เช็กเลย! 8 สิทธิจาก กฏหมาย PDPA เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลควรรู้
8 สิทธิจาก กฏหมาย PDPA ปชช.ควรรู้ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิทำอะไรได้บ้าง
จากกรณีการบังคับใช้ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ กฏหมาย PDPA ที่ผ่านมา เพื่อเป็นการคุ้มครองประชาชน ในเรื่องของข้อมูลส่วนตัวไม่ให้ถูกจัดเก็บหรือนำไปใช้โดยไม่แจ้งให้ทราบ
ล่าสุด ตำรวจสอบสวนกลาง ได้เผยแพร่ 8 สิทธิ ควรรู้สำหรับ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือ ข้อมูลส่วนตัวของตัวเราเอง มีดังต่อไปนี้
1. สิทธิในการให้ หรือถอนความยินยอม ในการใช้ข้อมูล
2. สิทธิในการรับแจ้งถึงรายละเอียดในการเก็บข้อมูล หรือนำไปใช้งาน
3. สิทธิในการเข้าถึง และขอสำเนาข้อมูลที่อยู่กับผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
4. สิทธิในการขอโอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคล ที่ให้ความยินยอมไว้ไปยังผู้ควบคุมอื่นได้
5.สิทธิในการคัดค้าน ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อไหร่ก็ได้ ในกรณีที่เกี่ยวกับการตลาดโดยตรง, ใช้เกี่ยวกับการศึกษาวิจัย หรือสถิติ เว้นแต่มีความจำเป็นที่ใช้งานเพื่อเป็นประโยชน์สาธารณะของผู้ควบคุมฯ และในกรณีที่เป็นข้อมูลที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องขอคำยินยอม ต้องพิสูจน์ได้ว่า หากเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยเป็นไปเพื่อการก่อตั้ง การปฏิบัติตาม หรือเรียกร้องตามกฎหมาย
6. สิทธิในการขอให้ผู้ควบคุม ลบ หรือทำลายข้อมูลส่วนตัว เมื่อหมดวัตถุประสงค์ ถอนความยินยอม คัดค้าน หรือถูกนำไปใช้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
7. สิทธิในการระงับการใช้งานข้อมูลส่วนตัว เมื่ออยู่ในการดำเนินการตามข้อ 8, เป็นข้อมูลที่ลบหรือทำลาย, หมดความจำเป็นตามวัตถุประสงค์, อยู่ในการดำเนินการตามข้อ 5
8. สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนตัวให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
-ในข้อ 1/2/3 หากผู้ควบคุมฯ ไม่ปฏิบัติตาม มีโทษปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท ตาม มาตรา 82
-ในข้อ 4/5/8 หากผู้ควบคุมฯ ปฏิเสธการแก้ไขข้อมูลต้องชี้แจงเหตุผล ตาม มาตรา 39
-ในข้อ 6 หากเปิดเผยเป็นสาธารณะให้ดำเนินการลบ และหากผู้ควบคุมไม่ปฏิบัติตามสามารถร้องเรียนต่อคณะกรรมการเพื่อให้ดำเนินการได้
-ในข้อ 7 หากผู้ควบคุมไม่ปฏิบัติตาม สามารถร้องเรียนต่อคณะกรรมการเพื่อให้ดำเนินการได้
ข้อมูลจาก : ตำรวจสอบสวนกลาง
ภาพจาก : AFP