การเมืองเครียด! เสพข่าวเยอะเกินไปเสี่ยงป่วย "ภาวะเครียดทางการเมือง"

การเมืองเครียด! เสพข่าวเยอะเกินไปเสี่ยงป่วย "ภาวะเครียดทางการเมือง"

สรุปข่าว

วันนี้ 18 มิ.ย. เป็นอีกหนึ่งวันที่คอการเมืองต้องเฝ้าหน้าจอทั้งวัน เพราะมีหลายเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองเรียงคิวเกิดขึ้นในวันนี้ 


ซึ่งแม้การเมืองจะเป็นเรื่องใกลตัวที่ทุกคนต่างให้ความสนใจ แต่การเสพข่าวการเมืองมากเกินไปก็นำไปสู่ภาวะเครียดทางการเมือง หรือ โรค Political Stress Syndrome (PSS) ได้โดยไม่รู้ตัว


ภาวะเครียดทางการเมือง คืออะไร?


กลุ่มอาการเครียดจากการเมือง (Political Stress Syndrome: PSS) ไม่ใช่โรคที่เกิดจากปัญหาทางสุขภาพจิต แต่เป็นปฏิกิริยาของอารมณ์และจิตใจที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่มีความสนใจปัญหาทางการเมือง ติดตามสถานการณ์การเมืองอย่างใกล้ชิด จนทำให้มีอาการทางกาย จิตใจ และกระทบต่อความสัมพันธ์กับผู้อื่น


นอกจากนี้ ความคิดคาดการณ์แนวโน้มทางการเมือง จำนำไปสู่ความรู้สึกวิตกกังวล หรือ กังวลต่อเหตุการณ์ในอนาคต (Anticipatory Anxiety) เช่น กลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์รุนแรงเฉกเช่นอุบัติการณ์ในอดีต เป็นความหวาดวิตกที่ฝังแฝงอยู่ในใจ


จากข้อมูลพบว่า 1 ใน 4 ของประชากร มีปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งบุคคลที่มีความเสี่ยงจากกลุ่มอาการเครียดจากการเมือง ได้แก่


1. กลุ่มนักการเมือง

2. กลุ่มสนับสนุนทั้ง 2 ฝ่าย

3. กลุ่มผู้ติดตาม

4. กลุ่มผู้สนใจข่าวสารการเมือง

5. กลุ่มผู้มีปัญหาสุขภาพจิต


ความเครียดทางการเมืองอาจแสดงออกทางกายได้ เช่น เครียด ปวดหัว มือสั่น และตัวสั่น ขณะที่ดูหรือฟังข่าวการเมือง นี่เป็นสัญญาณบอกว่า อาการเครียดทางการเมือมาถึงระดับไม่ค่อยสู้ดีแล้ว ควรต้องเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ 


วิธีลดความเครียดทางการเมือง


1. จำกัดเวลาการเสพข่าวไม่ให้มากเกินไป และใช้เวลาที่เหลือในการทำกิจกรรมอื่นๆ ที่นอกเหนือจากการตามข่าวสารบ้าง 


2. ระมักระวังเมื่อต้องแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เพราะการพูดคุยการเมืองเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และอาจนำมาสู่ความคิดขัดแย้งกัน จนนำไปสู่ความเครียดได้


3.สื่อสารการเมืองโดยข้อเท็จจริง ปราศจากอารมณ์ และยอมรับว่าทุกคนมีสทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็นของตัวเอง


4.ให้เวลากับตัวเองมากขึ้น การให้ความสนใจความเป็นไปของประเทศเป็นเรื่องที่ดี แต่เราจำเป็นต้องดูแลร่างกายและจิตใจของตัวเองเช่นกัน



ที่มา: กรมสุขภาพจิต, โรงพยาบาล BMHH

ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :

แท็กบทความ