
ก่อนเล่นน้ำ
- สวมเสื้อผ้าสีอ่อน หลวม น้ำหนักเบา ระบายอากาศได้ดี
- พกน้ำดื่มติดตัวไว้เพื่อป้องกันการขาดน้ำ
- สวมหมวกปีกกว้าง แว่นกันแดดและทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF ตั้งแต่ 15 ขึ้นไป
- ใส่รองเท้าแตะ เพื่อป้องกันการอับชื้น ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคเชื้อราที่เท้า

สรุปข่าว
ช่วงเล่นน้ำ
- ดื่มน้ำบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์น้ำหวาน น้ำอัดลม
- ไม่เล่นน้ำกลางแจ้งเป็นเวลานาน โดยเฉพาะช่วง เวลา 11.00 – 15.00 น.
- ควรเล่นเป็นกลุ่ม และหากมีอาการตัวร้อนจัด ผิวหนังแดงและแห้ง เหงื่อไม่ออก สับสน มึนงง ให้รีบแจ้งบุคคลใกล้ชิดเพื่อพาไปพบแพทย์
- ไม่เล่นน้ำแข็งหรือน้ำเย็นจัดเพราะอาจป่วยหรืออาจเกิดอุบัติเหตุได้
หลังเล่นน้ำ
- รีบอาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที
- สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี
- ดื่มน้ำบ่อย ๆ ไม่ต้องรอกระหาย
- อยู่ในบ้าน หรือหรืออยู่ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเท
- ไม่เปิดพัดลมจ่อตรงตัว
สำหรับข้อควรระวังในการเล่นน้ำสงกรานต์
หากน้ำที่เราเล่นกันไม่สะอาด ถ้าน้ำเข้าตาก็ต้องล้างตาด้วยน้ำที่สะอาด ในกรณีที่สำลักน้ำเข้าทางปาก ก็จะขึ้นอยู่กับจำนวนเชื้อและลักษณะของน้ำ ถ้าน้ำมีเชื้อโรคไม่มาก ก็คงไม่ทำให้เกิดโรค แต่ถ้าในกรณีที่น้ำสำลักเข้าทางจมูก ก็คงจะต้องรอดูว่ามีอาการไข้ น้ำมูกไหล หรือปวดศีรษะหรือไม่ ซึ่งทั้งหมดเราสามารถป้องกันได้ด้วยการใช้น้ำสะอาดในการเล่นสงกรานต์
5 โรคต้องระวัง ช่วงสงกรานต์ ประกอบไปด้วย
1. โรคไวรัสตับอักเสบเอ
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสติดต่อกันผ่านทางน้ำลาย โดยในช่วงเทศกาลเล่นน้ำอาจทำให้มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ใช้แก้วน้ำร่วมกัน ใช้ช้อนร่วมกัน
2. ตาแดง ตาอักเสบ
การติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจเป็นเชื้อที่อยู่ในอากาศ ถ้าหากเป็นการติดเชื้อที่ดวงตาจากน้ำสกปรกจะเป็นโรคตาอักเสบ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ดวงตาจะเป็นหนองบวมและอักเสบ
3. เชื้อรา
โดยเฉพาะบริเวณซอกต่าง ๆ ตามร่างกาย อย่างซอกนิ้วมือ นิ้วเท้า ขาหนีบ บริเวณข้อพับต่าง ๆ
4. ท้องร่วง ท้องเสีย
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสที่ปนเปื้อนในอาหาร ฤดูร้อนเป็นฤดูที่เชื้อโรคเพิ่มจำนวนได้ง่าย ทำให้มีความเสี่ยงสูง
5. ไข้หวัด ปอดอักเสบ
เกิดจากการติดเชื้อ ทางระบบทางเดินหายใจ ซึ่งการเล่นน้ำทำให้อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลง
ที่มารูปภาพ : Canva

พรรณพิไล ปุกหุต