
ผลการศึกษาใหม่ที่เผยแพร่ในวารสาร Science ระบุว่า ในช่วงปี 2000-2016 โลกของเราสูญเสียความชื้นไปแล้วต่ำกว่า 2,614 กิกกะตัน ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในการกักเก็บความชื้นและแหล่งน้ำต่างๆ ทั้งน้ำบาดาล แม่น้ำ ทะเลสาบ ความชื้นในพื้นดิน และธารน้ำแข็ง โดยความชื้นที่โลกสูญเสียไปนั้นเทียบเท่ากับระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 1.95 มม./ปี
นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงของวัฏจักรอุทกวิทยาโลก โดยติดตามการเคลื่อนตัวของน้ำระหว่างผิวดินกับชั้นบรรยากาศ ผ่านโครงการดาวเทียม Gravity Recovery and Climate Experiment (GRACE) ตั้งแต่ปี 2002 ทำให้เห็นถึงการลดลงของน้ำใต้ดิน การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล และการสูญเสียธารน้ำแข็ง กำลังสั่นคลอนการหมุนของโลก ซึ่งการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทำให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำบนพื้นผิวย้อนหลังไปไกลหลายทศวรรษ และพบว่าโลกมีแนวโน้มที่แห้งแล้งลงเรื่อยๆ ซึ่งเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สรุปข่าว
โดยปกติแล้วปริมาณน้ำฝนทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกปี ในปี 1997-1998 เป็นช่วงที่หลายพื้นที่เผชิญกับปรากฏการณ์เอลนีโญที่รุนแรง อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เกิดความแห้งแล้งผิดปกติในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 ปริมาณน้ำฝนทั่วโลกลดลง ซ้ำเติมสถานการณ์โลกยิ่งเลวร้ายไปจากเดิม
งานวิจัยยังระบุว่า บริเวณภาคเหนือของอินเดีย รัฐแคลิฟอร์เนียตอนกลางของสหรัฐฯ และภาคตะวันออกของจีน เสี่ยงเผชิญกับการสูญเสียน้ำใต้ดินในอัตราที่สูงมากกว่าพื้นที่อื่นๆ ภัยแล้งที่รุนแรงในหลายพื้นที่ทั่วโลกช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ส่งผลให้โลกสูญเสียน้ำในปริมาณกว่า 2,600 กิกกะตัน ซึ่งเทียบเท่ากับปริมาณน้ำในอ่าวซิดนีย์มากถึง 4,000 เท่า หากโลกยังเผชิญกับการสูญเสียความชื้นในอัตราที่เกิดขึ้น ก็จะส่งผลกระทบกับภาคการเกษตรในทั่วโลก และยังต้องรับมือกับภัยแล้งที่รุนแรง และยาวนานมากขึ้นกว่าเดิม
ที่มาข้อมูล : abc.net.au
ที่มารูปภาพ : Envato

วาสนา ชูติสินธุ