TNN ภูมิคุ้มกันจากการ "ปลูกฝี" ในอดีต ยังป้องกันไวรัส "ฝีดาษลิง" ได้อยู่หรือไม่?

TNN

สังคม

ภูมิคุ้มกันจากการ "ปลูกฝี" ในอดีต ยังป้องกันไวรัส "ฝีดาษลิง" ได้อยู่หรือไม่?

ภูมิคุ้มกันจากการ ปลูกฝี ในอดีต ยังป้องกันไวรัส ฝีดาษลิง ได้อยู่หรือไม่?

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ตอบข้อสงสัยเคย "ปลูกฝี" มาแล้วในอดีตยังมีภูมิคุ้มกันอยู่หรือไม่ และจะสามารถป้องกันการติดเชื้อ "ฝีดาษลิง" สายพันธุ์ปัจจุบันได้มากแค่ไหน?

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ตอบข้อสงสัยเคย "ปลูกฝี" มาแล้วในอดีตยังมีภูมิคุ้มกันอยู่หรือไม่ และจะสามารถป้องกันการติดเชื้อ "ฝีดาษลิง" สายพันธุ์ปัจจุบันได้มากแค่ไหน?

วันนี้ (3 ก.ย.65) ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana เกี่ยวกับ ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนฝีดาษในอดีต กับ ไวรัสฝีดาษลิงปัจจุบัน โดยระบุว่า

เชื่อว่าหลายคนสงสัยว่าเคย "ปลูกฝี" มาแล้วในอดีตยังมีภูมิอยู่หรือไม่ และจะสามารถป้องกันการติดเชื้อ "ฝีดาษลิง" สายพันธุ์ปัจจุบันได้มากแค่ไหน?

เนื่องจากวัคซีนฝีดาษพัฒนามาจากไวรัส Vaccinia ซึ่งเป็น Poxvirus สายพันธุ์เก่าแก่มาก ที่มีความใกล้เคียงกันกับทั้งไวรัสฝีดาษคน และ ฝีดาษลิงในระดับหนึ่ง

ความแตกต่างระหว่างไวรัสทำให้มีความสงสัยว่าภูมิจากไวรัสเก่าแก่อย่าง Vaccinia ยังสามารถข้ามมายับยั้งไวรัสสายพันธุ์ปัจจุบันของฝีดาษลิงได้มากน้อยขนาดไหน และเนื่องจากมีผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงในกลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไปพอสมควร ทำให้มีความสนใจว่าภูมิจากวัคซีนในอดีตของกลุ่มนี้เหลืออยู่เท่าไหร่กันแน่ ซึ่งดูเหมือนไม่พอในการป้องกัน

ภูมิคุ้มกันจากการ ปลูกฝี ในอดีต ยังป้องกันไวรัส ฝีดาษลิง ได้อยู่หรือไม่?

ทีมวิจัยในประเทศเนเธอแลนด์ได้ทำการตรวจสอบซีรั่มที่เพิ่งก็บจากคนที่เกิดก่อนปี 1974 เทียบกับ คนที่เกิดหลังจากนั้น เนื่องจากวัคซีนฝีดาษหยุดฉีดในประเทศตั้งแต่ปี 1974 โดยตรวจดูภูมิต่อไวรัส Vaccinia 

พบว่า ถึงแม้จะฉีดวัคซีนมานานเกือบ 50 ปีแล้ว แอนติบอดีต่อ Vaccinia จะสามารถตรวจพบได้อยู่เทียบกับกลุ่มที่ไม่เคยฉีดวัคซีน โดยระดับแอนติบอดีมีความหลากหลาย คนที่ฉีดก่อนก็ไม่ได้มีน้อยไปกว่าคนฉีดที่หลัง

ทีมวิจัยถามต่อว่าภูมิต่อ Vaccinia ที่ตรวจได้ สามารถจับและยับยั้งไวรัสฝีดาษลิงสายพันธุ์ปัจจุบัน (MPXV) หรือไม่?

คำตอบ คือ มี เทียบกับกลุ่มที่ไม่มีภูมิเลย แต่ระดับที่ตรวจได้จะไม่ค่อยมากเท่าไร ได้ค่าประมาณ 50-60 (บางคนสูงถึง 600 บางคนไม่พบเลย) ซึ่งตอนนี้ยังไม่ชัดว่าค่าแอนติบอดีต่อ MPXV เท่าไหร่ถึงจะพอป้องกัน...[แต่ถ้าดูต่อไปด้านล่างอาจจะอนุมานคร่าวๆได้ว่าควรจะประมาณ 160?]

ภูมิคุ้มกันจากการ ปลูกฝี ในอดีต ยังป้องกันไวรัส ฝีดาษลิง ได้อยู่หรือไม่?

ที่น่าสนใจคือ ทีมวิจัยตรวจภูมิคุ้มกันในกลุ่มที่ติดเชื้อฝีดาษลิงมา (กลุ่ม PCR positive) พบว่า กลุ่มที่เคยฉีดวัคซีนมาในอดีตสามารถกระตุ้นภูมิต่อ Vaccinia ที่เคย Prime มาได้สูงมาก แต่ถ้าเทียบภูมิที่จำเพาะต่อฝีดาษลิงในกลุ่มที่เคยฉีดและไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อน 

ทีมวิจัยไม่เห็นความแตกต่างในทั้งสองกลุ่ม ภูมิของคนที่ไม่เคยฉีดวัคซีนที่จำเพาะต่อฝีดาษลิงสูงไปที่ ประมาณ 160 ซึ่งเท่ากับกลุ่มที่เคยมีภูมิจาก Vaccinia และ ไปติดฝีดาษลิง 

ผลการทดลองนี้อาจเกิดคำถามว่า ภูมิจาก Vaccinia ในอดีตอาจจะถูกกระตุ้นจากวัคซีนฝีดาษลิง "ไม่ค่อยดีพอ" เพราะ B cell ที่มีความทรงจำต่อวัคซีนเดิมอาจจะไม่ค่อยรู้จักไวรัสตัวใหม่เท่าไหร่แล้ว

ภูมิคุ้มกันจากการ ปลูกฝี ในอดีต ยังป้องกันไวรัส ฝีดาษลิง ได้อยู่หรือไม่?

ทีมวิจัยยังถามต่อไปว่า วัคซีนฝีดาษ MVA-BN ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งพัฒนามาจาก Vaccinia เช่นกัน สามารถกระตุ้นภูมิต่อไวรัสฝีดาษลิงได้ระดับใด?

ในกลุ่มที่มีภูมิต่อวัคซีนเก่า แต่มีภูมิต่อฝีดาษลิงในระดับค่อนข้างสูง การฉีดกระตุ้นซ้ำดูเหมือนจะไม่ค่อยเห็นระดับของแอนติบอดีที่สูงขึ้น 

นอกจากนี้ กลุ่มที่ไม่เคยมีภูมิจากในอดีตมา ก็มีภูมิต่อไวรัสฝีดาษลิงไม่มากเช่นเดียวกัน ที่ 4 สัปดาห์หลังเข็มสอง ระดับยังได้เพียงแค่ 20 ซึ่งดูจะน้อยไปในการป้องกัน 

ทีมวิจัยระบุว่า การกระตุ้นด้วยเข็ม 3 ดูเหมือนจะจำเป็น และการลดโดสลงเป็นการฉีดแบบใต้ผิวหนังอาจจำเป็นต้องศึกษาอย่างระมัดระวัง.



ข้อมูลจาก Anan Jongkaewwattana

ภาพจาก แฟ้มภาพ AFP


ข่าวแนะนำ