“บุหรี่ไฟฟ้า” ต้นเหตุไทยพบผู้ป่วย"อิวารี่"ปอดอักเสบรุนแรงเพิ่ม
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ระบุไทยพบป่วยปอดอักเสบรุนแรง หรือ อิวารี่ จากบุหรี่ไฟฟ้าตั้งแต่ ปี 2563 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วินัย วนานุกูล หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า ไทยพบผู้ป่วยภาวะปอดอักเสบรุนแรงหรือ อิวารี่ ที่เกิดจากบุหรี่ไฟฟ้า มาตั้งแต่ปี 2562 และพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง โดยมีแนวโน้มจะพบผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสาเหตุมาจากควันไอละอองจากบุหรี่ไฟฟ้าที่มีสารเคมีที่เป็นอันตราย และโลหะหนัก จนทำให้มีภาวะปอดอักเสบเฉียบพลัน
ขณะที่ในประเทศสหรัฐอเมริกพบภาวะผู้ป่วยอิวารี่ ที่เชื่อมโยงกับการสูบบุหรี่ไฟฟ้า เมื่อปี 2562 โดยพบผู้ป่วยสูงถึง 450 คน มีผู้เสียชีวิต 7 คน ในระยะเวลา 2 เดือน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทำให้ แพทยสมาคมแห่งสหรัฐอเมริกาได้เรียกร้องให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการใช้บุหรี่ไฟฟ้า เนื่องจากไม่ปลอดภัย มีผลกระทบต่อการเกิดโรคปอดซึ่งเป็นวิกฤตทางด้านสาธารณสุขของประเทศ ซึ่งผลการศึกษาพบว่าผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่ไฟฟ้ามาก่อน มีโอกาสเกิดภาวะอิวารี่สูงกว่าความสูบบุหรี่ธรรมดา 3 เท่า
สำหรับอาการของโรคพบผู้ป่วย ร้อยละ 95 มีอาการ ไข้หนาวสั่น ไอ หายใจลำบาก ปวดเมื่อยตามตัว คล้ายการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย และ ร้อยละ77 ของผู้ป่วยมีอาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ซึ่งกาารวินิจฉัยโรคจะดูจากประวัติของผู้ป่วยเป็นหลัก หากพบว่ามีประวัติการสูบหรือไฟฟ้ามา อย่างน้อย90 วัน ปอดมีฝ้าขาว ตรวจแล้วไม่มีการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ ก็จะสันนิษฐานว่าเป็น อีวารี และตรวจยืนยันอีกครั้ง ด้วย การล้างปอด เพื่อหาจำนวนเม็ดเลือดขาวในปอดและไขมันที่แปลกปลอม
ทั้งนี้แพทย์แนะนำแนวการเฝ้าระวังโรค หากมีประวัติการสูบบุหรี่ไฟฟ้าแล้วมีอาการทางระบบหายใจ เช่น ไอหอบ เหนื่อย มีไข้ หรือบางรายอาจจะมีอาการเรื้อรังเป็นเดือนไม่หาย ควรมาพบแพทย์ และต้องแจ้งประวัติการใช้บุหรี่ไฟฟ้ากับแพทย์ด้วย
ภาพจาก : AFP