร์ 2 อยู่ห่างจากโลก 20,300 ล้านกิโลเมตร และกำลังเดินทางออกจากระบบสุริยะไปเรื่อย ๆ ทำให้ยานอวกาศทั้ง 2 ลำ เป็นสิ่งประดิษฐ์เดียวของมนุษย์ที่เคยเดินทางเข้าไปอยู่ในบริเวณพื้นที่ว่างระหว่างดวงดาว และบริเวณเอลิโอสเฟียร์หรือพื้นที่เขตเขตของสนามแม่เหล็กจากดวงอาทิตย์ ลักษณะคล้ายฟองอากาศขนาดใหญ่ที่ห่อหุ้มระบบสุริยะ

 

ในช่วงเริ่มต้นภารกิจยานวอยเอเจอร์ 1 และยานวอยเอเจอร์ 2 ถูกออกแบบให้ใช้ทำภารกิจได้เพียง 5 ปี เท่านั้น อย่างไรก็ตามนับเป็นเวลากว่า 46 ปี ที่ยานโวเอเจอร์ทั้ง 2 ลำ ได้ขึ้นไปสู่อวกาศและบรรลุภารกิจหลายประการทั้งการสำรวจดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน เมื่อหลายสิบปีก่อน โดยการส่งภาพถ่ายดาวเคราะห์ดวงอื่นในระยะใกล้และข้อมูลต่าง ๆ กลับมายังโลกเป็นจำนวนมาก


ที่มาของข้อมูล edition.cnn.com, space.com

 

ข่าวฮิตติดแท็ก

ข่าวแนะนำ