4 ชาติในยุโรปจับมือผลักดันกังหันลมผลิตไฟฟ้าหวังลดการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียภายในปี 2050
เบลเยียม เดนมาร์ก เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันในการผลิตไฟฟ้าจากกังหังลมนอกชายฝั่งอย่างน้อย 65 กิกะวัตต์ (GW)
ในการประชุมสุดยอดผู้นำแห่งภูมิภาคทะเลเหนือ (North Sea Summit) ที่จัดขึ้นเมื่อ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมา 4 ชาติมหาอำนาจในทวีปได้แก่ เบลเยียม เดนมาร์ก เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ ประกาศจับมือร่วมกันในการเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากกังหังลมนอกชายฝั่ง (Offshore Wind) ให้รวมเป็นครึ่งหนึ่งของความต้องการใช้ไฟฟ้าภายในทวีปยุโรปทั้งหมดภายในปี 2050 การประกาศนี้เป็นผลพวงจากกรณีความขัดแย้งรัสเซีย - ยูเครน
RePowerEU คือ ชื่อแผนแม่บทของคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ที่ต้องการปฏิรูปการผลิตไฟฟ้าโดยรวมของทั้งทวีป เพิ่มการลงทุนทั้งจากรัฐบาลและภาคเอกชนในสหภาพยุโรปเพื่อการผลิตพลังงานสีเขียว โดยตั้งเป้าให้พลังงานไฟฟ้าที่ใช้งานภายในยุโรปนั้นมาจากพลังงานสะอาด 45% ของพลังงานที่ใช้ทั้งหมดภายในปี 2030
ในการประชุมสุดยอดผู้นำจากชาติในเขตทะเลเหนือ (North Sea Summit) 4 ชาติสำคัญอย่าง เบลเยียม เดนมาร์ก เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ ประกาศร่วมกันจะเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากกังหังลมนอกชายฝั่งให้เป็น 65 กิกะวัตต์ (GW) ภายในปี 2030 และดันให้ถึง 150 กิกะวัตต์ (GW) ภายในปี 2050 ซึ่งคาดว่าจะเพียงพอสำหรับครอบครัวในยุโรปกว่า 230 ล้านหลังคาเรือน
เมตเต เฟรเดอริกเซน (Mette Frederiksen) นายกรัฐมนตรีหญิงของเดนมาร์กประกาศว่าเดนมาร์กและอีก 3 ชาติ ที่เหลือจะเริ่มการสร้างฟาร์มกังหังลมนอกชายฝั่ง (Offshore Wind Farm) เพื่อเพิ่มการผลิตพลังงานสะอาดสำหรับการขนส่งและอุตสาหกรรมหนักในภูมิภาค โดยจะใช้งบประมาณทั้งหมด 5 แสนล้านยูโร หรือมากกว่า 18 ล้านล้านบาท หรือเกือบเป็น 6 เท่าของงบประมาณแผ่นดินประจำปีของไทย โดยประมาณ 40% ของงบโครงการจะมาจากการสนับสนุนของภาคเอกชน
การประกาศในครั้งนี้เป็นที่ชัดเจนว่าได้รับอิทธิพลจากการรุกรานยูเครนของรัสเซีย ซึ่งรัสเซียใช้น้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นเครื่องมือต่อรองต่อการคว่ำบาตรของยุโรป ยุโรปจึงต้องการหลุดพ้นจากการพึ่งพารัสเซียเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า คณะกรรมาธิการยุโรปคาดว่าหากโครงการนี้สำเร็จจะช่วยให้สหภาพยุโรปประหยัดเงินงบประมาณในการซื้อน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียมากกว่าปีละ 1 แสนล้านยูโร หรือใกล้เคียงกับงบประมาณทั้งปีของไทย
ที่มาข้อมูล electrek.co
ที่มารูปภาพ Bente Jønsson from Pixabay
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67