อ.เศรษฐศาสตร์ ชี้ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 492 บาท ทำเงินเฟ้อพุ่ง เร่งนายจ้างเลิกจ้างเร็วขึ้น

อ.เศรษฐศาสตร์ ชี้ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 492 บาท ทำเงินเฟ้อพุ่ง เร่งนายจ้างเลิกจ้างเร็วขึ้น

สรุปข่าว

วันนี้ (28 เม.ย.65) ดร.เดชรัต สุขกำเนิด หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ความคิดเห็นถึงกรณีองค์กรผู้ใช้แรงงาน เสนอให้มีการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเป็น 492 บาททั่วประเทศ 

ดร.เดชรัต ให้ความเห็นว่า แม้จะเห็นด้วยกับการเสนอขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ แต่การปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำในอัตรา 492 บาททั่วประเทศ ก็มองว่าค่อนข้างที่จะเป็นไปได้ยากในสถานการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากสถานการณ์เงินเฟ้อในประเทศ ถือว่าค่อนข้างสูงกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ถึง 5 เท่า 

ประกอบกับปัญหาของสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน ที่ยังคงประสบปัญหาถึง 2 อย่างในขณะนี้ ได้แก่ ภาวะเงินเฟ้อ กับปัญหาเศรษฐกิจทั่วโลกที่ยังคงชะลอตัว ทั้งจากภาวะสงครามและราคาน้ำมัน ดังนั้นหากมีการปรับขึ้นค่าแรงในอัตราที่สูงมาก จะส่งผลให้เงินเฟ้อพุ่งสูงมากขึ้น และเศรษฐกิจภาพรวมที่กำลังจะฟื้นตัวก็อาจจะชะลอตัวลงไปอีก 

อ.เศรษศาสตร์ ชี้ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 492 บาท ทำเงินเฟ้อพุ่ง เร่งนายจ้างเลิกจ้างเร็วขึ้น

อย่างไรก็ตาม อัตราค่าแรงขั้นต่ำในปัจจุบันที่เฉลี่ยอยู่ที่ 300 บาท ก็ถือว่าค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำล่าสุดเมื่อปี 2556 รวมถึงภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

และหากเทียบกับความสามารถในการผลิตของแรงงานในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าแรงงานมีความสามารถในการผลิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 4 ต่อปี ดังนั้นจึงควรที่จะปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำให้อยู่ที่ราวร้อยละ 4 ต่อปี ซึ่งเชื่อว่าหากปรับในอัตราคงที่ ค่าแรงขั้นต่ำในปัจจุบันจะอยู่ที่ราว 360-380 บาท 

นอกจากนี้พบว่า อัตราการปรับขึ้นค่าแรงตลอดระยะเวลา 10 ปี ถือว่ามีอัตราการปรับขึ้นค่าแรงที่ค่อนข้างต่ำ ดังนั้นการปรับค่าแรงขั้นต่ำในปัจจุบันควรพิจารณาปรับค่าแรงอย่างต่อเนื่อง ภายใต้เกณฑ์ 2 ปัจจัย คือ 

1.อัตราค่าครองชีพในปัจจุบันหรือภาวะเงินเฟ้อ ที่หากมีอัตราเงินเฟ้อที่สูง ก็ควรที่จะมีการปรับอัตราค่าแรง ให้แรงงานสามารถมีกำลังในการซื้อที่เท่าเดิม  และ 2.ควรจะพิจารณาจากความสามารถในการผลิตของแรงงาน ที่หากมีความสามารถมาก นายจ้างก็ควรให้รางวัลตอบแทนการผลิตที่แรงงานสร้างให้ 

อ.เศรษศาสตร์ ชี้ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 492 บาท ทำเงินเฟ้อพุ่ง เร่งนายจ้างเลิกจ้างเร็วขึ้น

อย่างไรก็ตาม หากมีการเรียกร้องค่าแรงขั้นต่ำที่สูงเกินไป จะส่งผลเสีย 2 อย่างตามมา คือ 1.สภาพเศรษฐกิจโดยรวมจะฟุบต่อเนื่องยาวนาน และจะทำให้แรงงานอาจถูกเลิกจ้าง หรือสูญเสียตำแหน่งงานในหลายสาขาการผลิต 

และ 2.จะเป็นการกระตุ้นให้ต้นทุนของนายจ้างในการผลิตเพิ่มสูงขึ้น และในระยะยาวจะส่งผลให้นายจ้างลงทุนในการนำเครื่องจักรหรือเทคโนโลยี เข้ามาใช้ทดแทนแรงงาน ซึ่งจะทำให้แรงงานถูกลดจำนวนลง.


ภาพจาก แฟ้มภาพ TNN ONLINE

ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :

แท็กบทความ