อากาศสะอาดด้วย “เชื้อรา” พบเก็บคาร์บอนกว่า 1 ใน 3 ของโลก หลังถูกมองข้ามมาแสนนาน
นักวิจัยอังกฤษพบว่า “เชื้อรา” ได้เก็บคาร์บอนที่ทั้งโลกปล่อยในอากาศแต่ละปีจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเอาไว้ถึงร้อยละ 36 ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญสู่การแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ถูกเพิกเฉยมาก่อนหน้านี้
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ (Sheffield University) จากอังกฤษเผยแพร่งานวิจัยที่ระบุว่ามีเชื้อราที่สามารถกักเก็บสารกลุ่มคาร์บอนที่มนุษย์ปล่อยออกมาในอากาศแต่ละปีจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลได้ถึงร้อยละ 36 และหนทางในการช่วยโลกนี้คือการปกป้องพื้นดินอันเป็นที่อยู่อาศัยของเชื้อราดังกล่าว
เชื้อรา - เบื้องหลังผู้พิทักษ์แผ่นดินและอากาศ
เชื้อราดังกล่าวมีชื่อว่าไมคอร์ไรซา (Mycorrhiza) เป็นเชื้อราที่พบได้ทั่วไปในดินของทุกทวีปบนโลก เชื้อราชนิดนี้มีความสัมพันธ์แบบเอื้ออาศัยกับต้นไม้ที่อยู่บนดิน โดยการมีอยู่ของไมคอร์ไรซาไม่ได้เป็นการดึงคาร์บอนในอากาศมาโดยตรง แต่เป็นการดึงน้ำตาลที่ต้นไม้สร้างจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงที่ใช้มลภาวะในอากาศเป็นวัตถุดิบมากักเก็บและแปลงบางส่วนกลับไปเป็นแร่ธาตูที่จำเป็นต่อต้นไม้
จากการสำรวจพื้นที่ตัวอย่างกว่า 91 เอเคอร์ หรือประมาณ 230 ไร่ ในพื้นที่รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา พบกว่ามีโครงข่ายของเชื้อราไมคอร์ไรซาอยู่ และได้กักเก็บคาร์บอนจากมลภาวะทางอากาศเอาไว้ใต้ดินกว่าปีละ 13 กิกะตัน หรือ 1 พันล้านตัน มากกว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของจีนทั้งประเทศในแต่ละปี
เคต ฟีลด์ (Kate Field) หนึ่งในนักวิจัยงานนี้กล่าวว่า “ไมคอร์ไรซาคือจุดบอดที่เรามองข้ามในแผนการจัดการและจัดเก็บคาร์บอนมาโดยตลอด ตัวเลขที่เราค้นพบนั้นทำให้ตกตะลึง และเมื่อเราต้องการจัดการปัญหาโลกร้อน เราควรคิดถึงสิ่งที่เรามีด้วยว่าจะเอามาใช้อย่างไร”
เชื้อราอาจหายไปเพรามนุษย์
อย่างไรก็ตาม การทำการเกษตร และการใช้ประโยชน์บนผิวดินของมนุษยืกำลังทำลายระบบนิเวศในดินอย่างต่อเนื่อง ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเห็นพ้องกับคำเตือนขององค์การสหประชาชาติ (UN) ว่าในปี 2050 พื้นดินกว่าร้อยละ 90 ที่มีบนโลกจะเข้าขายดินที่เสียหาย
ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้สภาพการณ์นั้นเกิดขึ้น การออกมารับผิดชอบสถานการณ์ของรัฐบาลจากประเทศมหาอำนาจทั่วโลกจึงเป็นเรื่องที่ต้องทำโดยเร็วที่สุด ก่อนที่ระบบนิเวศที่มีเชื้อราไมคอร์ไรซาคอยกักเก็บคาร์บอนให้โลกมาโดยตลอดจะหายไปตลอดกาล
ที่มาข้อมูล Yahoo! News, Sheffield University
ที่มารูปภาพ Sheffield University via EurkAlert/Unsplash
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67