กฏหมาย PDPA ทำไมต้องมี-ประชาชนได้ประโยชน์อะไรบ้าง
ไขข้อสงสัย กฏหมาย PDPA ทำไมถึงต้องนำมาบังคับใช้ ประชาชนจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง บรรดาสายโซเชียลจะอยู่ยากไหมหากโพสต์คลิป-เซลฟี่ ติดคนอื่น
จากกรณีวานนี้ ( 1 มิถุนายน 2565 ) ได้มีการบังคับใช้ กฏหมาย PDPA เป็นวันแรก PDPA คือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เพื่อใช้คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความปลอดภัย ไม่ให้ถูกจัดเก็บหรือนำไปใช้โดยไม่ได้แจ้งทราบ หรือได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน
กฏหมาย PDPA ทำไมถึงต้องนำมาบังคับใช้?
PDPA มีบทลงโทษอาญา เพื่อปกป้องประชาชนจาก “มิจฉาชีพ หรือ ผู้ประสงค์ร้าย ” กรณีมีการนำเข้าข้อมูลอ่อนไหวดังนี้ “เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนา หรือ ปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ” ของประชาชาชนไปใช้ ทำให้เกิดความเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง หรือ หาผลประโยชน์แบบผิดกฏหมาย
กฏหมาย PDPA กับบทลงโทษผู้ละเมิด
- โทษทางอาญา: จำคุกสูงสุดไม่เกิน 6 เดือนถึง 1 ปี หรือปรับสูงสุดไม่เกิน 500,000 ถึง 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- โทษทางแพ่ง: ค่าสินไหมทดแทน + ค่าสินไหมเพื่อการลงโทษอีกไม่เกิน 2 เท่า
- โทษทางปกครอง: ปรับไม่เกิน 1หรือ3หรือ 5 ล้านบาท
กฏหมาย PDPA ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ประชาชนยังสามารถใช้ชีวิต ลงรูปเล่นโซเชียลได้ตามได้ตามปกติ ตาม 4 ข้อยกเว้นดังนี้
ถ่ายเซลฟี่-ถ่ายคลิปติดคนอื่น จะมีโทษหรือไม่?
- การถ่ายรูป-ถ่ายคลิปโดยติดบุคคลอื่นโดยผู้ถ่ายรูป-ถ่ายคลิปไม่เจตนา และการถ่ายรูปถ่ายคลิปดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้ หากเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว
ถ่ายคลิปโพสต์เฟซบุ๊ก-ไอจี แต่ติดคนอื่น จะผิด กฏหมาย PDPA ไหม?
สามารถโพสท์ได้ หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช้แสวงหากำไรทางการค้าและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
ติดกล้องกันโจรหน้าบ้านต้องปิดป้ายบอกไหม? ไม่ติดป้ายบอกจะผิด กฏหมาย PDPA หรือไม่?
- การติดกล้องวงจรปิด ภายในบ้าน ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน หากเพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัยกับตัวเจ้าของบ้าน
หากมีเรื่องราวจำเป็นต้องใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ต้องรอความยินยอมก่อนหรือไม่?
- ไม่จำเป็น ต้องขอความยินยอม หากการใช้ข้อมูลดังกล่าว เพื่อกิจกรรมดังต่อไปนี้
(1) เป็นการทำตามสัญญา
(2) เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ
(3) เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิตและ/หรือ ร่างกายของบุคคล
(4) เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ
(5) เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ
(6) เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือสิทธิของตนเอง
ข้อมูลจาก : เพจ PDPC Thailand
ภาพจาก : เพจ PDPC Thailand