ปารีสเร่งกำจัดหนู พาหะนำสารพัดโรค รับโอลิมปิก 2024

ปารีสเร่งกำจัดหนู พาหะนำสารพัดโรค รับโอลิมปิก 2024

สรุปข่าว

หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับภาพยนตร์เอนิเมชันอันโด่งดัง Ratatouille ที่มีเจ้าหนูที่อาศัยอยู่ในกรุงปารีสเป็นพ่อครัว  นั่นไม่ใช่เรื่องตลกสำหรับชาวเมืองปารีส และอาจเป็นเรื่องน่าอับอายเมื่อสปอตไลท์ของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกตกอยู่ที่ปารีส


แอนน์-แคลร์ บูซ์ รองนายกเทศมนตรีเมืองปารีส ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบด้านสาธารณสุข กล่าวกับเอเอฟพีในการให้สัมภาษณ์ ว่า นอกจากการกำจัดเศษอาหารแบบหมดจดที่อาจล่อให้พวกหนูออกมาแล้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ฟันแทะยังได้ทำการปิดทางออกจากท่อระบายน้ำรอบๆ พื้นที่ด้วย


“ในบริเวณที่มีหนูจำนวนมาก เราก็วางกับดักไว้ล่วงหน้าก่อนการแข่งขันโอลิมปิก ทั้งกับดักหนูแบบกลไกและสารละลายเคมีถูกนำมาใช้เพื่อลดจำนวนประชากรหนูที่เป็นปัญหา” 


สำหรับก่อนหน้านี้ที่มี แคมเปญไวรัลบนโซเชียลมีเดียในปี 2021 ที่มีการติดแฮชแทค  #SaccageParis หรือ "ปารีสเมืองขยะ" โดยประชาชนได้โพสต์ภาพถังขยะที่ล้น เฟอร์นิเจอร์ริมถนนที่นำมาทิ้ง หรือพื้นที่สีเขียวรกร้าง ซึ่งส่งผลเสียต่อชื่อเสียงของเมืองที่ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองแห่งความโรแมนติกและความสง่างาม


ทั้งนี้ ก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ถนนและจัตุรัสต่างๆ ของที่นี่ได้รับการปรับปรุงใหม่หมดจด โดยมีอาคารเก่าแก่หลายแห่งที่ได้รับการปรับปรุงใหม่


บูซ์ ได้เน้นย้ำว่าปัญหาของหนูมีสาเหตุหลักมาจากอาหารที่ถูกทิ้งไว้บนพื้น หรือจากถังขยะที่ล้นออกมา ซึ่งเหล่านี้ปัญหากำลังได้รับการแก้ไขทั่วปารีสเป็นเวอร์ชันป้องกันหนูแบบใหม่โดย “สิ่งที่สำคัญที่สุด

คือถังขยะถูกปิดผนึกและปิด” รองนายกเทศมนตรีเมืองปารีส กล่าว


---หนูพาหะนำสารพัดโรค---


หนูเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคที่สำคัญที่เป็นปัญหาทางสาธารสุขทั่วโลก ซึ่งสามารถแพร่กระจายเชื้อมายังมนุษย์และสัตว์เลี้ยงได้อย่างรวดเร็ว เช่น 


โรคที่เกิดจากไวรัส คือ ฮันตาไวรัส (Hantavirus Pulmonary Syndrome)


โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย ได้แก่ โรคฉี่หนู (Leptospirosis) โรคกาฬโรค (plague) สครัปไทฟัส (scrub typhus)และมิวรีนไทฟัส (murine typhus) 


โรคที่เกิดจากหนอนพยาธิ ได้แก่ โรคพยาธิใบไม้ตับ (Opisthorchiasis) โรคพยาธิตัวกลม (Trichinosis) และโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Angiostrongyiasis) เป็นต้น 


มนุษย์สามารถติดเชื้อได้ 2 ทาง คือ การติดเชื้อทางตรง เช่น ถูกกัด รับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนอุจจาระของหนูที่มีตัวอ่อนระยะติดต่อ และสามารถติดต่อทางพื้นตินจากการสัมผัส 


ขณะที่การติดเชื้อทางอ้อม ได้แก่ การรับประทานกลุ่มปรสิตภายนอก (ectoparasite) เช่น เห็บ ไร เหา และหมัด รวมทั้งรับประทาน หอยน้ำจืดและโฮสต์พาราทีนิก เช่น กุ้ง ปู และลูกอ๊อดที่มีพยาธิระยะติดต่อโดยบังเอิญ จึงทำให้มีการแพร่กระจายเชื้อในมนุษย์สูงขึ้น 


ดังนั้น การป้องกันในการเกิดโรคเหล่านี้ควรทำความสะอาดบริเวณบ้านเป็นประจำ รับประทานอาหารที่ปรุงสุกและให้ความรู้กับประชาชนในการป้องกันการติดเชื้อจากหนูสู่มนุษย์


ที่มา : CNA /  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :

แท็กบทความ