TNN "Rain bomb" ถล่ม ต้นเหตุน้ำป่าหลากท่วมหน้า ม.พะเยา

TNN

ภูมิภาค

"Rain bomb" ถล่ม ต้นเหตุน้ำป่าหลากท่วมหน้า ม.พะเยา

Rain bomb ถล่ม  ต้นเหตุน้ำป่าหลากท่วมหน้า ม.พะเยา

นักวิชาการเผยข้อมูลเกิดฝนตกหนักมากเหมือนระเบิดฝน (Rain bomb) ในพื้นที่ จ.พะเยา จนทำให้เกิดน้ำป่าหลากท่วมบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยพะเยา

เหตุการณ์น้ำหลากท่วมบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยพะเยา ช่วงเช้าวันที่ 17 กันยายน สภาพหอพัก บ้านเรือน รถยนต์ อยู่ในสภาพจมน้ำ นิสิต นักศึกษา รวมถึงประชาชนต้องอพยพออกจากพื้นที่


นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย เปิดเผยข้อมูลผ่านเฟซบุ๊ก Sonthi Kotchawat ระบุ Rain bomb ถล่ม จ.พะเยา โดยอธิบายว่า


1. ร่องมรสุมความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับสภาวะโลกร้อนขึ้น และปรากฏการณ์ลานีญากำลังปานกลางทำให้น้ำบนผิวโลก และทะเลถูกระเหยขึ้นเป็นไอน้ำสะสมในบรรยากาศในปริมาณมาก และไปรวมกับแถบของไอน้ำหรือแม่น้ำในบรรยากาศ (Atmosphe ric River) ที่พาดผ่านจับตัวกันเป็นเมฆฝนบนท้องฟ้ากระจัดกระจายทั่วไปในร่องมรสุมที่พาดผ่าน


เมื่อลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน จะพัดพาเมฆฝนมารวมกันเป็นกลุ่มที่ร่องมรสุมอากาศเย็นปะทะความชื้นทำให้เกิดฝนตกหนักมาก(Heavy rainfall) ถึง 106.5 มิลลิเมตรเหมือนระเบิดฝน หรือ Rain bomb ตกลงในพื้นที่อำเภอดอกคำใต้ และอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เกิดเป็นน้ำป่าจากดอยโตน น้ำห้วยเกี้ยง แม่กาหลวง แม่กาไร่ และไหลลงสู่กว๊านพะเยา เกิดน้ำท่วมหนักสูงเกือบ 2 เมตรในมหาวิทยาลัยพะเยา และพื้นที่ใกล้เคียง


2. ภาวะ Rain bomb หรือฝนตกกระหน่ำหนักในพื้นที่บางแห่ง (ไม่ตกกระจัดกระ จายในวงกว้าง) แบบนี้มีโอกาสเกิดขึ้นอีกในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณที่มีร่องมรสุมความกดอากาศต่ำพาดผ่าน หากเกิดปะทะกับแถบของไอน้ำหรือแม่น้ำในบรรยากาศที่พาดผ่านมาพอดีอาจทำให้เกิดระ เบิดฝนได้ ทำให้เกิดความเสียหายน้ำท่วมหนักมาก ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีพายุเข้า


Rain bomb ถล่ม  ต้นเหตุน้ำป่าหลากท่วมหน้า ม.พะเยา


สอดคล้องกับข้อมูล รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ประธานกรรมการบริหาร Futuretales LAB, MQDC และผู้เชี่ยวชาญ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า


เช้าตรู่ 17 กันยายน เกิดอะไรขึ้นที่ จ.พะเยา เกิดฝนตกหนักในเวลาจำกัด ทำให้น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่บริเวณหน้า ม.พะเยา (ตัวเลขปริมาณฝนรายวันจาก สสน. 106 mm) นักศึกษา และประชาชนบริเวณนั้นไม่ทันตั้งตัว สูญเสียทรัพย์สิน โดยเฉพาะรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เป็นต้น โชคดีที่หนีขึ้นชั้นบนได้ทัน เพราะน้ำมีความเร็วมาก และเข้าท่วมชั้นล่างอย่างรวดเร็ว


และเมื่อตรวจสอบแบบจำลองรายละเอียดสูง (ECMWF HS) ของวันที่ 15 กันยายน เวลา 07.00 น. พบว่ามีการคาดการณ์ปริมาณฝนตกหนักกว่า 100 mm บริเวณพื้นที่ตอนใต้ของ จ.พะเยา ช่วงวันที่ 17 กันยายน เวลา 01.00-04.00 น. แสดงว่าเราสามารถรู้ล่วงหน้าถึงประมาณ 2 วัน


คำถามจึงตามมาว่ามีการติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวัง  และเตือนภัยในพื้นที่หรือไม่ ? ซึ่งจากการจัดทำแผนที่น้ำท่วม จาก Simulation เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมันอันตรายจนเกินคำบรรยาย ทั้งความเร็วกระแสน้ำ และความลึก โชคดีที่ไม่มีผู้เสียชีวิต


Rain bomb ถล่ม  ต้นเหตุน้ำป่าหลากท่วมหน้า ม.พะเยา


ข้อมูลและภาพ : เฟซบุ๊ก Sonthi Kotchawat  , เฟซบุ๊ก รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง