TNN ธรรมาภิบาล -เคารพสิทธิมนุษยชน หนุนสร้างการเติบโตธุรกิจ

TNN

สังคม

ธรรมาภิบาล -เคารพสิทธิมนุษยชน หนุนสร้างการเติบโตธุรกิจ

ธรรมาภิบาล -เคารพสิทธิมนุษยชน หนุนสร้างการเติบโตธุรกิจ

IRPC ตอกย้ำหลักธรรมาภิบาล - เคารพสิทธิมนุษยชนลดความเหลื่อมล้ำ หนุนสร้างการเติบโตธุรกิจยั่งยืนในอนาคต

หลังการระบาดโควิด-19 ที่เป็นแรงกระตุ้นต่อการดำเนินธุรกิจที่ต้องปรับตัวให้ทันกระแสเทรนด์โลก IRPC ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมปิโตรเคมีชั้นนำของไทย ที่ดำเนินธุรกิจอย่างเท่าทันกระแสโลก ภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ “สร้างสรรค์นวัตกรรมการใช้วัสดุและพลังงาน เพื่อชีวิตที่ลงตัว (To Shape Material and Energy Solutions in Harmony with Life)” ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม เคารพสิทธิมนุษยชน และสร้างสมดุลให้กับทุกชีวิตบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC 


ดำเนินธุรกิจด้วยหลักธรรมาภิบาล มีจริยธรรม คุณธรรม และความรับผิดชอบต่อผู้ส่วนได้เสีย ทั้งคู่ค้า พันธมิตรธุรกิจ และชุมชน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างยั่งยืน นอกจากนั้น ยังมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆ เข้ามาใช้ทุกด้าน อาทิ การจัดซื้อจัดจ้าง การปรับปรุงแนวปฏิบัติ “IRPC Supplier Sustainable Conduct” โดยที่ IRPC ได้ขยายขอบเขตดังกล่าวไปยังเครือข่ายพันธมิตรและคู่ค้า พร้อมกันทั้งองคาพยพ


 ทั้งนี้ จากความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาลโดยต่อเนื่อง ยังส่งผลให้ IRPC ได้รับรางวัลดีเด่น “องค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน” ประเภทองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ จากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ต่อเนื่อง 3 ปี เป็นองค์กรแรกในประเทศไทยสิทธิมนุษยชนเกี่ยวข้องกับธุรกิจได้อย่างไร นั้น


น.ส. นรีลักษณ์ แพไชยภูมิ ผู้อำนวยการกองสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กระทรวงยุติธรรม บอกว่า เกี่ยวข้องด้านการบริหารองค์กรตั้งแต่การผลิต การปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าและชุมชน การปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน การไม่เลือกปฏิบัติ


 โดยเฉพาะต่อกลุ่มเปราะบางหรือ LGBT ซึ่งสหประชาชาติหรือ UN ได้กำหนดมาตรฐานการดูแลคนกลุ่มนี้ไว้ว่าจะต้องให้ความคุ้มครองสิทธิมนุษชน และผลตอบแทนที่เป็นธรรม โปร่งใส ปัจจุบัน UN กำหนดหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน สำคัญๆ 3 ข้อ ได้แก่ การคุ้มครอง การเคารพสิทธิมนุษยชน และการเยียวยา รวมทั้งต้องประเมินสิทธิมนุษยชน อย่างรอบด้าน 


โดยสรุปหากภาคธุรกิจมีนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนจะได้ประโยชน์หลายด้านอาทิชื่อเสียงและคุณค่าแบรนด์ มีความสัมพันธ์ยั่งยืนทั้งในและนอกองค์กร ลดความขัดแย้งกับประชาคม ขยายฐานลูกค้าและดึงดูดนักลงทุนที่ใช้หลักสิทธิมนุษยชนตัดสินใจในการลงทุน





ธรรมาภิบาล -เคารพสิทธิมนุษยชน หนุนสร้างการเติบโตธุรกิจ


ด้าน ดร.เสรี นนทสูติ กรรมการยูเอ็นว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ชี้ว่า ปัจจุบันสิทธิมนุษยชนและความยั่งยืนถือเป็นใบอนุญาตแบบใหม่ในการประกอบกิจการใหม่ (New Licenses) เพราะสิทธิมนุษยชนเป็นความคาดหวังของสังคม เช่นเดียวกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ก็ได้ออกหลักเกณฑ์ด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทจดทะเบียน 


ขณะที่ประเทศไทยเองก็มีพันธะกรณีด้านสิทธิมนุษยชนกับนานาชาติอีกด้วย ที่สำคัญธุรกิจจะปังได้ ไม่ใช่แค่เคารพสิทธิมนุษยชนอย่างเดียว แต่ต้องมีมาตรการดูแล และตอบแทนสังคมไม่เลือกปฏิบัติยึดหลักความเท่าเทียมความเป็นมนุษย์


น.ส.อาริสรา สุธาสุทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักกิจการองค์กร IRPC ระบุว่า การลงทุนด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทไม่ควรมองที่ผลกำไร แต่ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นสะท้อนได้จากศักยภาพ และประสิทธิภาพขององค์กร ซึ่งความสำเร็จก็ไม่ได้เกิดเฉพาะกับธุรกิจอย่างเดียว แต่ยังส่งผลไปถึงระดับประเทศ เท่ากับประสบผลสำเร็จไปทั้งองคาพยพ



ธรรมาภิบาล -เคารพสิทธิมนุษยชน หนุนสร้างการเติบโตธุรกิจ



ขณะที่ ธันยพร กริชติทายาวุธ ผู้อำนวยการ สมาคม Global Compact Network Thailand ยืนยันว่า การประกอบธุรกิจที่มีความรับผิดชอบสอดคล้องกับความต้องการของสังคม การเคารพสิทธิมนษยชน และต่อต้านทุจริตไปด้วยกัน นั้น เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคและลูกค้ามีความคาดหวังให้องค์กรธุรกิจดำเนินงานด้านยั่งยืนอย่างจริงจัง โดยมีแนวโน้มว่าผู้บริโภคจะซื้อสินค้าและบริการจากธุรกิจที่ทำงานด้านความยั่งยืน รวมทั้งมีโอกาสที่ธุรกิจจะมีผลประกอบการและมูลค่าการตลาดที่สูงขึ้น


สำหรับการไม่เลือกปฏิบัติ คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยเฉพาะความเท่าเทียมทางเพศ 


พญ.ลลนา ก้องธรนินทร์ แพทย์ผู้ชำนาญการ สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ย้ำว่า สมัยนี้มีหลากหลายเพศควรได้รับสิทธิ์พื้นฐานที่มนุษย์ควรจะได้รับอย่างเท่าเทียมโดยไม่เลือกปฏิบัติ รวมทั้งการเคารพสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าเพศหญิง ชาย หรือ กลุ่มเพศทางเลือก LGBT


 แต่ปัจจุบันยังมีสิทธิบางอย่างยังไม่เท่าเทียม และไม่รองรับการใช้ชีวิตของคนบางกลุ่ม ทำให้ไม่มีความปลอดภัย บางครั้งอาจมีความเหลื่อมล้ำในทางปฏิบัติความพยายามของกลุ่มธุรกิจ IRPC ในการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงจริยธรรม คุณธรรม เคารพสิทธิมนุษยชน ทั้งบุคลากรในองค์กรและพันธมิตรธุรกิจ รวมถึงชุมชนใกล้เคียง นอกจากจะช่วยเพิ่มศักยภาพธุรกิจเองแล้ว ยังเป็นการคืนประโยชน์กลับสู่สังคมอีกด้วย ท้ายสุดแล้วองค์กรเองก็ได้รับโอกาสทางธุรกิจเพิ่มขึ้นจากความไว้วางใจของทุกภาคส่วนนั่นเอง 



ที่มา  : บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC 

ภาพประกอบ   :บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC 

ข่าวแนะนำ