
“โซเชียลมีเดีย” โลกใบใหญ่ใกล้ตัว ตื่นมาเป็นต้องเช็กมือถือรัว ๆ จนกลายเป็นพฤติกรรมเสพติดที่ส่งผลเสียในระยะยาว การที่เรามีพฤติกรรมแบบนี้จะป่วยมั้ย? แล้วติดจอขนาดไหนที่น่าเป็นห่วงและควรพบจิตแพทย์?
อาการติดจอ เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับหลายเพศ หลายวัย ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของเรา การที่ตื่นมาแล้วมีพฤติกรรมเคยชินกับการจับโทรศัพท์มือถือขึ้นมาเล่นนั้น อาจจะยังไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นโรคทางจิตเวชหรือไม่ การพิจารณาเกี่ยวกับโรคหรืออาการทางจิตเวช จะพิจารณาจากหลายองค์ประกอบ ซึ่งหากมีข้อสงสัยหรืออยากเช็กด้วยตัวเองเบื้องต้น สามารถทำได้ดังนี้
1.การที่เราติดมือถือ ส่งผลกระทบอะไรกับชีวิตประจำวันของเราหรือไม่ เช่น อะไรที่เราเคยทำได้ ทำไม่ได้แล้ว หรือการเล่นมือถือส่งผลกับการทำงาน การเรียน นอนหลับไม่ดีเหมือนเคย เหนื่อยล้าอ่อนเพลีย จากการพักผ่อนไม่เพียงพอ

สรุปข่าว
2.อารมณ์ความรู้สึกของเรามีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น ทุกข์ใจมากขึ้นเมื่อไม่ได้เล่น หรือเครียดมากขึ้นเมื่อเล่น หรือเกิดความวิตกกังวลขึ้น
3.ความสัมพันธ์ของเราแย่ลง ไม่ว่าจะเป็นกับเพื่อน กับครอบครัว กับคนรัก
4.ระยะเวลาในการเล่นมากน้อยเพียงใด หากเล่นจนกินเวลาอื่น ๆ ในชีวิต โดยไม่มีกิจกรรมอื่นแทรกเลย สถานการณ์แบบนี้จะค่อนข้างน่ากังวล
5.ไม่สามารถควบคุมอาการติดจอนั้น หรือไม่สามารถกำหนดระยะเวลาในการเล่นโทรศัพท์หรือสื่อออนไลน์นั้นได้
6.พฤติกรรมเหล่านี้คงอยู่เป็นระยะเวลานานเท่าใด
ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะถูกนำมาใช้ประกอบการประเมินโดยจิตแพทย์ หากมีความสงสัยไม่แน่ใจว่าตนเองมีอาการติดจอมากเกินไปหรือไม่ แนะนำให้พบกับจิตแพทย์เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง เพื่อนำไปสู่การดูแลที่เหมาะสมต่อไป
หากสนใจปรึกษาจิตแพทย์ และนักจิตวิทยาคลินิก ติดต่อได้ที่
-Me Center คริสตัล ดีไซน์ เซนเตอร์ (CDC) ชั้น 2
โทร 085-355-2255
-Me Center ศูนย์สมองและสุขภาพจิต ชั้น 8 โรงพยาบาลอินทรารัตน์
โทร 02-481-5555 ต่อ 8300
-Line Official: @mecenter (https://lin.ee/mCheDsu)
ที่มาข้อมูล : ฟิวส์ ธีรวรรณ ดีบ้านคลอง นักจิตวิทยาคลินิก Me Center
ที่มารูปภาพ : Envato