TNN บูรณาการนำร่อง “ดิน น้ำ ป่า” ในพื้นที่ จ.น่าน เฉลิมพระเกียรติ

TNN

กิจกรรม&ข่าวประชาสัมพันธ์

บูรณาการนำร่อง “ดิน น้ำ ป่า” ในพื้นที่ จ.น่าน เฉลิมพระเกียรติ

บูรณาการนำร่อง “ดิน น้ำ ป่า” ในพื้นที่ จ.น่าน เฉลิมพระเกียรติ

สทนช.ร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บูรณาการนำร่อง “ดิน น้ำ ป่า” ในพื้นที่ จ.น่าน

สทนช.ร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ เปิดโครงการส่งเสริมการรับรู้และสร้างความเข้าใจในการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยอาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (NbS) บูรณาการหน่วยงานเดินหน้าปลูกจิตสำนึกรักษ์ “ดิน น้ำ ป่า” นำร่องในพื้นที่ อ.นาน้อย จ.น่าน มั่นใจช่วยสร้างความมั่นคงของน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภค-บริโภค ภายใต้แผนแม่บทฯน้ำ 20 ปี ได้อย่างยั่งยืน

บูรณาการนำร่อง “ดิน น้ำ ป่า” ในพื้นที่ จ.น่าน เฉลิมพระเกียรติ


วันนี้ (18 ก.ค. 67) นายจักรพงษ์ แสงมณี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการส่งเสริมการรับรู้และสร้างความเข้าใจในการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยอาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based Solution : NbS) ภายใต้ชื่องาน “รักษ์โลก ด้วยมือเรา” เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 ณ พื้นที่บ้านป่าสักหมู่ 3 ตำบลเชียงของ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน โดยมี นายชุมลาภ เตชะเสน ผู้ช่วยเลขาธิการ สทนช. นายเทวา ปัญญาบุญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน พลตรี คณิศร อาสมะ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 38 นายชวลิต กันคำ ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นายบัณฑูร สุนทรสมบัติ นายอำเภอนาน้อย นางสาวเข็มอัปสร สิริสุขะ ผู้แทนประชาสัมพันธ์ สทนช. (Brand Ambassador : BA) ผู้แทนหน่วยงานจากภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค คณะกรรมการลุ่มน้ำ องค์กรผู้ใช้น้ำ เครือข่ายจิตอาสา ประชาชน นักเรียนและสื่อมวลชน รวมกว่า 300 คน เข้าร่วมกิจกรรม 

บูรณาการนำร่อง “ดิน น้ำ ป่า” ในพื้นที่ จ.น่าน เฉลิมพระเกียรติ

เลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการสร้างความมั่นคงด้านน้ำให้กับประชาชนทุกภาคส่วนในทุกพื้นที่อย่างเท่าเทียม ภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี และแผนยุทธศาสตร์ชาติ มุ่งเน้นการบูรณาการทำงานในเชิงพื้นที่โดยการผสมผสานรูปแบบการจัดการทรัพยากรน้ำ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ควบคู่กับการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมเชื่อมโยงกันตั้งแต่องค์กรผู้ใช้น้ำ คณะกรรมการลุ่มน้ำ และคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ไม่ได้มุ่งหมายเพียงการพัฒนาแหล่งน้ำใหม่ให้เพียงพอต่อความต้องการน้ำเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทรัพยากรน้ำ การป้องกันผลกระทบจากดินถล่ม ตลอดจนการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินด้วย ทั้งนี้ สทนช. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีควบคู่กับการคงไว้ซึ่งประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ โดยการใช้มาตรการเชิงนิเวศและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีความรู้ความเข้าใจในแนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยอาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based solution : NbS) เพื่อคงไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ ลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ซึ่งเป็นผลจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ที่มุ่งเน้นการพัฒนา จนละเลยความสำคัญในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้มีความยั่งยืน จนทำให้พื้นที่ต้นน้ำเกิดความเสื่อมโทรม หน้าดินถูกชะล้างพังทลาย เกิดปัญหาดินโคลนถล่ม

บูรณาการนำร่อง “ดิน น้ำ ป่า” ในพื้นที่ จ.น่าน เฉลิมพระเกียรติ

สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยอาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (NbS) เพื่อสร้างความมั่นคงของน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภค-บริโภคที่ยั่งยืนนั้น เป็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (ฉบับปรับปรุงช่วงที่ 1 พ.ศ. 2566-2580) ในด้านที่ 4 การอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทรัพยากรน้ำ โดยเฉพาะการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ และการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ในพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่เกษตรลาดชัน ซึ่งที่ผ่านมา 6 หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สทนช. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมป่าไม้ กรมพัฒนาที่ดิน กรมทรัพยากรธรณี และกรมทรัพยากรน้ำ ได้ร่วมกันลงนามบันทึกความเข้าใจ “การอนุรักษ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศ และป้องกันการชะล้างพังทลายของดินแบบบูรณาการ ภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี” หรือเรียกโดยย่อว่า MOU “ดิน น้ำ ป่า” โดยบูรณาการข้อมูลทางวิชาการ เทคโนโลยี นวัตกรรม เครื่องจักร เครื่องมือ รวมถึงบุคลากร ตามบทบาทและภารกิจของแต่ละหน่วยงาน ทั้งนี้ สทนช. ได้กำหนดให้พื้นที่บ้านป่าสักหมู่ 3 ตำบลเชียงของ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน เป็นพื้นที่ต้นแบบภายใต้ MOU “ดิน น้ำ ป่า” ด้วย 

บูรณาการนำร่อง “ดิน น้ำ ป่า” ในพื้นที่ จ.น่าน เฉลิมพระเกียรติ

นอกจากนี้ จังหวัดน่าน ถือว่าเป็นพื้นที่แหล่งต้นน้ำที่สำคัญของเเม่น้ำน่าน ก่อนไหลลงเขื่อนสิริกิติ์ และไหลไปรวมกับแม่น้ำปิง แม่น้ำวัง และแม่น้ำยม บรรจบรวมกลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา ที่หล่อเลี้ยงประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นอู่ข้าวอู่น้ำและพื้นที่เศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ โดยกิจกรรมในวันนี้ นับเป็นโอกาสอันดีที่หน่วยงานและประชาชนในพื้นที่ได้ร่วมกันแสดงออกถึงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมผสานพลังความสามัคคีในการร่วมเป็นจิตอาสาในกิจกรรมสาธารณะภายใต้ MOU “ดิน น้ำ ป่า” โดยมีการส่งมอบระบบประปาที่มีการปรับปรุงแล้วเสร็จให้กับบ้านป่าสักอำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน พร้อมร่วมกันปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน การสร้างฝายชะลอน้ำแบบคอกหมูเพื่อดักตะกอน และการปลูกไม้ยืนต้น จำนวน 72 ต้น เพื่อสร้างความชุ่มชื้นในดิน

บูรณาการนำร่อง “ดิน น้ำ ป่า” ในพื้นที่ จ.น่าน เฉลิมพระเกียรติ

“ปัจจุบันต้องยอมรับว่ากิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่มุ่งเน้นการพัฒนาจนละเลยความสำคัญในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้มีความยั่งยืน ทำให้พื้นที่ต้นน้ำเกิดความเสื่อมโทรม หน้าดินถูกชะล้างพังทลาย เกิดปัญหาดินโคลนถล่ม โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดน่าน ทำให้คุณภาพน้ำที่ใช้ในการผลิตประปา ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ไม่ได้คุณภาพ สทนช.จึงได้นำแนวทางการแก้ปัญหาโดยใช้ธรรมชาติเป็นพื้นฐาน หรือ NbS มาใช้แก้ปัญหาดังกล่าว ได้แก่ การจัดพื้นที่ต้นน้ำโดยการปลูกป่า เพื่อสร้างความชุ่มชื้นในดิน ลดการพังทลายของหน้าดิน การจัดการลำน้ำโดยการทำฝายชะลอน้ำ เพื่อดักตะกอนไม่ให้กระทบต่อการผลิตประปา การจัดการตลิ่งโดยการปลูกหญ้าแฝกเพื่อลดการพังทลายของตลิ่ง ควบคู่กับการจัดการระบบผลิตประปาให้มีประสิทธิภาพ พร้อมเดินหน้าส่งเสริมผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วมจากคนในชุมชนในการฟื้นฟูระบบนิเวศ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาด้านน้ำครอบคลุมในทุกมิติ สามารถบริหารจัดการทรัพยากรน้ำได้อย่างยั่งยืน” เลขาธิการ สทนช. กล่าว


ที่มา, ภาพ TNN


ข่าวแนะนำ