TNN สถาบันสุขภาพเด็กฯ เผย เด็กติดเชื้อโควิดเพิ่มขึ้น ร้อยละ 30 ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง

TNN

เกาะติด COVID-19

สถาบันสุขภาพเด็กฯ เผย เด็กติดเชื้อโควิดเพิ่มขึ้น ร้อยละ 30 ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง

สถาบันสุขภาพเด็กฯ เผย เด็กติดเชื้อโควิดเพิ่มขึ้น ร้อยละ 30 ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง

ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เผย เด็กติดโควิด-19 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 30 แต่ความรุนแรงของโรคในเด็กไม่มาก โดยร้อยละ 50 เด็กติดเชื้อไม่มีอาการ หรือ อาการน้อย ขณะที่สถานการณ์เตียง รพ.เด็ก ตอนนี้ถือว่า ค่อนข้างหนาแน่น

วันนี้ (21 ก.พ.65) นพ.อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ระบุถึง สถานการณ์ผู้ป่วยเด็กในช่วงการแพร่ระบาดโควิดสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) พบว่า ภาพรวมเด็กติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้น อยู่ที่ร้อยละ 30 จากจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด 

แต่ความรุนแรงของโรคในเด็กไม่มาก มีเพียงไม่ถึงร้อยละ 3 ที่อาการเปลี่ยนแปลงไปสู่สีเหลือง สีแดง ส่วนใหญ่ที่อาการจะรุนแรงจะเป็นผู้ป่วยในกลุ่มที่มีโรคประจำตัวร่วม เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคสมอง อัตรานอน รพ. อยู่ที่ร้อยละ 15-17 ร้อยละ 50 เด็กไม่มีอาการ 

ในส่วนของอัตราครองเตียงในรพ.เด็ก ทั้งผู้ป่วยเด็กติดเชื้อโควิดและผู้ปกครอง รวม 76 คน ในจำนวนนี้มีผู้ปกครอง 20 คน ขณะที่ โรงพยาบาลเด็กมีเตียง รองรับอยู่ประมาณ 80 เตียง เตียงเด็ก แรกเกิด 8 เตียง ครองเตียงแล้ว 1 เตียง

โดยสถานการณ์เตียง รพ.เด็ก ตอนนี้ถือว่าค่อนข้างหนาแน่น ซึ่งขณะนี้โรงพยาบาลเด็กจะรับเด็กติดเชื้อโควิดรักษาในโรงพยาบาล เน้นอาการกลุ่มสีเหลือง สีแดง และอายุน้อยกว่า 5 ปีเป็นหลัก 

สถาบันสุขภาพเด็กฯ เผย เด็กติดเชื้อโควิดเพิ่มขึ้น ร้อยละ 30 ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง

นอกจากนี้ ยังพบว่า ในช่วงการแพร่ระบาดโควิดสายพันธโอมิครอน หรือช่วงครึ่งเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เด็กอายุ 5-11 ปี ติดเชื้อโควิดเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่ติดมาจากคนในครอบครัว ยังไม่ได้รับวัคซีนโควิด และบางส่วนมีการเปิดเรียน ขณะที่เด็กแรกเกิดติดเชื้อพบว่าปัจจัยหลักมาจากมารดาที่ติดเชื้อขณะท้อง

ส่วนผู้ป่วยเด็กติดเชื้อโควิด-19 ที่เข้าสู่ระบบการรักษาตัวที่บ้านของโรงพยาบาลเด็ก ครองเตียง อยู่ประมาณ 250 คน ส่วนยอดสะสมตั้งแต่เดือนมกราคมอยู่ที่ 900 กว่าคน โดยเจ้าหน้าที่จะมีการติดตามอาการผ่านช่องทางออนไลน์ และโทรสอบถามอาการจากผู้ปกครอง วันละ 1-2 ครั้ง โดยเด็กที่เข้าระบบ HI ไปส่วนใหญ่มีอาการสีเขียว 

สำหรับการนำเด็กติดเชื้อโควิด-19 เข้าสู่ระบบรักษาตัวที่บ้านจะมาจาก 3 ช่องทางหลักๆ คือ จากคลินิกของโรงพยาบาลเด็ก และจากสายด่วน 1330 ของสปสช. และจากที่อื่น โดยจะมีการคัดกรองเข้าระบบประเมินอาการและประวัติ 

สถาบันสุขภาพเด็กฯ เผย เด็กติดเชื้อโควิดเพิ่มขึ้น ร้อยละ 30 ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง

ทั้งนี้ หากเป็นเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี หากพบการติดเชื้อจะขอให้มาตรวจและทำการรักษาที่โรงพยาบาล ในเด็กเมื่อพบเชื้อครั้งแรก ไม่ต้องตรวจเชื้อซ้ำ จะรักษาอาการที่คล้ายกับไข้หวัด และไข้จะลดลงในช่วง 2-3 วันแรก หลังจากพบเชื้อ  โดยพยาบาล 1 คน ดูแลเด็ก 20-30 คน 

ขณะที่ ภาพรวมเตียงเด็กในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล มีประมาณ 20 แห่ง ทั้งของสังกัดสำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร และสังกัดกรมการแพทย์ รวม 500 เตียง ครองเตียงไปแล้ว ร้อยละ 80

ส่วนศูนย์พักคอยสำหรับเด็กเพื่อส่งต่อบริเวณศูนย์สร้างสุขทุกวัยเกียกกาย เขตดุสิต ขณะนี้มีผู้ป่วยเด็ก 12 คน จากจำนวนเตียง 52 เตียง ซึ่งรับเด็ก 5-11ปี

อย่างไรก็ตาม ย้ำว่าแนวทางการรักษาโควิดสายพันธุ์โอมิครอนในเด็ก เหมือนไข้หวัด ส่วนใหญ่มีอาการ 5 วัน และดีขึ้น แต่ต้องรักษาตามอาการ 10 วัน จ่ายยาน้ำฟาวิพิราเวียร์.


ข้อมูลและภาพจาก ทีมข่าว TNN ช่อง 16

ข่าวแนะนำ