5 อาการเข้าข่ายเสี่ยงป่วย ‘โรคฝีดาษลิง’ หากเป็นแบบนี้รีบพบแพทย์
หมอโอภาสเผย 5 อาการเข้าข่ายเสี่ยงป่วย ‘โรคฝีดาษลิง’ หากพบตนเอง-คนใกล้ชิดเป็นแบบนี้ให้รีบพบแพทย์
วันนี้ ( 23 ก.ค. 65 )จากกรณีการพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง (ฝีดาษวานร) รายแรกในประเทศไทย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ให้คำแนะนำในการป้องกันโรคฝีดาษลิงสำหรับประชาชน ระหว่างแถลงความคืบหน้าสถานการณ์ ดังต่อไปนี้
1.โรคฝีดาษลิงติดเชื้อจากไหน?
- ติดเชื้อจากการสัมผัสโดยตรงกับตุ่มหรือผื่น หรือสิ่งของที่ใช้ร่วมกับผู้ป่วย ดังนั้นให้เลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีตุ่มหนอง และงดใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย
2.วิธีการป้องกันเชื้อฝีดาษลิง
- น้นการล้างมือบ่อยๆ ด้วยเจลแอลกอฮอล์ และเว้นระยะห่าง
3.อาการป่วยโรคฝีดาษลิง
3.1 เริ่มมีไข้
3.2 เจ็บคอ
3.3ต่อมน้ำเหลืองโต
3.4 มีผื่นแดง หรือตุ่มน้ำ ตุ่มหนองขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ ลำตัว แขน ขา ใบหน้า และฝ่ามือฝ่าเท้า
3.5 มีประวัติเสี่ยงสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย
หากมีอาการดังนี้ให้รีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และแจ้งประวัติเสี่ยงด้วย
4.พบคนใกล้ชิดเข้าข่ายเป็น ฝีดาษลิง ทำอย่างไร?
- กรณีพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงที่เป็นชาวต่างชาติ แนะนำให้ผู้ป่วยไปพบแพทย์ ไม่ควรหลบหนี ทั้งนี้เพื่อลดการแพร่โรคสู่ผู้อื่น
นพ.โอภาส ยังระบุด้วยว่า เชื้อฝีดาษลิงในปัจจุบันมี 2 สายพันธุ์หลัก คือ
1.สายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก ความรุนแรงไม่มาก
2.สายพันธุ์แอฟริกากลาง มีความรุนแรงมากกว่า
ซึ่งการระบาดในรอบนี้ ส่วนใหญ่เป็นการระบาดของสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก
"การระบาดในรอบนี้ ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก โดยมี 2 สายพันธุ์หลักๆ คือ A และ B ตอนนี้ แต่อนาคตเมื่อกลายพันธุ์จะมีสายพันธุ์ย่อยได้อีกเยอะ สายพันธุ์ที่ระบาดอยู่ในยุโรป คือ สายพันธุ์ B.1 ส่วนสายพันธุ์ที่พบในผู้ป่วยรายนี้ (ชาวไนจีเรีย) คือ A.2 ซึ่งสัมพันธ์กับสายพันธุ์ที่ระบาดในอเมริกา" อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว
ข้อมูลจาก : กรมควบคุมโรค
ภาพจาก : AFP/กรมควบคุมโรค