TNN บินไปทุกที่บนโลกใน 1 ชั่วโมง ด้วยเครื่องบินไฮเปอร์โซนิกสตาร์กาเซอร์ (Stargazer)

TNN

Tech

บินไปทุกที่บนโลกใน 1 ชั่วโมง ด้วยเครื่องบินไฮเปอร์โซนิกสตาร์กาเซอร์ (Stargazer)

บินไปทุกที่บนโลกใน 1 ชั่วโมง ด้วยเครื่องบินไฮเปอร์โซนิกสตาร์กาเซอร์ (Stargazer)

เครื่องบินโดยสารไฮเปอร์โซนิกสตาร์กาเซอร์ (Stargazer) เดินทางจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ไปเมืองลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายในเวลา 1 ชั่วโมง

บริษัทวีนัท แอร์โรสเปซ (Venus Aerospace) สตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยีการบิน เมืองฮูสตัน รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา เปิดตัวแนวคิดเครื่องบินโดยสารความเร็วเหนือเสียงไฮเปอร์โซนิกสตาร์กาเซอร์ (Stargazer) เดินทางด้วยความเร็ว 9 มัค ระดับความสูง 170,000 ฟุต หรือ 51 กิโลเมตร เดินทางไปทุกที่บนโลกภายในเวลา 1 ชั่วโมง โดยใช้การบินขึ้นและลงจอดในสนามบิน


เครื่องบินโดยสารความเร็วเหนือเสียงไฮเปอร์โซนิกสตาร์กาเซอร์ (Stargazer) มีความยาวประมาณ 30.5 เมตร วงปีกกว้าง 46 เมตร น้ำหนัก 68.039 ตัน รองรับผู้โดยสารได้ 12 ที่นั่ง


บริษัทสามารถระดมทุนจากนักลงทุนได้ถึง 33 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 1,185 ล้านบาท นอกจากนี้ยังได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกามูลค่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 35 ล้านบาท อย่างไรก็ตามบริษัทยังคงเตรียมระดมทุนเพิ่มเติมอีก 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 718 ล้านบาท เพื่อพัฒนาเครื่องบินความเร็วเหนือเสียงต้นแบบ


ตัวอย่างเส้นทางการบินที่บริษัทนำเสนอ เช่น เครื่องบินโดยสารความเร็วเหนือเสียงไฮเปอร์โซนิกสตาร์กาเซอร์ (Stargazer) สามารถเดินทางจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มาลงจอดในสนามบินเมืองลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายในเวลา 1 ชั่วโมง


ปัจจุบันบริษัทเอกชนหลายแห่งออกมาประกาศแผนการพัฒนาเครื่องบินโดยสารความเร็วเหนือเสียงทั้งแบบซูเปอร์โซนิกความเร็ว 3 มัค และไฮเปอร์โซนิกความเร็ว 5 มัค เช่น ในปี 2020 บริษัทเวอร์จิน กาแล็กติก (Virgin Galactic) ได้ออกมาประกาศแผนการพัฒนาเครื่องบินโดยสารความเร็วเหนือเสียงซูเปอร์โซนิก ในปี 2021 บริษัทบูม ซูเปอร์โซนิก (Boom Supersonic) ได้ออกมาประกาศแผนการสร้างเครื่องบินโดยสารความเร็วเหนือเสียง 1.7 มัค และมีแผนการทดสอบบินในปี 2026 รวมไปถึงเครื่องบินเจ็ทความเร็วเหนือเสียง X-59 ที่พัฒนาโดยนาซา ความเร็วเหนือเสียง 1.5 มัค เป็นต้น


ที่มาของข้อมูล space.com 

ที่มาของรูปภาพ venusaero.com

ข่าวแนะนำ