TNN สธ.จับตา "ไข้หวัดมะเขือเทศ" อาการคล้าย "มือเท้าปาก" ในเด็ก ไม่ใช่โรคชนิดใหม่

TNN

สังคม

สธ.จับตา "ไข้หวัดมะเขือเทศ" อาการคล้าย "มือเท้าปาก" ในเด็ก ไม่ใช่โรคชนิดใหม่

สธ.จับตา ไข้หวัดมะเขือเทศ อาการคล้าย มือเท้าปาก ในเด็ก ไม่ใช่โรคชนิดใหม่

กรมควบคุมโรค ติดตามสถานการณ์ "ไข้หวัดมะเขือเทศ" ใกล้ชิด อาการเด็กที่ป่วยจะคล้ายกับโรคมือ เท้า ปาก ที่พบบ่อยได้ในเด็ก ไม่ใช่โรคติดเชื้อชนิดใหม่ แพร่กระจายได้ง่ายจากการสัมผัส และระบาดในวงจำกัด ยังไม่มีรายงานพบผู้ป่วยในไทย

กรมควบคุมโรค ติดตามสถานการณ์ "ไข้หวัดมะเขือเทศ" ใกล้ชิด อาการเด็กที่ป่วยจะคล้ายกับโรคมือ เท้า ปาก ที่พบบ่อยได้ในเด็ก ไม่ใช่โรคติดเชื้อชนิดใหม่ แพร่กระจายได้ง่ายจากการสัมผัส และระบาดในวงจำกัด ยังไม่มีรายงานพบผู้ป่วยในไทย

วันนี้ (28 ส.ค.65) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า จากกรณีมีรายงานข่าวที่ประเทศอินเดีย พบผู้ป่วยโรค "ไข้หวัดมะเขือเทศ" (Tomato Flu) นั้น

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการ สธ. จึงมอบหมายให้กรมควบคุมโรคติดตามสถานการณ์ดังกล่าว ซึ่งจากการติดตามพบว่า ผู้ป่วยในประเทศอินเดียเป็นกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี พบผู้ติดเชื้อเกือบ 100 คน ไม่มีผู้เสียชีวิต 

เนื่องจากเชื้อไวรัสชนิดนี้แพร่กระจายได้ง่ายจากการสัมผัส เช่น การสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด หรือนำสิ่งของเข้าปาก จึงทำให้กลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้ง่ายเป็นพิเศษ 

โดยอาการเริ่มต้นจะคล้ายไข้หวัด คือ มีไข้ ปวดเมื่อยตัว ต่อมามีผื่นขึ้น ผื่นที่ขึ้นจะมีลักษณะแดง และเป็นตุ่มน้ำคล้ายมะเขือเทศ (โรคนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับการรับประทานมะเขือเทศแต่อย่างใด) 

จากการสันนิษฐานลักษณะทางระบาดวิทยา และอาการเด็กที่ป่วยจะคล้ายกับโรคมือ เท้า ปาก ที่พบบ่อยได้ในเด็ก ไม่ใช่โรคติดเชื้อชนิดใหม่

ทั้งนี้ จากข้อมูลเบื้องต้นที่มี สามารถกล่าวได้ว่าสถานการณ์ของโรคไข้หวัดมะเขือเทศยังไม่น่ากังวล ยังไม่มีรายงานการพบผู้ป่วยในประเทศไทย และโรคดังกล่าวเป็นการแพร่ระบาดอยู่ในวงจำกัด ซึ่งกระบวนการคัดกรองและรักษาในประเทศก็สามารถทำได้เช่นเดียวกับการรักษาโรคมือ เท้า ปากในเด็ก 

และในปัจจุบันมีทั้งชุดตรวจคัดกรอง ยารักษาในสถานพยาบาลในประเทศทุกระดับ และในช่วงฤดูฝนนี้ อากาศเย็นและชื้น เชื้อโรคแพร่กระจายได้ง่าย จึงขอความร่วมมือผู้ปกครองระมัดระวังดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด หมั่นทำความสะอาดของเล่นเด็ก และบริเวณพื้นที่ที่เด็กอยู่เป็นประจำ เพื่อลดเชื้อโรคที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422



ภาพจาก Yong Poovorawan

ข่าวแนะนำ