

สรุปข่าว
คนทำงานต้องดู ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หนังตาตก ลืมตาไม่ขึ้นจากการใช้งานดางตาอย่างหนัก มีสาเหตุ และเกิดจากอะไร สามารถรักษาให้หายได้หรือไม่ ตามไปหาคำตอบได้ ในบทความนี้
ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง คืออะไร?
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (OCULAR MYASTHENIA GRAVIS) ถือเป็นภาวะที่เปลือกตาหรือกล้ามเนื้อยึดบริเวณลูกตาอ่อนแรง หลังจากมีการใช้งานไประยะหนึ่ง อาการที่สามารถเห็นได้ชัดคือ ผู้ป่วยจะมีลักษณะหนังตาตก ลืมตาไม่ขึ้น หาจุดโฟกัสของภาพหรือสิ่งที่กำลังมองอยู่ไม่ได้ บางกรณีอาจเกิดภาพซ้อนได้ด้วย
สาเหตุ ของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
สาเหตุ ของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงมีหลายประการ ดังนี้
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแบบชนิดเป็นมาแต่กำเนิด: พบได้น้อย มักเกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อตาหรือเส้นประสาทที่ควบคุมการเปิดตา
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแบบเกิดขึ้นภายหลัง: มีหลายปัจจัย ดังนี้
1. อายุ: กล้ามเนื้อตาเสื่อมสภาพตามอายุ
2. การใช้งานตาหนักๆ: การจ้องหน้าจอนานๆ ขยี้ตาบ่อยๆ ใส่คอนแทคเลนส์เป็นเวลานาน
3. โรคประจำตัว: โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไทรอยด์
4. ผลข้างเคียงจากยา: ยาบางชนิด เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาต้านเศร้า
5. โรคทางระบบประสาท: โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (MYASTHENIA GRAVIS) โรคหลอดเลือดสมอง
อาการ ของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ได้แก่
1. เปลือกตาตก ปิดตาดำมากกว่าปกติ
2. ตาปรือ มองเห็นไม่ชัด
3. หาจุดโฟกัสไม่ได้
4. ต้องเงยหน้าหรือเลิกคิ้วเพื่อช่วยให้มองเห็นชัดขึ้น
5. ปวดตา ตาแห้ง
6. เห็นภาพซ้อน
วิธีป้องกัน กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
สำหรับวิธีป้องกัน กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง สามารถทำได้ ดังนี้
1. พักสายตาบ่อยๆ เมื่อใช้สายตานานๆ
2. ปรับแสงหน้าจอให้เหมาะสม
3. หลีกเลี่ยงการขยี้ตา
4. ตรวจวัดสายตาและใส่แว่นตาตามคำแนะนำของจักษุแพทย์
5. ควบคุมโรคประจำตัวให้ดี
6. งดสูบบุหรี่
7. ทานอาหารที่มีประโยชน์
การรักษา กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ
กรณีไม่รุนแรง: สังเกตอาการ ฝึกบริหารกล้ามเนื้อตา ใช้ยาทาหรือหยอดตา
กรณีรุนแรง: ผ่าตัดกล้ามเนื้อตา
หากพบอาการ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เพื่อความแน่ใจ ควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป
ที่มาข้อมูล : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
ที่มาภาพ : freepik
ที่มาข้อมูล : -