TNN คณะวิจัยเผยคนส่วนใหญ่เชื่อใบหน้า Deepfakes มากกว่าใบหน้าจริง

TNN

Tech

คณะวิจัยเผยคนส่วนใหญ่เชื่อใบหน้า Deepfakes มากกว่าใบหน้าจริง

คณะวิจัยเผยคนส่วนใหญ่เชื่อใบหน้า Deepfakes มากกว่าใบหน้าจริง

ปัจจุบันเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ที่เกี่ยวกับใบหน้ามนุษย์ทำให้หลายคนไม่อาจที่จะแยกแยะใบหน้าได้ว่าใบหน้าไหนจริงหรือใบหน้าไหนปลอม

ปัจจุบันเทคโนโลยี Deepfakes เป็นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ที่ถูกนำไปใช้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการสังเคราะห์ข้อความ, เสียง, รูปภาพและวิดีโอ ขณะเดียวกันเทคโนโลยี Deepfakes เริ่มมีการนำไปใช้ในทางที่ผิดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการนำไปใช้เพื่อการโฆษณาชวนเชื่อ, การฉ้อโกงหรือแม้แต่การนำใบหน้าบุคคลที่มีชื่อเสียงไปใช้ในวงการหนังผู้ใหญ่


นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแลงคาสเตอร์ได้กล่าวว่า เทคโนโลยีที่ชื่อ StyleGAN2 นั้น เป็นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่ทำให้ผู้คนไม่อาจที่จะแยกแยะใบหน้าที่ปัญญาประดิษฐ์สร้างขึ้นมาได้ พร้อมกับแนะนำว่า จะต้องสร้างการป้องกันไม่ให้เกิดการใช้เทคโนโลยี Deepfakes ขึ้นมาในทางที่ผิด


Dr.Sophie Nightingale นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแลงคาสเตอร์กับอาจารย์ Hany Farid จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียได้ทำการทดลองผู้เข้าร่วมงานวิจัย โดยให้ผู้เข้าร่วมทำการแยกแยะใบหน้าสังเคราะห์จาก StyleGAN2 และดูว่าผู้เข้าร่วมมีความไว้เนื้อเชื่อใจต่อใบหน้าที่สร้างขึ้นมามากน้อยแค่ไหน


ผลลัพธ์ที่ออกมาชี้ว่า ใบหน้าต่าง ๆ ที่มีการสังเคราะห์ขึ้นมานั้น ไม่เพียงแค่ใช้ใบหน้าสมจริงที่มีคุณภาพสูงเท่านั้น แต่เมื่อเทียบกับใบหน้าจริงแล้วนั้น เป็นเรื่องยากที่จะแยกแยะใบหน้าได้ว่า ใบหน้าไหนจริง ใบหน้าไหนปลอม ซึ่งผู้เข้าร่วมงานวิจัยส่วนใหญ่ต่างก็เชื่อใบหน้าสังเคราะห์อย่างสนิทใจ


นักวิจัยกล่าวว่า จากการประเมินด้วยการใช้รูปภาพใบหน้าสังเคราะห์ด้วยเทคโนโลยี AI นั้น ชี้ให้เห็นว่า การใช้เทคโนโลยีสังเคราะห์ที่เทียบได้กับหลักทฤษฎี Uncanny Valley (ทฤษฎีสังเกตสิ่งที่เกือบเหมือนเป็นมนุษย์) และการสร้างใบหน้าแต่ละรูปแบบนั้น ไม่อาจที่จะทำการแยกแยะใบหน้าและใบหน้าสังเคราะห์นี้ กลับเป็นใบหน้าที่มีความน่าเชื่อถือกว่าใบหน้าจริงเสียอีก


เรื่องนี้ได้ทำให้นักวิจัยเริ่มกังวลแล้วว่า คนส่วนใหญ่ไม่อาจที่จะระบุใบหน้าที่สร้างขึ้นมาจากเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI บางทีโลกดิจิทัลในอนาคตอาจเต็มไปด้วยคลิปวิดีโอหรือรูปภาพปลอมจำนวนมาก โดยที่ไม่อาจระบุยืนยันแหล่งที่ของรูปภาพหรือวิดีโอได้


ข้อมูลจาก neurosciencenews.com 

ภาพจาก pixabay.com

ข่าวแนะนำ