10 วันอันตราย ปีใหม่ 2568 วันแรกเกิดอุบัติเหตุ 322 ครั้ง เสียชีวิต 52 ราย
ประเดิมวันแรก 10 วันอันตราย ปีใหม่ 2568 เกิดอุบัติเหตุ 322 ครั้ง บาดเจ็บ 318 คน ผู้เสียชีวิต 52 ราย
ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2568 กำชับจังหวัดอำนวยความสะดวกในเส้นทางสายหลัก สายรอง รวมถึงเฝ้าระวังจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ กำชับจุดตรวจเพิ่มความเข้มข้นในการเรียกตรวจยานพาหนะและความพร้อมของผู้ขับขี่ โดยเฉพาะรถโดยสารสาธารณะ ตรวจสอบประชาชนและนักท่องเที่ยวที่ยังตกค้างในสถานีขนส่งต่าง ๆ ให้สามารถเดินทางสู่จุดหมายอย่างปลอดภัย คุมเข้มพฤติกรรมเสี่ยงดื่มแล้วขับ ขับรถเร็ว และไม่สวมหมวกนิรภัย ตลอดจนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดตั้งจุดตรวจและจุดบริการในบริเวณที่ปลอดภัย ไม่กีดขวางช่องทางจราจร เพื่อให้การเดินทางมีความคล่องตัวและอำนวยความสะดวกด้านการจราจรให้เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้รถใช้ถนน อีกทั้งปรับมาตรการและแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์และบริบทของพื้นที่ เพื่อให้การเดินทางช่วงเทศกาลปีใหม่ห่างไกลอุบัติเหตุทางถนน
พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานแถลงผลการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2568 ประจำวันที่ 28 ธันวาคม 2567 เปิดเผยว่า ช่วงเทศกาลปีใหม่ประชาชนนิยมเดินทางเป็นจำนวนมาก ทำให้มีการเดินทางในพื้นที่เพิ่มขึ้น จึงมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุทางถนนเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะในช่วง “10 วันอันตราย” ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดให้ช่วงเวลาตั้งแต่เมื่อวานนี้ 27 ธันวาคม 2567 ไปจนถึง 5 มกราคม 2568 ต้องเฝ้าระวังความปลอดภัยในการเดินของประชาชนมากขึ้นเป็นพิเศษ
ซึ่งได้เน้นย้ำให้จังหวัดดูแลความปลอดภัยและและอำนวยความสะดวกการจราจรในการเดินทางอย่างต่อเนื่อง เฝ้าระวัง ตรวจตราผู้ขับขี่ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงอย่างเข้มข้น ทั้งขับรถเร็ว ดื่มแล้วขับ ไม่สวมหมวกนิรภัย และไม่คาดเข็มขัดนิรภัย รวมถึงดูแลความปลอดภัยของประชาชน อำนวยความสะดวก ตรวจสอบประชาชนและนักท่องเที่ยวที่ยังตกค้างในสถานีขนส่งต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเดินทางสู่จุดหมายอย่างปลอดภัย พร้อมขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบริหารจัดการการจราจรและการใช้สายทางต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาจราจรติดขัดคับคั่ง โดยเฉพาะเส้นทางสายหลักที่ประชาชนจำเป็นต้องใช้และอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ทำให้ไม่สามารถใช้ผิวทางจราจรได้เต็มศักยภาพ รวมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดตั้งจุดตรวจและจุดบริการในบริเวณที่ปลอดภัย ไม่กีดขวางช่องทางจราจร เพื่อให้การเดินทางเกิดความคล่องตัวและอำนวยความสะดวกด้านการจราจรให้เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้รถใช้ถนน
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเสริมการให้บริการประชาชนในการเดินทาง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) โดยกระทรวงศึกษาธิการ ได้ร่วมกับกรมการขนส่งทางบก จัดตั้งจุดบริการ “อาชีวะ – ขนส่ง อาสาช่วยประชาชน” จำนวน 150 จุด กระจายอยู่ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ ทั้งถนนสายหลักและสายรอง โดยจุดบริการที่ตั้งอยู่บนถนนสายหลักให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00 – 00.00 น. และจุดบริการที่ตั้งอยู่บนถนนสายรองให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00 น. – 20.00 น. เพื่อให้บริการประชาชนและอำนวยความสะดวกในการเดินทางสัญจรในช่วงเทศกาลปีใหม่ สำหรับจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นในพื้นที่ให้เพิ่มความเข้มข้นมาตรการในเชิงพื้นที่ เพื่อลดอุบัติเหตุทางถนนทำอาจเกิดขึ้น
นายเชษฐา โมสิกรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านสาธารณภัยและพัฒนาเมือง ในฐานะประธานการประชุมคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนตลอดทั้งปี เพื่อรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2568 กล่าวว่า ในวันนี้การเดินทางของประชาชนในการกลับภูมิลำเนาและท่องเที่ยวช่วงเทศกาลปีใหม่ ประชาชนบางส่วนเดินทางถึงจุดหมายแล้ว บางส่วนยังอยู่ระหว่างเดินทาง
จากสถิติอุบัติเหตุทางถนน พบว่า ถนน กรมทางหลวง ถนนใน อบต. และหมู่บ้าน รวมถึงถนนที่เป็นเส้นทางตรง เป็นจุดที่เกิดอุบัติเหตุสูง ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน จึงได้เน้นย้ำจังหวัดให้ความสำคัญกับการดูแลความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชน ทั้งถนนสายหลักและสายรอง โดยเปิดช่องทางพิเศษ ปิดจุดกลับรถ ประชาสัมพันธ์เส้นทางเลี่ยง ทางลัด เพื่อให้การสัญจรเป็นไปด้วยความคล่องตัว รวมถึงเฝ้าระวังจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ ทั้งทางแยก ทางร่วม และบริเวณที่มีการก่อสร้างถนน พร้อมดูแลเส้นทางตรงที่มีระยะทางยาว เพื่อคุมเข้มพฤติกรรมเสี่ยงขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ตลอดจนเพิ่มความถี่ในการเรียกตรวจความพร้อมของผู้ขับขี่ยานพาหนะทุกประเภท
โดยฉพาะพฤติกรรมเสี่ยง ดื่มแล้วขับ ขับรถเร็ว และไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนให้ได้มากที่สุด กรณีผู้ขับขี่อายุต่ำกว่า 20 ปี ที่ดื่มแล้วขับ และได้มีการสืบสวนขยายผลเพื่อดำเนินคดีให้ประชาสัมพันธ์ประชาชนในพื้นที่รับทราบผลของการกระทำผิดของผู้ที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และผู้สนับสนุนผู้ขับขี่อายุต่ำกว่า 20 ปี และหากในพื้นที่มีการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่ผู้ที่อายุไม่ถึงเกณฑ์ตามกฎหมาย ให้ขยายผลการสอบสวนดำเนินคดีไปจนถึงผู้จำหน่ายและผู้ปกครอง และหากมีผู้ฝ่าฝืนกฎหมายจราจรให้ใช้บทลงโทษสูงสุดตามกฎหมาย เพื่อให้ผู้ขับขี่เกรงกลัวไม่กล้าฝ่าฝืนกฎหมาย
นายสหรัฐ วงศ์สกุลวิวัฒน์ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) เปิดเผยว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้บูรณาการจังหวัดและหน่วยงานภาคีเครือข่ายสร้างความปลอดภัยทางถนนในลักษณะยึดพื้นที่เป็นตัวตั้ง (Area Approach) เน้นการวางแผนแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่และสถานการณ์อุบัติเหตุ โดยเฉพาะการดูแลจุดเสี่ยงที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เน้นการบังคับใช้กฎหมายกับผู้ขับขี่ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงอุบัติเหตุอย่างเข้มข้น นอกจากนี้ ในระยะนี้บางพื้นที่มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง
โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และยะลา ซึ่งสภาพถนนมีความเปียกลื่น จึงขอให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษในการสัญจรผ่านเส้นทางที่มีฝนตก เพื่อลดปัจจัยเลี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ ขอฝากให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด มีน้ำใจกับผู้ร่วมใช้เส้นทาง สำหรับประชาชนที่ประสบหรือพบเห็นอุบัติเหตุสามารถแจ้งเหตุได้ทางสายด่วน 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง และไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
สำหรับข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 ประจำวันที่ 27 ธันวาคม 2567 ซึ่งเป็นวันแรกของการรณรงค์ “ขับขี่ปลอดภัย เมืองไทยไร้อุบัติเหตุ” ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2568
โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและความร่วมมือของหน่วยงานภาคีเครือข่ายได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนน ประจำวันที่ 27 ธันวาคม 2567 เกิดอุบัติเหตุ 322 ครั้ง ผู้บาดเจ็บ 318 คน ผู้เสียชีวิต 52 ราย
สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ขับรถเร็ว ร้อยละ 39.44 ตัดหน้ากระชั้นชิด ร้อยละ 20.50 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 85.16 ส่วนใหญ่เกิดบนเส้นทางตรง ละ 9.01 ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุดอยู่ในช่วงอายุ 50 – 59 ปี ร้อยละ 15. 86.96 ถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 47.83 ถนน ใน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 27.95
ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เวลา 16.01 – 17.00 น. ร้อย41 จัดตั้งจุดตรวจหลัก 1,753 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 51,001 คน
โดยจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช (17 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานครและนครศรีธรรมราช (จังหวัดละ 4 ราย) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช (17 ครั้ง)
ข่าวแนะนำ