โควิดโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย XBB เริ่มอ่อนกำลัง ผู้ติดเชื้อลดลงต่อเนื่อง
ศูนย์จีโนมฯ เผยผลติดตามโควิดโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย XBB ที่เริ่มระบาดหลายประเทศทั่วโลก โดยสิงคโปร์ประเทศแรกที่พบผู้ติดเชื้อ พบว่าโอมิครอน XBB เริ่มอ่อนกำลังหลังจำนวนผู้ติดเชื้อเริ่มลดลงต่อเนื่อง
ศูนย์จีโนมฯ เผยผลติดตามโควิดโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย XBB ที่เริ่มระบาดหลายประเทศทั่วโลก โดยสิงคโปร์ประเทศแรกที่พบผู้ติดเชื้อ พบว่าโอมิครอน XBB เริ่มอ่อนกำลังหลังจำนวนผู้ติดเชื้อเริ่มลดลงต่อเนื่อง
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยข้อมูลผ่านพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics รายงานผลการติดตามสถานการณ์ระบาดโควิด-19 เชื้อโอมิครอน สายพันธุ์ย่อยที่กำลังระบาดในหลายประเทศ และเริ่มพบในประเทศไทย
โดยรายงานล่าสุดจากกระทรวงสาธารณสุขประเทศสิงคโปร์แจ้งว่า แม้สิงคโปร์จะพบโอไมครอน "XBB" มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 22 แต่ปรากฏว่าความเสี่ยงของผู้ที่ติดเชื้อโอไมครอน "XBB" ที่จะเจ็บป่วยต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล "น้อยกว่า" ผู้ติดเชื้อโอไมครอน "BA.5" ที่ระบาดมาก่อนหน้าถึงร้อยละ 30
ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อโอมิครอน XBB และ XBB.1 ในสิงคโปร์ที่ต้องเข้ารักษาตัวใน รพ.และเสียชีวิตมีจำนวนไม่มาก น่าจะมีสาเหตุมาจาก 6 ปัจจัยหลักคือ
1. ประชากรสิงคโปร์ให้ความร่วมมือในการใส่หน้ากากอนามัยโดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาล กลุ่มเปราะบางและญาติที่อยู่ใกล้ชิดกลุ่มเปราะบาง
2. ประชากรสิงคโปร์ได้รับวัคซีนครบโดส 92%
3. ประชากรสิงคโปร์ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นถึง 79%
4. กลุ่มเด็กเล็กและผู้สูงอายุได้รับการฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึง
5. ประชากรสิงคโปร์ได้รับยาต้านไวรัสโคโรนา-2019 อย่างรวดเร็วหลังจากการติดเชื้อโดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง
6. ประชากรสิงคโปร์ได้รับยาแอนติบอดีสำเร็จรูปในรายที่แพทย์เห็นว่าจำเป็นอย่างรวดเร็วหลักจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง
7. มีการสุ่มถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งจีโนมจากผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในสิงคโปร์เพื่อตรวจสอบสายพันธุ์ถึงร้อยละ 2 ของผู้ติดเชื้ออันเป็นประโยชน์ในการควบคุม ป้องกัน และรักษาโควิด-19 ในฉับพลันทันที
สำหรับ 4 อันดับแรกในกลุ่มประเทศอาเซียนที่มีการสุ่มถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสโควิด-19 มากที่สุด คือ บรูไน ร้อยละ 5.3 อินโดนีเซีย ร้อยละ 2 สิงคโปร์ ร้อยละ 1.9 และไทย ร้อยละ 0.4
ข้อมูลจาก Center for Medical Genomics
ภาพจาก แฟ้มภาพ AFP