TNN วิ่ง กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ เหลือ ๆ ! แบต EV ใหม่จากเกาหลีใต้ ชาร์จครั้งเดียว วิ่งไกล 1,000 กิโลเมตร

TNN

Tech

วิ่ง กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ เหลือ ๆ ! แบต EV ใหม่จากเกาหลีใต้ ชาร์จครั้งเดียว วิ่งไกล 1,000 กิโลเมตร

วิ่ง กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ เหลือ ๆ ! แบต EV ใหม่จากเกาหลีใต้ ชาร์จครั้งเดียว วิ่งไกล 1,000 กิโลเมตร

ทีมนักวิจัยเกาหลีใต้ สามารถเพิ่มความหนาแน่นของพลังงานของแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนโดยใช้วัสดุที่ทำจากซิลิคอน ซึ่งทำให้รถวิ่งได้ 1,000 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง

หนึ่งในประเด็นที่ต้องพิจารณารถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) ในปัจจุบัน ก็คือระยะทางที่สามารถวิ่งได้ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง ข้อมูลจากสื่อเดอะวอลล์สตรีตเจอร์นัล (The Wall Street Journal) ชี้ว่ารถยนต์ EV ส่วนใหญ่วิ่งได้ไกลประมาณ 320 - 480 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง แต่ล่าสุด ทีมนักวิจัยจากภาควิชาเคมีที่มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโปฮัง (POSTECH) ในเกาหลีใต้ อาจจะทำได้มากกว่าค่าเฉลี่ยดังกล่าว ด้วยการเพิ่มความหนาแน่นของพลังงานของแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนโดยอนุภาคซิลิคอนในระดับไมโครเมตร และอิเล็กโทรไลต์เจลโพลีเมอร์ พร้อมกับอ้างว่าทำให้รถวิ่งได้ 1,000 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง ถ้าจะให้เห็นภาพที่ชัดเจน ก็คือ สามารถขับจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ที่มีระยะทางประมาณ 750 กิโลเมตรได้เลย แถมยังเหลือแบตเตอรี่เผื่อเร่งความเร็วได้อีกต่างหาก 


ทั้งนี้ซิลิคอนมักถูกนำมาทำเป็นขั้วแอโนด (ขั้วลบ) ของแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนสำหรับรถ EV เพราะสามารถกักเก็บพลังงานได้เยอะ แต่การนำไปใช้จริงก็ยังเกิดปัญหาอยู่บ้าง คือเมื่อมีการชาร์จ ซิลิคอนจะขยายตัวขึ้นประมาณ 3 เท่า เมื่อใช้แบตเตอรี่ ซึ่งมีการคายประจุ อนุภาคก็จะหดตัวกลับมามีขนาดเท่าเดิม การขยายหรือหดตัวนี้ส่งผลต่อความสมบูรณ์ของโครงสร้างและประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ 


เพื่อที่จะแก้ไขปัญหานี้ นักวิจัยทั่วโลกก็มีการผลิตอนุภาคซิลิคอนขนาดเล็กจิ๋วระดับนาโนออกมา ซึ่งก็ถือว่าช่วยแก้ไขปัญหาได้ แต่วิธีการผลิตก็ซับซ้อนและค่าใช้จ่ายสูง นักวิจัยจึงได้ปรับเปลี่ยนอีกวิธีคือการสร้างอนุภาคซิลิคอนระดับไมโคร ซึ่งใช้ต้นทุนน้อยลง แต่ก็ยังมีปัญหาคือระหว่างการใช้งานอนุภาคซิลิคอนจะขยายตัวรุนแรงมากขึ้น วิ่ง กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ เหลือ ๆ ! แบต EV ใหม่จากเกาหลีใต้ ชาร์จครั้งเดียว วิ่งไกล 1,000 กิโลเมตร

วิ่ง กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ เหลือ ๆ ! แบต EV ใหม่จากเกาหลีใต้ ชาร์จครั้งเดียว วิ่งไกล 1,000 กิโลเมตร

เพื่อแก้ปัญหาอนุภาคซิลิคอนระดับไมโครขยายตัวรุนแรง ทีมวิจัยของ POSTECH นำโดยศาสตราจารย์ซูจิน ปาร์ค (Soojin Park) และนักศึกษาระดับปริญญาเอกมินจุน เจ (Minjun Je) และดร. ฮเย บิน ซน (Dr. Hye Bin Son) ได้คิดค้นแนวทางใหม่ คือ แทนที่จะใช้วัสดุอิเล็กโทรไลต์เหลวแบบดั้งเดิม แต่เปลี่ยนมาใช้อิเล็กโทรไลต์เจลโพลิเมอร์แทน ซึ่งจะช่วยให้ไอออนเคลื่อนที่ไปมาระหว่างขั้วลบและขั้วบวกได้เสถียรมากขึ้น จากนั้นได้ใช้ลำแสงอิเล็กตรอน (Electron Beam) ทำให้อนุภาคไมโครซิลิคอนและเจลอิเล็กโทรไลต์เกิดพันธะทางเคมี เพื่อให้มันกระจายความเครียดภายในที่เกิดขึ้นเมื่อมีการขยายปริมาตร ส่งผลให้โครงสร้างมีเสถียรภาพมากขึ้น มีความหนาแน่นของพลังงานเพิ่มขึ้นถึง 40%


ถึงแม้ว่าจะยังอยู่ในขั้นตอนของการวิจัย แต่นี่นับเป็นความหวังครั้งใหม่ในเทคโนโลยีแบตเตอรี่ และเป็นการวางรากฐานสำหรับรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นต่อไปที่จะสามารถวิ่งได้ไกลขึ้นและประสิทธิภาพที่ดีขึ้น


ที่มาข้อมูล InterestingEngineering, POSTECH, WSJ

ที่มารูปภาพ Freepik, POSTECH

ข่าวแนะนำ