TNN กรมชลฯ เตรียมรับมือฝนหนักภาคใต้ ภาคเหนือฝนน้อยเร่งเก็บกักไว้ใช้แล้งหน้า

TNN

สังคม

กรมชลฯ เตรียมรับมือฝนหนักภาคใต้ ภาคเหนือฝนน้อยเร่งเก็บกักไว้ใช้แล้งหน้า

กรมชลฯ เตรียมรับมือฝนหนักภาคใต้ ภาคเหนือฝนน้อยเร่งเก็บกักไว้ใช้แล้งหน้า

กรมชลฯ เตรียมรับมือฝนหนักภาคใต้ สั่งเตรียมพร้อมเจ้าหน้าที่ เครื่องจักร เครื่องมือ เข้าประจำจุดเสี่ยง ขณะที่ภาคเหนือฝนน้อยเร่งเก็บกักไว้ใช้แล้งหน้า

กรมชลประทาน เปิดเผยถึง สำหรับสถานการณ์น้ำว่า ปัจจุบัน (22 ต.ค.67) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 62,491 ล้าน ลบ.ม. (82% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) ยังสามารถรองรับน้ำได้รวมกันอีกกว่า 13,873 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 21,134 ล้าน ลบ.ม. (85% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) ยังสามารถรองรับน้ำได้รวมกันอีกกว่า 3,737 ล้าน ลบ.ม.
 
ด้านสถานการณ์น้ำในแม่น้ำสายหลักต่างๆ ส่วนใหญ่มีแนวโน้มลด  อาทิ  แม่น้ำปิงที่จังหวัดเชียงใหม่  สถานการณ์น้ำได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว  ยังคงเหลือพื้นที่น้ำท่วมขังบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำในเขตอำเภอเมืองลำปาง กรมชลประทาน  ได้ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่มต่ำลงลำน้ำวังอย่างต่อเนื่อง  หากไม่มีฝนตกเพิ่มในพื้นที่คาดว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในเร็ววัน  ส่วนสถานการณ์น้ำในเขตพื้นที่ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี  หลังเกิดฝนตกหนักเมื่อวันที่ 19 ต.ค.67 ที่ผ่านมา  ส่งผลให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ชุมชน  กรมชลประทาน ได้นำเครื่องสูบน้ำ รถฉีดน้ำ รถแบ๊คโฮ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยอย่างเร่งด่วน  ปัจจุบันสถานการณ์น้ำเริ่มคลี่คลาย  โดยปริมาณหลากจะไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำกระเสียว จ.สุพรรณบุรี  ซึ่งปัจจุบันยังมีพื้นที่รองรับน้ำได้อย่างเพียงพอ
 
 ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ว่า  ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปริมาณฝนจะเริ่มลดลง จึงได้กำชับไปยังโครงการชลประทานในพื้นที่ดังกล่าว วางแผนการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ควบคู่ไปกับกับการเก็บกักน้ำในช่วงปลายฤดูฝนนี้ให้ได้มากที่สุด สำหรับพื้นที่ภาคใต้ จะมีปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้น จึงต้องเฝ้าระวังติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด เตรียมพร้อมเจ้าหน้าที่ เครื่องจักร เครื่องมือ เข้าประจำจุดเสี่ยง ตลอดจนตรวจสอบอาคารชลประทานให้ใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ รวมทั้งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การระบายน้ำเป็นไปโดยสะดวก สามารถลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนให้ได้มากที่สุด 
 

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง