สถิติใหม่ ! มนุษย์ 17 คน อยู่ในวงโคจรรอบโลกพร้อมกัน
นักบินอวกาศจำนวน 17 คน กำลังอยู่ในวงโคจรรอบโลกพร้อมกัน ซึ่งกลายเป็นสถิติใหม่ของมนุษยชาติ
นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีมนุษย์มากถึง 17 คน อยู่ในวงโคจรรอบโลกพร้อมกัน ซึ่งกลายเป็นสถิติใหม่ของมนุษยชาติ
สถานีอวกาศเทียนกง (Tiangong Space Station)
โดยนักบินอวกาศ 6 ใน 17 คน เป็นนักบินอวกาศที่อยู่บนสถานีอวกาศเทียนกง (Tiangong Space Station) ขององค์การอวกาศจีน (CNSA) ได้แก่
จิง ไห่เผิง (Jing Haipeng)
จู หยางจู (Zhu Yangzhu)
กุย ไห่เฉา (Gui Haichao)
ซึ่งทั้ง 3 คน เป็นนักบินอวกาศในภารกิจเซินโจว 16 (Shenzhou 16) ที่ถูกส่งขึ้นสู่สถานีอวกาศเทียนกงเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2023 ที่ผ่านมา เพื่อประจำการบนสถานีอวกาศเทียนกงเป็นเวลา 6 เดือน แทนนักบินอวกาศในภารกิจเซินโจว 15 (Shenzhou 15) ที่จะเดินทางกลับสู่โลกภายในเดือนมิถุนายน 2023 ที่จะถึงนี้ ได้แก่
เฟย จุนหลง (Fei Junlong)
เติ้ง ชิงหมิง (Deng Qingming)
จาง ลู่ (Zhang Lu)
สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS)
สำหรับนักบินอวกาศ 11 ใน 17 คน เป็นนักบินอวกาศที่อยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ได้แก่
เซอร์เกย์ โปรโคปีเยฟ (Sergey Prokopyev)
ดมิทรี เพเทลิน (Dmitry Petelin)
อันเดรย์ เฟดยาเยฟ (Andrey Fedyaev)
แฟรงค์ รูบิโอ (Frank Rubio)
สตีเฟน โบเวน (Stephen Bowen)
วอร์เรน โฮเบิร์ก (Warren Hoburg)
สุลต่าน อัลเนยาดี (Sultan AlNeyadi)
ซึ่งทั้งหมดเป็นนักบินอวกาศในโครงการเอ็กซ์พอดีชัน 69 (Expedition 69) ของนาซา (NASA) ที่มีจุดประสงค์เพื่อทดสอบการอยู่ในอวกาศระยะยาว
นอกจากนี้บนสถานีอวกาศนานาชาติยังมีนักบินอวกาศเชิงพาณิชย์ที่ถูกส่งขึ้นไปโดยบริษัท เอเซียม สเปซ (Axiom Space) ภายใต้ภารกิจเอเซียม 2 (Axiom 2) ซึ่งมีรายชื่อนักบินอวกาศดังนี้
เพ็กกี้ วิทสัน (Peggy Whitson)
จอห์น ชอฟฟ์เนอร์ (John Shoffner)
อาลี อัลกอรีย์ (Ali AlQarni)
รยานาห์ บาร์นาวี (Rayyanah Barnawi)
โดยปกติแล้วในวงโคจรรอบโลกจะมนุษย์โคจรไปพร้อมกันจำนวนกี่คนก็ได้ แต่ที่สถิติที่ผ่านมา มีมนุษย์อยู่ในวงโคจรรอบโลกสูงสุดอยู่ที่ 14 คน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2021 ส่วนสถิติใหม่ในครั้งนี้คือ 17 คน ถึงแม้จะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ในอนาคตอาจมีจำนวนนักบินอวกาศอยู่ในวงโคจรรอบโลกมากกว่านี้ เพราะวิทยาการของมนุษย์ล้ำขึ้นไปเรื่อย ๆ โอกาสการออกไปสำรวจอวกาศจึงมีมากขึ้น
ข้อมูลจาก space.com
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67