"สิทธิบัตรทอง VS สิทธิประกันสังคม" ต่างกันอย่างไร ใครได้รับสิทธิไหน?
เปิดความแตกต่าง ระหว่าง "สิทธิบัตรทอง" และ "สิทธิประกันสังคม" ต่างกันอย่างไร ใครได้รับสิทธิไหนบ้าง?
ปัจจุบันระบบสวัสดิการด้านสุขภาพในประเทศไทยมีหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น สิทธิบัตรทอง สิทธิประกันสังคม สิทธิข้าราชการ ที่ผู้ป่วยสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ฟรี แต่รู้หรือไม่ว่า สิทธิบัตรทอง กับ สิทธิประกันสังคม นั้น มีความแตกต่างในด้านการรักษา รวมทั้งสวัสดิการค่าชดเชยต่างๆ ก็แตกต่างกันด้วย วันนี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพ หรือ สปสช. มีคำตอบมาให้...
ความแตกต่าง บัตรทอง - ประกันสังคม
สิทธิบัตรทอง ผู้ที่ได้รับสิทธิ คือ คนไทยทุกคน ซึ่งไม่มีสวัสดิการอื่นๆ จากรัฐ
สิทธิประกันสังคม พนักงานบริษัท ได้สิทธิประกันสังคมอัตโนมัติ กรณีลาออกจากงาน และไม่อยากส่งเงินสมทบประกันสังคมต่อ (มาตรา 39) สามารถใช้สิทธิบัตรทองได้ แต่ต้องลงทะเบียนใช้สิทธิก่อน
สิทธิบัตรทอง ไม่มีค่าใช้จ่าย ลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการหรือสถานพยาบาลประจำแล้วใช้สิทธิได้ทันที
สิทธิประกันสังคม ต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนทุกเดือน ตามเงื่อนไขถึงจะสามารถใช้สิทธิได้
สิทธิบัตรทอง ใช้กับสถานพยาบาลประจำที่ลงทะเบียนไว้ กรณีเจ็บป่วยต่างพื้นที่เข้าสถานพยาบาลปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติเข้าสถานพยาบาลรัฐและเอกชนที่อยู่ใกล้
สิทธิประกันสังคม ใช้กับโรงพยาบาลที่เลือกสิทธิไว้กรณีฉุกเฉินเข้าที่ไหนก่อนก็ได้โดยไม่ต้องสำรองจ่าย
สิทธิบัตรทอง การย้ายสิทธิสถานพยาบาลทำได้ 4 ครั้งต่อปี
สิทธิประกันสังคม การย้ายสิทธิสถานพยาบาลย้ายได้ปีละครั้ง
สิทธิบัตรทอง ใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งและไม่มีวงเงิน
สิทธิประกันสังคม ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน ไม่เกิน 900 บาท / ปี
สิทธิบัตรทอง ให้บริการค่าอาหารและค่าห้องสามัญ
สิทธิประกันสังคม ให้บริการค่าห้องและค่าอาหารไม่เกิน 700 บาท / วัน
สิทธิบัตรทอง ได้เพียงสิทธิรักษาฟรี ไม่มีเงินชดเชยว่างงานเหมือนประกันสังคม
สิทธิประกันสังคม ได้รับเงินชดเชย กรณีว่างงาน เกษียณ เสียชีวิต
และยังมีข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิการรักษาอื่นๆอีกมากมายของทั้ง 2 สิทธิการรักษา ทั้งนี้เพื่อความเข้าใจและเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่ถูกต้องแนะนำสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่สายด่วนของแต่ละสิทธิการรักษาดังนี้
- สายด่วน สปสช.(สิทธิบัตรทอง) สอบถามโทร 1330
- สายด่วน ประกันสังคม สอบถามโทร 1506
ทั้งนี้ สอบถามเพิ่มเติมการใช้สิทธิบัตรทอง สายด่วน สปสช. 1330 หรือช่องทางระบบออนไลน์ทั้งไลน์ สปสช. @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6 และ Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ภาพจาก แฟ้มภาพ TNN Online