TNN สรุปกฎหมาย PDPA สำหรับประชาชน แบบเข้าใจง่าย ดาวน์โหลดเก็บไว้อ่านเลย

TNN

สังคม

สรุปกฎหมาย PDPA สำหรับประชาชน แบบเข้าใจง่าย ดาวน์โหลดเก็บไว้อ่านเลย

สรุปกฎหมาย PDPA สำหรับประชาชน แบบเข้าใจง่าย ดาวน์โหลดเก็บไว้อ่านเลย

คู่มือสรุปกฎหมาย PDPA สำหรับประชาชน เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน กฎหมายใกล้ตัวที่ทุกคนต้องรู้ สามารถดาวน์โหลดเก็บไว้อ่านได้แล้ววันนี้

"กฎหมาย PDPA" (Personal Data Protection Act) หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 65 ที่ผ่านมา เพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่ทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เช่น ชื่อ - สกุล ที่อยู่ เลขบัตรประชาชน เบอร์ติดต่อ อีเมล ประวัติสุขภาพ เป็นต้น 

ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล ที่อาจนำมาซึ่งความเดือดร้อนรำคาญหรือสร้างความเสียหายได้

ดังนั้น เราในฐานะเจ้าของข้อมูลมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนี้ จึงต้องทำความเข้าใจถึงสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครอง รวมถึงสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิข้อมูลของบุคคลอื่นด้วย

ดาวน์โหลดไฟล์ได้ที่นี่ >> คู่มือ PDPA สำหรับประชาชน

สรุปกฎหมาย PDPA สำหรับประชาชน แบบเข้าใจง่าย ดาวน์โหลดเก็บไว้อ่านเลย

สำหรับสาระสำคัญของ "กฎหมาย PDPA" ฉบับนี้ได้บัญญัติรับรองและยืนยันสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนเอาไว้ โดยคุ้มครองประชาชนในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เฉพาะเพียงแต่กรณีที่เกิดเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลเท่านั้น

แต่ยังรวมถึงการกำหนดให้องค์กรต่าง ๆ ที่มีการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลต้องมีฐานทางกฎหมายในการประมวลผล กล่าวคือ ต้องสามารถอ้างได้ว่ามีสิทธิบางประการตามที่กฎหมายกำหนดในการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ (ตามมาตรา 24 และมาตรา 26 แล้วแต่กรณี) 

การใช้ข้อมูลให้น้อยที่สุด สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมายและเพียงเท่าที่จำเป็น อีกทั้งประการสำคัญคือ “ความโปร่งใส” ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องคำนึงถึง “ความเป็นธรรม” ต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลด้วย

3 บทบาทผู้เกี่ยวข้องภายใต้กฎหมาย PDPA

ภายใต้ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ได้กำหนดให้มีผู้เกี่ยวข้อง 3 บทบาท ได้แก่

• เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) คือ บุคคลธรรมดาผู้มีสิทธิตามกฎหมาย ซึ่งข้อมูลนั้นบ่งชี้

ไปถึงบุคคลดังกล่าวไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม

• ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) คือ บุคคลหรือนิติบุคคล ซึ่งมีอำนาจตัดสินใจเกี่ยวกับ

การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

• ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) คือ บุคคลหรือนิติบุคคล ซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับ

การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

ซึ่งไม่ใช่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิอะไรบ้าง?

1) สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบรายละเอียด (Privacy Notice)

2) สิทธิในการถอนความยินยอมในกรณีที่ได้ให้ความยินยอมไว้ (Right to Withdraw Consent)

3) สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล (Right to Access)

4) สิทธิขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล (Right to data portability)

5) สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (Right to Objection) (มาตรา 32) 

6) สิทธิขอให้ลบหรือทําลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้ (Right to Erasure) 

7) สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 34) 

8) สิทธิขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล

หากมีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ต้องทำอย่างไร

ทั้งนี้ หากมีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่แจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลแก่สำนักงานโดยไม่ชักช้า ภายใน 72 ชั่วโมง นับแต่ทราบเหตุเท่าที่จะสามารถกระทำได้ เว้นแต่การละเมิดดังกล่าวไม่มี

ความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ในกรณีที่การละเมิดมีความเสี่ยงสูงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลให้แจ้งเหตุการละเมิดให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบพร้อมกับแนวทางการเยียวยาโดยไม่ชักช้าด้วย

เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ PDPA

1. การถ่ายรูป-ถ่ายคลิป ติดภาพคนอื่นโดยเจ้าตัวไม่ยินยอมจะผิด PDPA?

ตอบ กรณีการถ่ายรูป-ถ่ายคลิปโดยติดบุคคลอื่นโดยผู้ถ่ายรูป-ถ่ายคลิปไม่เจตนา และการถ่ายรูปถ่ายคลิปดังกล่าว

ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้ หากเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว

2. ถ้านำคลิปหรือรูปถ่ายที่ติดคนอื่นไปโพสต์ในโซเชียลมีเดียโดยบุคคลอื่นไม่ยินยอมจะผิด PDPA?

ตอบ สามารถโพสต์ได้ หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช้แสวงหากำไรทางการค้าและไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย

ต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

3. ติดกล้องวงจรปิดแล้วไม่มีป้ายแจ้งเตือนผิด PDPA?

ตอบ การติดกล้องวงจรปิดภายในบ้าน ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน หากเพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษา

ความปลอดภัยกับตัวเจ้าของบ้าน

4. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้?

ตอบ ไม่จำเป็นต้องขอความยินยอม หากการใช้ข้อมูลดังกล่าว

(1) เป็นการทำตามสัญญา

(2) เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ

(3) เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิตและ/หรือ ร่างกายของบุคคล

(4) เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยหรือสถิติ

(5) เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ

(6) เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือ สิทธิของตนเอง


ข้อมูลจาก ไทยคู่ฟ้า และ คู่มือ PDPA สำหรับประชาชน

ภาพจาก แฟ้มภาพ AFP

ข่าวแนะนำ