TNN กรมวิทย์ฯ แจงไทยพบโควิด BQ.1 รายแรก เมื่อ ส.ค.ชี้เป็นสายพันธุ์ที่ต้องจับตา

TNN

เกาะติด COVID-19

กรมวิทย์ฯ แจงไทยพบโควิด BQ.1 รายแรก เมื่อ ส.ค.ชี้เป็นสายพันธุ์ที่ต้องจับตา

กรมวิทย์ฯ แจงไทยพบโควิด BQ.1 รายแรก เมื่อ ส.ค.ชี้เป็นสายพันธุ์ที่ต้องจับตา

กรมวิทย์ฯ แจงกรณีพบสายพันธุ์ BQ.1 รายแรกในไทย เผยตรวจพบเมื่อ ส.ค.65 ในชื่อ BE.1.1 และปรับเป็น BQ.1 หลังมีข้อมูลมากขึ้น ชี้เป็นสายพันธุ์ที่ต้องจับตา ย้ำระบบเฝ้าระวังเชื้อกลายพันธุ์ของประเทศยังคงดำเนินการอย่างเข้มงวด

กรมวิทย์ฯ แจงกรณีพบสายพันธุ์ BQ.1 รายแรกในไทย เผยตรวจพบเมื่อ ส.ค.65 ในชื่อ BE.1.1 และปรับเป็น BQ.1 หลังมีข้อมูลมากขึ้น ชี้เป็นสายพันธุ์ที่ต้องจับตา ย้ำระบบเฝ้าระวังเชื้อกลายพันธุ์ของประเทศยังคงดำเนินการอย่างเข้มงวด


วันนี้ (20 ต.ค.65) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวพบโควิด 19 สายพันธุ์ BQ.1 เป็นรายแรกในไทยว่า ผู้ติดเชื้อ BQ.1 ที่ตรวจพบในประเทศไทย จำนวน 1 ราย เป็นชายชาวต่างชาติ อายุ 40 ปี เดินทางมาจากประเทศจีน 

เมื่อป่วยได้เข้ารักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ตั้งแต่สิงหาคม 2565 ไม่มีอาการมาก ปัจจุบันหายแล้ว ต่อมาทางโรงพยาบาลส่งตัวอย่างมาตรวจทางห้องปฏิบัติการและสุ่มตรวจสายพันธุ์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และได้ทำการถอดรหัสพันธุกรรมตัวอย่างดังกล่าว 

จากนั้นส่งเข้าฐานข้อมูล GISAID ตั้งแต่ 21 กันยายน 2565 ซึ่งในขณะนั้นยังถูกจัดเป็นสายพันธุ์ BE.1.1 เป็นลูกหลานของสายพันธุ์ BA.5.3 ต่อมาเมื่อมีข้อมูลมากขึ้น และเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2565 ได้ถูกปรับเป็นสายพันธุ์ BQ.1 

กรมวิทย์ฯ แจงไทยพบโควิด BQ.1 รายแรก เมื่อ ส.ค.ชี้เป็นสายพันธุ์ที่ต้องจับตา

 "เมื่อส่งข้อมูลฐานข้อมูล GISAID ตอนแรกอาจถูกกำหนดเป็นสายพันธุ์หนึ่ง เมื่อมีข้อมูลมากพอก็อาจถูกเปลี่ยนเป็นอีกสายพันธุ์ได้ ซึ่งการจัดกลุ่มสายพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงตลอด เนื่องจากมีข้อมูลในฐานข้อมูลเพิ่มขึ้นตลอดเวลา 

เช่น ตอนแรกเป็นสายพันธุ์ BE แต่พอมีการส่งข้อมูลมามากขึ้นก็อาจจะเห็นว่าไม่น่าใช่ เพราะมีบางส่วนที่ต่างออกไป คือ ตำแหน่ง N406K และมีแบบนี้เหมือนกันมากขึ้น จึงปรับให้เป็นตัวใหม่กลายเป็น BQ ทำให้เรียกชื่อเปลี่ยนไป อย่างก่อนหน้านี้ที่พบ BF.7 ก็เป็นการเปลี่ยนชื่อเช่นเดียวกัน" นายแพทย์ศุภกิจ กล่าว

กรมวิทย์ฯ แจงไทยพบโควิด BQ.1 รายแรก เมื่อ ส.ค.ชี้เป็นสายพันธุ์ที่ต้องจับตา

นายแพทย์ศุภกิจ กล่าวว่า สายพันธุ์ BQ.1 เป็นลูกหลานของสายพันธุ์ BA.5 ที่องค์การอนามัยโลก ระบุเป็นสายพันธุ์ที่เฝ้าจับตามอง อย่างไรก็ตามแม้ปัจจุบันสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด 19 ของประเทศไทย ได้ปรับลดระดับลงมา 

แต่ระบบเฝ้าระวังเชื้อกลายพันธุ์ของประเทศยังคงดำเนินการอย่างเข้มงวด หากพบการกลายพันธุ์ของเชื้อที่ต้องจับตามอง ระบบเฝ้าระวังจะสามารถตรวจจับได้

กรมวิทย์ฯ แจงไทยพบโควิด BQ.1 รายแรก เมื่อ ส.ค.ชี้เป็นสายพันธุ์ที่ต้องจับตา

“เมื่อถามว่าสายพันธุ์ BQ.1 มีอัตราการแพร่เร็วและรุนแรงหรือไม่นั้น ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก เพราะยังไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ในเรื่องนี้ ขอใช้ชีวิตโดยการป้องกันตนเองตามปกติ เน้นย้ำว่า วัคซีนเข็มกระตุ้นยังมีความจำเป็น โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 608 

ในกรณีที่ฉีดเข็มสุดท้ายเกิน 4-6 เดือนไปแล้วขอให้มาฉีดกระตุ้น เมื่อใดที่พบการระบาดเพิ่มขึ้น มาตรการป้องกันตนเองทั้งการใส่หน้ากาก ล้างมือ และเว้นระยะห่าง ยังใช้รับมือการแพร่ระบาดได้ทุกสายพันธุ์" นพ.ศุภกิจ กล่าว.


ข้อมูลจาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ภาพจาก แฟ้มภาพ Reuters

ข่าวแนะนำ